วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สายทางสามล้อไทย

สายทางสามล้อไทย


                  บนสายทางของการเดินทาง หลากหลายพาหนะที่นำไปสู่จุดหมาย "สามล้อ" เป็นวิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ภาพลักษณ์ของความภูมิใจ ในความสามารถแห่งการประดิษฐ์ของคนไทย ที่นำไปประยุกต์ เข้ากับวิชาชีพได้อย่างกลมกลืน

 กำเนิดสามล้อ
                                                        รถสามล้อแบบแรก
        
รถจักรยานสามล้อที่ใช้แรงคนถีบนี้เป็นประดิษฐกรรมของนาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ เริ่มทดลองใช้ในปี พุทธศักราช 2476 โดยนายเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นก่อน (ได้รับพระราชทานยศเป็นนาวาเอก เมื่อ พ.ศ.2500) ได้แก้ไขปรับปรุงอยู่หลายครั้งจึงนำมาจดทะเบียนในกรุงเทพฯได้ ในวันแรกที่นำรถมาจดทะเบียน ไม่มีคนสนใจและหาคนขี่ไม่ได้ นายเลื่อนต้องทดลองขี่ให้ดูและจ้างให้คนนั่ง ครั้งแรกจ้างเด็กคนละ 5 สตางค์ ต่อมามีคนขี้เมาสองคนมาขอขึ้น นายเลื่อนก็ถีบรถให้นั่งโดยไม่คิดค่าโดยสาร แต่ได้ผลเกินคาด ขี้เมาชอบใจช่วยประกาศโฆษณาจนคนอยากทดลองมากขึ้น และเริ่มสนใจกันอย่างแพร่หลาย เพราะเห็นว่าดีกว่ารถลาก (รถเจ๊ก) โดยนำรถจักรยานสองล้อมาดัดแปลง ผสมผสานกับ "รถลาก" หรือ "รถเจ๊ก" ซึ่งในระยะแรกที่นั่งของคนขับไม่ได้อยู่ด้านหลังเหมือนปัจจุบันและยังไม่มีหลังคาบังแดดให้ผู้โดยสาร สำหรับความเกี่ยวข้องกับนครราชสีมาคือ นาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นชาวนครราชสีมาและได้นำรถสามล้อมาทดลองเปิดบริการรับส่ง ผู้โดยสาร ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นที่แรก

เมื่อประสบความสำเร็จจึงได้ขอจดทะเบียนเป็นรถรับจ้างที่กรมตำรวจและเปิดกิจการรถสามล้อจำนวน 50 คัน จากนั้นการใช้รถสามล้อจึงแพร่ขยายไปทั่วประเทศ จนปีพุทธศักราช 2510 จำนวนรถยนต์ในกรุงเทพมหานครเพิ่มมากขึ้นเจ้าพนักงานจราจรจึงประกาศห้ามมิให้รถสามล้อวิ่งในถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันจึงเหลือรถสามล้อวิ่งตามต่างจังหวัด


     
สามล้อพ่วงข้าง




ปี พ.ศ.2476 "รถสามล้อ" ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่ จ.นครราชสีมา โดย นาวาอากาศเลื่อน พงษ์โสภณ นำรถลาก หรือรถเจ็ก มาดัดแปลงร่วมกับจักรยาน ถือเป็นต้นแบบของรถสามล้อที่ใช้รับผู้โดยสารแพร่หลายไปทั่วประเทศ ต่อมามีผู้นำจักรยานมาเพิ่มล้อและกระบะพ่วงเข้าที่ด้านข้าง ติดตั้งเก้าอี้หวายยึดแน่นกับกระบะ ออกวิ่งรับจ้าง นับเป็นต้นแบบของ "สามล้อพ่วงข้าง" ซึ่งปัจจุบันยังใช้อยู่ในจังหวัดภาคใต้

สามล้อเครื่องเพื่อเป็นการทุ่นแรง และสามารถรับส่งผู้โดยสารได้ในระยะที่ไกลขึ้น นักประดิษฐ์ชาวไทยได้ดัดแปลง นำเครื่องจักรยานยนต์มาติดกับรถสามล้อ แบบที่ใช้คนถีบ ปรากฎว่าได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากไปได้ ในระยะทางที่ไกลกว่าแล้ว ความรวดเร็วก็เป็นส่วนสำคัญ ปัจจุบันสามล้อเครื่องสามารถพบเห็น ได้ทุกภาคของประเทศ

ซาเล้ง


(มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว เรียกว่า ซาลิ่ง หรือ สามล้อ แผลงมาเป็น ซาเล้ง ) คือ รถสามล้อที่ทำจากจักรยาน ใช้แรงคนถีบโดยต่อเติมให้มีกระบะอยู่ด้านหน้า ปัจจุบันมีการใช้จักรยานไฟฟ้าที่ติดมอเตอร์ หรือ ใช้เครื่องยนต์มอเตอร์ไซต์มือสองซาเล้ง หรือสามล้อแดง เป็นรถสามล้ออีกประเภทหนึ่ง ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อใช้ส่งสินค้าที่มีนำหนักไม่มากและระยะทางไม่ไกลนัก คุณลักษณะเป็นสามล้อใช้แรงถีบ ผู้ขับขี่อยู่ด้านหลังกระบะบรรทุก เมื่อปี พ.ศ. 2526 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ จึงมีการนำเครื่องยนต์ขนาดเล็กมา ดัดแปลงติดตั้งกับซาเล้ง วิ่งรับจ้างโดยสารตามตรอกซอยต่างๆ

ตุ๊ก-ตุ๊ก



รถตุ๊ก-ตุ๊ก มีกำเนิดมาจากการนำสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลงเป็นรถนั่งโดยสาร เมื่อปี พ.ศ. 2503 เพื่อทดแทนรถสามล้อถีบ ซึ่งถูกห้ามวิ่งในเขตกรุงเทพฯ 
หรือชื่อเรียกทางราชการว่า "รถสามล้อเครื่อง" ที่เราทุกคนรู้จักคุ้นเคยกันดี เริ่มเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกราวๆ ปี 2503 ยุคแรกๆ รถตุ๊กตุ๊ก มีทั้งยี่ห้อไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ราคาตกคันละประมาณเกือบ 2 หมื่นบาท แต่ปัจจุบันราคาขยับขึ้นไปถึงหลักแสนแล้ว และเหลือเพียงยี่ห้อเดียวเท่านั้น คือ "ไดฮัทสุ" 

รถตุ๊กตุ๊ก ในสมัยก่อน มีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง 2 ด้านแต่ต่อมาเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเลยกำหนดให้ปิดทางขึ้นลงด้านขวา ของตัวรถ เหลือทางขึ้นลงเพียงด้านเดียว แต่กว่าจะมาเป็นรถตุ๊กตุ๊กได้อย่างทุกวันนี้ มีวิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง โดยเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษ อย่างเช่นรถตุ๊กตุ๊กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรัง มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า “รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ”

                                                       รถตุ๊กตุ๊กกบอยุธยา


แต่ในปี พ.ศ. 2508 รถตุ๊กตุ๊กก็เกือบจะต้องอันตรธานหายไปจากเมืองไทย เพราะทางราชการเตรียมจะยุบเลิก โดยเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร แต่สุดท้ายก็สามารถต่อสู้ยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้เป็นเวลาเกือบ 50 ปี แล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรถตุ๊กตุ๊กยังถือเป็นรถที่ต้องถูกจำกัดจำนวน โดยปี พ.ศ.2530 ทางราชการก็ออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และนครราชสีมา แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้ ทำให้ปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่บนท้องถนนในกรุงเทพฯ รวมกันประมาณ 7,405 คันเท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน
นอกจากคนไทยจะเริ่มประกอบรถตุ๊กตุ๊กใช้ในประเทศได้เองแล้ว ยังผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย  ในนาม “TUK-TUK” อาทิ อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท แถมยังกลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย
ที่มาของชื่อเรียก "ตุ๊กตุ๊ก" เพราะเดิมทีชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยไม่รู้จะเรียกรถสามล้อเครื่องว่า อะไร เลยอาศัยเรียกชื่อตามเสียงท่อไอเสียของรถ กลายเป็นชื่อ "รถตุ๊กตุ๊ก" ติดปากมาถึงวันนี้
              "รถตุ๊กตุ๊ก" ที่ได้กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ตุ๊ก-ตุ๊กสองแถวรถตุ๊ก-ตุ๊กสองแถว เป็นรถที่มีวิวัฒนาการมาจาก รถตุ๊ก-ตุ๊กธรรมดา โดยดัดแปลงเบาะนั่งด้านหลังเป็นที่นั่งสองแถว ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรับผู้โดยสารได้จำนวนมากขึ้น และเก็บค่าโดยสารเป็นรายคน ไม่ได้เหมาทั้งคัน เช่น รถตุ๊ก-ตุ๊กธรรมดา สามารถพบเห็นได้ตามแหล่งชุมชนใหญ่ๆ เช่น ตามท่ารถโดยสาร ท่าเรือข้ามฟาก หรือตลาดสด


ตุ๊ก-ตุ๊กเดอลุกซ์ด้วยสายเลือดของนักประดิษฐ์ไทย ได้มีการนำรถตุ๊ก-ตุ๊กธรรมดา มาดัดแปลงและประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นตัวถัง วงล้อ เบาะนั่ง แผงหน้าปัด กระจังหนา รวมทั้งเครื่องยนต์ ที่เปลี่ยนจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มาเป็น 4 จังหวะ จากตุ๊ก-ตุ๊กธรรมดา ก็กลายเป็นตุ๊ก-ตุ๊กเดอลุกซ์ ซึ่งมีวิ่งบริการในหลายจังหวัดของภาคตะวันออก

สามล้อเครื่องยนต์ในยุคที่เครื่องยนต์ใช้แล้วราคาถูกจากต่างประเทศ หลั่งไหลเข้ามาแทบล้นตลาด ตามชื่อที่รู้จักกันว่า "เครื่องเก่าเซียงกง" นักประดิษฐ์ไทยแถบจังหวัดภาคตะวันออกก็นำเครื่องยนต์เหล่านี้ ไปดัดแปลงออกติดตั้งในสามล้อเครื่อง เพื่อเพิ่มสมรรถนะ ทั้งด้านกำลังเครื่องยนต์ ความเร็ว ความกว้างของที่นั่งโดยสาร และพื้นที่สำหรับบรรทุกสิ่งของ

สกายแล็บ


สามล้อเครื่องสกายแลป หรือ ตุ๊กตุ๊กอิสาน ลักษณะเป็นสามล้อที่ใช้กำลังเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ ที่นั่งโดยสารตอนหลังเป็นสองแถว จุดเด่นของสกายแล็บ ก็คือสีสันที่สดใส และช่วงหน้าจะมีลักษณะเชิดสูงขึ้น ได้เกิดขึ้นเมื่อปี 2519 โดยผู้ประดิษฐ์คนไทย คุณอธิพงษ์ โอภาสเกียรติกุล ผู้ก่อตั้งหจก.อธิพงษ์มอเตอร์ ซึ่งขณะนั้นได้เปิดร้านซ่อมรถจักรยานยนต์เล็กๆ ที่สี่แยกคอกวัว อ.เมือง จ.อุดรธานี

คุณอธิพงษ์ได้รับการขอร้องจาก คนขับสามล้อถีบรับจ้างขนของที่ตลาดอายุมากคนหนึ่ง มาที่ร้านซ่อม และขอให้เอาเครื่องยนต์มอเตอร์ไซด์ ใส่รถสามล้อถีบของเขา เพราะอายุมากถีบไม่ไหว จากนั้นคุณอธิพงษ์ได้คิดค้นประดิษฐ์โดยวางเครื่องยนต์ไว้ด้านข้าง ต่อโซ่มอเตอร์ให้ยาวขึ้น 2 เส้น จนสำเร็จสามารถใช้งานได้ดี วิ่งได้เร็วจนเพื่อนสามล้อรับจ้างที่ตลาด ต่างอิจฉาเพราะเขาสามารถส่งของได้รวดเร็ว และทำเงินได้หลายเที่ยว และเขาก็แนะนำหลายๆคนให้มา ติดตั้งเครื่องยนต์กับคุณอธิพงษ์

คำว่า “สกายแลป” เป็นชื่อเล่นที่คนอุดรเรียกกัน เป็นความบังเอิญที่เกิดมาจากข่าวดังขณะนั้นที่ ห้องทดลองลอยฟ้า( SkyLab) ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งขึ้นไปโคจร เพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เมื่อปี 2516(1973) ได้เสร็จสิ้นภาระกิจ และตกลงมาบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2522(1979)

สมัยแรกนั้นคุณอธิพงษ์ได้ทดลองเครื่องยนต์มอเตอร์ไซด์หลายรุ่น และหลายยี่ห้อ จนพบเครื่องยนต์ที่เหมาะสมคือ เครื่อง ฮอนด้า(Honda) 90cc. 4 จังหวะ ครัชอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเครื่องเก่าของรถบรุษไปรณีย์ที่ประเทศญี่ปุ่น มีความทนทานประหยัดน้ำมัน และแข็งแรง ตรงกับการใช้งานลักษณะของรถบรรทุกของ ทำให้รถสามล้อสกายแลปใช้กันเป็นที่แพร่หลายในอุดรธานี และกระจายไปยังทั่วภาคอีสาน

สามล้อสกายแลปเหมาะสมสำหรับเกษตรกรที่ต้องการขนส่ง พืชผลไปจำหน่ายที่ตลาด ต่อมาคุณอธิพงษ์ได้ทดลองพัฒนาออกแบบสามล้อหลายๆรูปแบบ ด้วยความทนทานของเครื่องยนต์ และประหยัดน้ำมันเมื่อเปรียบเทียบกับรถกะบะ คนไทยได้นำสามล้อสกายแลปมาประยุกต์ใช้รับส่งผู้โดยสาร ต้อนรับแขกโรงแรม และขนของในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้สามล้อเป็นเอกลักษณ์จนเป็นวิถีชีวิตของชาวอุดร และคนในภาคอิสาน

ไก่นา


เมื่อมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ถือกำเนิดและแพร่หลายไปทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ ก็มีแนวความคิดว่าจะทำอย่างไร จึงจะรับผู้โดยสารได้ครั้งละหลายๆคน รถสามล้อแบบมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างจึงถูกประดิษฐ์ขึ้น เมื่อไม่ต้องการออกรับจ้าง ผู้โดยสารก็สามารถถอดเฉพาะตัวรถ ขับขี่ไปทำธุระกิจได้ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียกสามล้อแบบบนี้ว่า "ไก่นา"

มีขวดมาขาย



อาชีพรับซื้อของเก่าประเภท ขวดเปล่า กระด่าษหนังสือพิมพ์ หรือเศษโลหะ ซึ่งแต่เดิมเรามักจะเห็นภาพขอวชาวจีนชรา พร้อมด้วยหาบเข่งคู่บนบ่าเดินร้องประกาศไปตามบ้าน แต่ปัจจุบัน จากการนำเอาซาเล้ง หรือสามล้อแดงมาดัดแปลงต่อกระบะให้ยาวขึ้น นำบางส่วนของรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็ก มาเชื่อต่อเข้า ก็เกิดสามล้ออีกประเภทหนึ่งเข้ามาแทนหาบเข่งคู่

รถกะป๊อ 




คล้ายรถตุ๊กๆ แต่ใหญ่กว่านิดหน่อย มีที่นั่งด้านข้างคนขับ ด้านหลังเหมือนรถตุ๊กๆ แต่คนนั่งได้สัก 10 -12 คนเต็มที มีความเร็วเต็มที่ประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนใหญ่ทำเป็นรถรับส่งโดยสาร คำว่ากะป้อ มาจากภาษาจีนแปลว่า คางคก รถกะป้อหรือรถซูบารุ แต่ก่อน คนทั่วไปที่มักจะเรียกรถลักษณะนี้ว่ารถซูบารุ มากกว่าคำว่า รถกระป๊อ คำว่า รถกระป๊อ มาทีหลัง ซูบารุคือยี่ห้อแรกๆที่มีรุ่นหลังๆ ถึงเป็น daihatsu รถลักษณะนี้วางขายในประเทศเรามีหลากหลายยี่ห้อ เช่น Daihatsu Hijet เยอะที่สุด /Honda TN7 / Honda Acty / Subaru Sambar /Mitsubishi Minicab /Suzuki Carry ใช้เป็นรถโดยสารหรือรถขายของ รถกะป้อ จะมีในจังหวัดกรุงเทพ


รถเล้ง



ไม่ใช่รถซาเล้งนะคะ คำนี้อาจจะไม่ใช่ภาษาถิ่น แต่เป็นเอกลักษณ์ที่เห็นได้ในอ.เมือง จ.เพชรบุรี มันมีลักษณะคล้ายรถสองแถวแต่ขนาดเล็ก กระทัดรัดกว่า เป็นรถโดยสารรับจ้าง

สัมมาชีพ 




จากจุดกำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2476 สายทางสามล้อไทย ได้ดำเนินและมีวิวัฒนาการ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่มาโดยลำดับ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสามล้อประเภทที่ยังใช้แรงคน หรือกำลังเครื่องยนต์ ก็ได้ถูกดัดแปลงมาใช้เพื่อการประกอบสัมมาอาชีพ อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นขนมถาด ไอศครีม ผลไม้ดอง หรือลูกชิ้น-ไส้กรอก



รถสามล้อแบบนี้ เป็นเอกลักษณ์ของสงขลา
เคยนำมาเป็นแบบในแสตมป์ชุดสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย ๒๕๔๐






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น