.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ศักราช

ศักราช



“ศักราช” ว่าหมายถึง ราชาแห่งศกะ (คือศากยวงศ์แห่งพระพุทธองค์) เพราะการบอกปีในสังคมอินเดียนิยมนับตามพระชนมายุของกษัตริย์ ส่วน “ศักราช”ในความหมายที่ให้โดย พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546) หมายถึง อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆ ไป

พุทธศักราช (พ.ศ.) - เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะไทย และศรีลังกา

คริสต์ศักราช (ค.ศ.) - เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 544 โดยนับปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ เป็น ค.ศ. 1 นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์และใช้เป็นปีอ้างอิงสากล

มหาศักราช (ม.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 622 พระเจ้ากนิษกะของอินเดียทรงตั้งขึ้น ใช้ในศิลาจารึกและเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยบ้าง แต่น้อยกว่าจุลศักราช

ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1966 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัดอพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ

 โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุก ๆ 32 ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปีและน้อยกว่า ๕.ศ. 579 ปี ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี

จุลศักราช (จ.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1182 ปี โดยนับเอาวันที่พระพม่า นามว่า "บุพโสระหัน" สึกออกมาเพื่อชิงราชบัลลังก์ นิยมใช้ในเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยเรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์

รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) - เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 5 โดย "เริ่มนับ" ตั้งแต่ พ.ศ. 2326 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงเทพมหานคร (เลิกใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ศักราชในประเทศไทย
พุทธศักราช (พ.ศ.) ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0

คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์เกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี ดังนั้นวันคริสต์มาสในปี 2001 จึงครบรอบวันสมภพ 2000 ปี โดยมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่

มหาศักราช (ม.ศ.) หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า ศกาพทะ หรือ ศาลิวาหนกาล แปลว่า ปีของชาวศกะ (Scythian) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ หรือบางตำนานเรียกว่า พระเจ้ากนิษกะ แห่งศกราชวงศ์ ทรงมีชัยชนะเหนือแคว้นโดยรอบ เป็นมหาศักราชที่ 1 มีวิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี

จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร์) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาเนื่องจากเดือน 5 ไทยเราจะไปตรงกับเดือนจิตรามาสอันเป็นเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติทางชมพูทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติและให้เป็นวันเปลี่ยนนักษัตรด้วย แต่ยังคงเปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก

การเรียกปีจุลศักราชมีดังนี้

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381 ตรงกับวันที่ 7 เดือนเมษายน ปีกุน พ.ศ. 2562 ค.ศ. 2019 

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 2 เรียกว่า โทศก เช่น วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีชวดโทศก จุลศักราช 1382 ตรงกับ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีชวด พ.ศ. 2563 ค.ศ. 2020 

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก เช่น วันศุกร์ แรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีฉลูตรีศก จุลศักราช 1383ตรงกับ วันที่ 1 เดือนตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2564 ค.ศ. 2021 

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก เช่น วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 11ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1384 ตรงกับวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปีขาล พ.ศ. 2565 ค.ศ. 2022 

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก เช่น วันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1385 ตรงกับวันที่ 27 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ค.ศ. 2023

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรงฉศก จุลศักราช 1386 ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก เช่น วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช 1387 ตรงกับ วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2568 ค.ศ. 2025

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก เช่น วันพฤหัส ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1388 ตรงกับ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2569 ค.ศ. 2026

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 9 เรียกว่า นพศก เช่น วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมนพศก จุลศักราช 1389 ตรงกับ วันที่ 10 เดือนกันยายน ปีมะแม พ.ศ. 2570 ค.ศ. 2027

ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก เช่น วันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1380 ตรงกับ วันที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปีวอก พ.ศ. 2571 ค.ศ. 2028

รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง เป็นปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และใช้อยู่จนถึง ร.ศ. 131 เป็น ร.ศ. สุดท้าย หรือเพียง 23 ปี ก็เลิกใช้ไป เพราะเห็นว่าไม่สะดวกในการอ้างอิงปีในประวัติศาสตร์ เช่น กล่าวว่า ไทยเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปีที่ 15 ก่อน ร.ศ. เป็นต้น


การนับเวลาและการเทียบศักราชของโลกตะวันออก

1 ) การนับศักราชแบบจีน
ระบบปฏิทินของจีนมีอายุย้อนหลังไปเกือบ 4,000 ปีมาแล้ว เป็นระบบจันทรคติ ( การยึดดวงจันทร์เป็นหลัก ) คำว่า รอบเดือน และพระจันทร์ ในภาษาจีนจึงใช้อักษรและออกเสียงเหมือนกัน คือ เยว่ ใน 1 เดือน จะมี 29 หรือ 30 วัน และปีหนึ่งมี 354 วัน ต่อมาราว 2,500 ปีมาแล้ว จีนสามารถคำนวณได้ว่าหนึ่งปีมี 365.25 วัน จึงมีการเพิ่มเดือนเป็นเดือนที่ 13 ทุก ๆ 3 ปี ด้วยเหตุนี้ปีใหม่ของจีนจึงเลื่อนไปมาระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์

การนับช่วงสมัยของจีนจะจึงตามปีที่ครองราชย์ของจักรพรรดิ ซึ่งถือเป็นโอรสสวรรค์ ( เป็นประมุขในทุกด้าน ) จะเรียกเป็นรัชศกตามปีที่ครองรางสมบัติ เช่น “ เมื่อวันที่ 15 เดือน 5 ปีที่ 16 แห่งรัชศกหย่งเล่อ จักรพรรดิพระราชทานเลี้ยงรับรองบรรดาราชทูตจากอาณาจักรเซียนหลัว หลิวฉิว ” ข้อความนี้ปรากฏในพงศาวดารจีน มีความหมายว่า จักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงครองราชย์เป็นปีที่ 16 ในค.ศ. 1418 ( พ.ศ. 1961 ) ส่วนวันที่ 15 เดือน 5 ตามการนับแบบจีนตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน เซียนหลัว คือ สยามหรือกรุงศรีอยุธยา หลิวฉิว คือ ริวกิวของญี่ปุ่น ปัจจุบันจีนเลิกใช้การนับแบบนี้แล้ว แต่ญี่ปุ่นยังนำไปใช้อยู่ โดยปีรัชศกของสมัยจักรพรรดิอะกิฮิโตะองค์ปัจจุบัน คือ เฮเซ

2 ) การนับศักราชแบบอินเดีย
อินเดียในสมัยโบราณมีแคว้นและรัฐต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีการนับคักราชเช่นเดียวกับจีน คือ “ ในปีที่…. แห่งรัชกาล… ” ต่อมาในสมัยพระเจ้ากนิษกะที่ทรงมีอำนาจสามารถปกครองอินเดียอย่างกว้างขวาง จึงนับปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อค.ศ. 78 ( ปัจจุบันเชื่อว่าพระองค์ครองราชย์สมบัติระหว่าง ค.ศ. 115 – 140 ) ถือเป็นการเริ่มต้นศักราชกนิษกะ หรือศก ( Soka Era ) ต่อมาเรียกว่า มหาศักราช ซึ่งแพร่หลายไปทั่วอินเดียและอาณาจักรรอบข้างแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันอินเดียใช้ศักราชตามสากล คือ คริสต์ศักราช

3 ) การนับศักราชแบบอิสลาม
ฮิจเราะห์ศักราช ( ฮ.ศ. ) เริ่มนับเมื่อท่านนบีมุฮัมมัดกระทำฮิจเราะห์ ( การอพยพ ) จากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินะ ซึ่ง ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่เพราะ ฮ.ศ. ใช้ระบบจันทรคติเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการเทียบกับ พ.ศ. จึงมีความคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน ทุก ๆ 32 ปีครึ่งของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1 ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2552 จะตรงกับปี ฮ.ศ. 1430 ดังนั้น ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปี และน้อยกว่า ค.ศ. 579 ปี


การเทียบศักราช 

การเปรียบเทียบการนับศักราชแบบต่างๆกับพุทธศักราช มีหลักการเทียบดังนี้
๑.การเทียบมหาศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบันม.ศ. + ๖๒๑ หรือ พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ.

๒.การเทียบจุลศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบันจ.ศ. + ๑๑๘๑ หรือ พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ.

๓.การเทียบรัตนโกสินทร์ศกกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน ร.ศ. + ๒๓๒๔ หรือ พ.ศ. – ๒๓๒๔ = ร.ศ.

๔.การเทียบคริสต์ศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบันค.ศ. + ๕๔๓ หรือ พ.ศ. – ๕๔๓ = ค.ศ.

๕.การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน ฮ.ศ. + ๑๑๒๒ หรือ พ.ศ. – ๑๑๒๒ = ฮ.ศ.

รวมปฏิทินสงกรานต์

ปฏิทินสงกรานต์เฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปี

 พิมพ์ที่บุญครองพานิชสถานพิมพ์หิน หลังวังบูรพา พระนคร


ปฏิทินสงกรานต์ฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี โดยบริษัทยาสูบอังกฤษอเมริกัน


ปฏิทินสงกรานต์สมโภชพระนคร หรืองานฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕


             ปฏิทินสงกรานต์บริษัทเอเชียติ๊กปิโตรเลียม สยาม จสช พฺศ 2470



ปฏิทินสงกรานต์บริษัทอีสเอเชียติ้กปิโตรเลียม พศ 2475














วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ชื่อเดือนของฝรั่ง

ชื่อเดือนของฝรั่ง



ชื่อ เดือนของฝรั่งในหนึ่งปีที่มี 12 เดือนนั้น มีชื่อมาตั้งแต่สมัยโรมัน แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มาจากชื่อของเทพเจ้า แต่มักจะมาจากตัวเลขลำดับที่ของแต่ละเดือนในภาษาโรมัน

January (มกราคม) เป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Janus ของชาวโรมันโบราณ จึงเรียกเดือนนี้ว่า "Januarius"

February (กุมภาพันธ์)เป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Februus ของชาวอิตาเลียนโบราณ บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Februa" เป็นเดือนที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองกรุงโรม

March (มีนาคม) เป็นชื่อเดือนแรกของชาวโรมัน โดยใช้ชื่อของเทพเจ้าสงครามแห่งดาวอังคาร (the war-god Mars)

April (เมษายน) ชื่อเดือนมาจากคำว่า "Aprilis" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "Aperire" หมายถึง "เปิด" (To open) ซึ่งอาจมาจาก "ดวงอาทิตย์"

May (พฤษภาคม) เป็นเดือนลำดับที่ 3 ในปฏิทินโรมัน ชื่อของเดือนอาจมาจากชื่อของเทพธิดา Maiesta ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งความเกียรติยศ และชื่อเสียง

June (มิถุนายน) เป็นเดือนลำดับที่ 4 ในปฏิทินโรมัน ชื่อของเดือนเป็นชื่อเทพเจ้า Juno

July (กรกฎาคม) เป็น เดือนที่กษัตริย์ Julius Ceasar ประสูติ โดยตั้งชื่อเดือนนี้เป็นเกียรติแก่พระองค์ เมื่อปี ค.ศ.44 ซึ่งเป็นเดือนที่ถูกลอบปลงพระชนม์ และเรียกชื่อเดือนนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "Quintilis" หมายถึง "เดือนลำดับที่ 5" (the fifth month)

August (สิงหาคม)ชื่อ เดือนเดิมเรียกว่า "Sextilis" มาจากคำว่า "Sexus" แปลว่า "หก" (Six) แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นชื่อ Augustus เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์องค์แรกของชาวโรมัน

September (กันยายน)เป็นเดือนลำดับที่ 7 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Septem" แปลว่า "เจ็ด" (Seven)

October (ตุลาคม) เป็นเดือนลำดับที่ 8 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Octo" แปลว่า "แปด" (Eight)

November (พฤศจิกายน)เป็นเดือนลำดับที่ 9 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Novem" แปลว่า "เก้า" (Nine)

December (ธันวาคม)เป็นเดือนลำดับที่ 10 ในปฏิทินโรมัน มาจากคำว่า "Decem" แปลว่า "สิบ" (Ten)

ปฏิทินไทย สงกรานต์



ปฏิทินไทย สงกรานต์



ถึงแม้ไม่อาจตอบได้ว่า ปฏิทินไทยสงกรานต์ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อใดกันแน่ แต่ก็ยังมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่า น่าจะมีการคิดทำกันขึ้นมา ตั้งแต่สมัยต้นรัชกาลที่ 5 แล้ว

เพราะหลักฐานเก่าแก่ที่สุด ก็คือ ปฏิทินไทยสงกรานต์ ของ บริษัทยาสูบอังกฤษ อเมริกา (ที่เป็นสมบัติอยู่ในการครอบครองของนักสะสมท่านหนึ่ง) แต่ว่าจะมีการทำกันมาก่อนหน้านั้นหรือไม่ ไม่สามารถที่จะตอบได้ ซึ่งแนวความคิดในการทำปฏิทินไทยแบบนี้ น่าจะได้แนวความคิดมาจาก "แผนประกาศสงกรานต์ของหลวง"

ด้วยในสมัยโบราณนั้น ประกาศสงกรานต์ไม่ใช่ของที่จะหาดูได้ง่ายๆ (เพราะยังไม่มีการพิมพ์ปฏิทิน) ในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้เขียนภาพ "นางสงกรานต์" ปิดไว้ที่ประตูพระบรมมหาราชวัง

ถ้าใครอยากรู้เรื่องวันสงกรานต์ ก็ต้องดูจากคำประกาศวันสงกรานต์ ดังปรากฏหลักฐานใน "หนังสือประชุมประกาศรัชกาลที่ 4" ที่ได้ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า

"ประชาชนมักไต่ถามกันว่าปีนี้สงกรานต์ขี่อะไร ถืออะไร นั่งนอนอย่างไร กินอะไร เรื่องอย่างนี้จะบอกมาให้แจ้งก็ได้ แต่หาเป็นประโยชน์ไม่ ถ้าจะใคร่รู้ให้มาคอยดูรูปมหาสงกรานต์ ซึ่งเขียนแขวนไว้ในพระบรมมหาราชวังเทอญ" ซึ่งแผ่นประกาศสงกรานต์นี้ คงได้มีการจัดทำสืบต่อมาจนทุกวันนี้

"แผ่นประกาศสงกรานต์" ในลักษณะดังกล่าว จะว่าเป็นปฏิทินหรือไม่นั้น ก็สรุปได้ยาก แต่ในปฏิทินไทยสงกรานต์ที่ได้เริ่มมีการจัดพิมพ์ขึ้นในรัชกาลที่ 5 - 6 นั้น ก็ได้มีการนำเอาตารางบอกข้างขึ้น ข้างแรม วัน เดือน และปี ทางสุริยคติ ใส่เข้าไปด้วย แล้วก็ได้ยึดถือเป็นต้นแบบพิมพ์ตามอย่างกันมาจนถึงทุกวันนี้

ส่วนอีกแนวความคิดหนึ่ง ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดปฏิทินไทยสงกรานต์ ก็คือ ปฏิทินไทยแบบสุริยคติ ซึ่งพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2432 และได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยึดถือเป็นประเพณีของบ้านเมือง แล้วยังโปรดฯ ให้พิมพ์ปฏิทินแบบสุริยคติของพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ แจกในวันสงกรานต์อีกด้วย

ครั้นในเวลาต่อมา จึงได้มีการพิมพ์ปฏิทินไทยสงกรานต์ เพื่อการจำหน่าย และจ่ายแจกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่เมื่อมาถึงในปัจจุบันนี้ กลับเป็นเรื่องยากที่จะตอบว่า มีโรงพิมพ์ใดบ้างที่รับจ้างพิมพ์ หรือพิมพ์เพื่อการจำหน่าย รวมทั้งจะมีห้างร้านใดที่พิมพ์ปฏิทินชนิดนี้ เพื่อแจกลูกค้า ก็เป็นเรื่องที่ตอบได้ยากเช่นกัน

คงพบหลักฐานเพียงว่า ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีโรงพิมพ์ใหญ่แห่งหนึ่งในยุคนั้น ชื่อ "โรงพิมพ์บุญครองพานิช" หลังวังบูรพา พระนคร เป็นโรงพิมพ์ที่รับจ้างพิมพ์ และพิมพ์ปฏิทินไทยสงกรานต์ออกจำหน่าย โดยมี นางเลื่อน บุญครอง เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ นายอาบ บุนนาค เป็นผู้จัดการโรงพิมพ์ (อยู่ระยะหนึ่ง)

ส่วนช่างเขียนและหัวหน้าช่างพิมพ์หินได้แก่ นายสง่า มะยุระ ซึ่งในระยะแรกที่พิมพ์ปฏิทินไทยสงกรานต์และอื่นๆ จะใช้ระบบการพิมพ์ด้วยการพิมพ์หิน จนก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานนัก ที่นี่ก็ได้สั่งเครื่องพิมพ์ออฟเซทเข้ามาใช้ แล้วหลังจากนั้นไม่นาน โรงพิมพ์ก็เลิกกิจการไป แต่ก็ไม่ทราบว่าได้ใช้เครื่องพิมพ์ออฟเชต ในการพิมพ์ปฏิทินไทยสงกรานต์หรือไม่ เอากันที่แน่ๆ ก็คือ ผู้ที่เขียนปฏิทินไทยสงกรานต์ของที่นี่ได้แก่ "นายสง่า มะยุระ" ช่างเขียนฝีมือเอกคนหนึ่งของเมืองไทย

ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่า ในปัจจุบันนี้ เราแทบจะหาปฏิทินไทยสงกรานต์ของโรงพิมพ์บุญครองพานิช ที่เป็นผลงานของ นายสง่า มะยุระ ดูไม่ได้เลย รวมทั้งผลงานของโรงพิมพ์อื่นๆ ในยุคเดียวกัน ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเช่นกัน

ในบรรดาปฏิทินไทยสงกรานต์ ดูเหมือนว่า "ปฏิทินสงกรานต์ของธนาคารออมสิน" จะเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด โดยหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ ปฏิทินสงกรานต์ในปีขาล พ.ศ.2493 เป็นปฏิทินสงกรานต์ของทางธนาคารออมสินที่ค้นพบ ปฏิทินภาพนี้เป็นของสมาคมโหรแห่งประเทศไทยซึ่งมีธนาคารออมสิน สำนักแพทย์โยคีสถานเป็นผู้อุปถัมภ์ ซึ่งจากจุดนี้เป็นแนวคิดให้กับธนาคารได้จัดทำปฏิทินสงกรานต์ขึ้นต่อเนื่องมา ซึ่งในการจัดทำปฏิทินปีแรกนั้น น่าจะเป็นปี พ.ศ. 2494 โดยมีอาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ซึ่งต่อมาได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติได้เขียนภาพปฏิทินเรื่อยมาท่านได้ เขียนอยู่ยาวนานกว่ายี่สิบปี
กระทั่งเกษียณ จากนั้นบุคลากรกลุ่มงานศิลปกรรมธนาคารได้หมุนเวียนกันสร้างสรรค์

ในขั้นตอนการจัดทำปฏิทินสงกรานต์นั้นจะเริ่มจากการอ่านคำทำนายของโหรจากสำนักพระราชวัง หรือที่เรียกว่า ประกาศสงกรานต์ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของนางสงกรานต์ จากนั้นศิลปินจะนำเนื้อหามาแปลความหมาย สร้างสรรค์เขียนภาพจิตรกรรมไทยด้วยลายเส้นประณีต

"ปฏิทินสงกรานต์จะเขียนตามประกาศสงกรานต์ปีนั้นๆ จะบอกปี อย่างปีขาล ปีฉลู นางสงกรานต์ แต่งกาย อย่างไร ทัดดอกไม้อะไร มีเอกลักษณ์อย่างไร ทรงพาหนะอะไร อาวุธเป็นอย่างไร ฯลฯ ภาพในปฏิทินสงกรานต์ศิลปินจะเป็นผู้วางตำแหน่งภาพต่างๆ ตามจินตนาการ สร้างภาพอยู่ในกรอบลายไทยที่มีความแตกต่างกันในแต่ละปี"

"การเขียนจะเป็นไปตามจินตนาการของช่างเขียนภาพนางสงกรานต์ พาหนะ อากัปกิริยา ฯลฯ องค์รวมในภาพเป็นไปตามจินตนาการของช่างเขียน ขณะที่การให้สีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโทนสีที่ใช้กับภาพซึ่งช่างเขียนจะกำหนดให้มีความสวยงามตามจินตนาการของศิลปินตามสภาพความเป็นจริง"

ส่วนการกำหนดขนาดของตัวอักษรและการให้สีที่ตัวอักษรข้อความต่างๆ จะเน้นความชัดเจน และจากการจัดทำต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย เป็นความภูมิใจที่ได้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของประเพณีดีงามของไทย

นอกจากวัน เดือน ปีที่ปรากฏในปฏิทินสงกรานต์ ยังบอกถึงวันมงคล วันที่ควรละเว้นทำการมงคล คำพยากรณ์ที่บอกกล่าวถึงนาคให้น้ำบันดาลฝน เกณฑ์ธัญญาหาร ฯลฯ เหล่านี้ ยังมีความหมายถ่ายทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวเนื่องผูกพันกับน้ำ การเกษตรกรรม อ.พลา ดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการอิสระให้ความรู้เพิ่มเติมของปฏิทินไทยว่า ปฏิทินที่มีรูปนางสงกรานต์เป็นปฏิทินที่มีความเป็นไทยมีเอกลักษณ์ที่พร้อมให้ศึกษา ทั้งวิธีการใช้ มีภาพจิตรกรรม ถ่ายทอดเรื่องราวนางสงกรานต์ บอกข้างขึ้น ข้างแรม ฯลฯ อีกทั้งยังแสดงถึงสภาพสังคม อาชีพเกษตรกรรม การดำเนินชีวิตของคนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยทรงคุณค่าที่ไม่ควรละทิ้ง

จากปัจจุบันปฏิทินมีพัฒนาการหลากหลายรูปแบบ ปฏิทินสงกรานต์เป็นอีกปฏิทินที่ไม่เพียงมีความหมายเพียงแค่การบอกบันทึกวัน เดือน ปีให้ได้ล่วงรู้ หากแต่ยังคงไว้ด้วยเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ถ่ายทอดภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ของไทยให้ประจักษ์

ในปัจจุบัน นอกจากปฏิทินไทยสงกรานต์ของธนาคารออมสินแล้ว ปรากฏว่ายังมีโรงพิมพ์บางแห่ง ยังพิมพ์ปฏิทินแบบนี้ออกมาจำหน่ายอยู่ แม้ว่าคุณภาพในเรื่องกระดาษ การพิมพ์และฝีมือทางการเขียนภาพ จะสู้ของธนาคารออมสินไม่ได้ก็ตาม

กำเนิดปฏิทินของไทย


กำเนิดปฏิทิน 

ปฏิทิน หรือ Calendar ในภาษาอังกฤษ เป็นคำที่ มาจากภาษาโรมันที่นำมาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า Kalend ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษว่า “ I cry ” สาเหตุที่ใช้คำนี้เพราะมีที่มาว่า ในสมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอกข่าว ปฏิทินจึงนับว่าเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ ปฏิทิน ”
ปัจจุบัน “ ปฏิทิน ” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึงจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น


ปฏิทินไทย 

ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 ) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะนั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก ต่อมาจึงมีวิธีนับวัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า "สุริยคติ" เมืองไทยประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แม้เราจะใช้ปฏิทินตามสุริยคติ แต่ทางจันทรคติเราก็ยังใช้ควบไปด้วย

                                    ปฏิทินตามแบบจันทรคติ ใช้การโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก
 ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่...ถึง เดือนสิบสอง มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน" ที่เป็นต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้


                                                                เทวะประติทิน


รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108

ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

                                           ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6

ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้

                                              ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 7

การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary) หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ”

สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สนพระทัยเรื่องของโหราศาสตร์มาตั้งแต่แรก เมื่อเสด็จไปราชการต่างประเทศในยุโรป ปี 2430 ทรงซื้อหนังสือที่เป็นตำราโหราศาสตร์ว่าด้วยสุริยุปราคาจากกรุงเบอร์ลินมา 1 เล่ม ซึ่งภายในเล่มนี้มีแผนที่ทางสุริยุปราคาอยู่เกือบเต็มทั้งเล่ม

การที่ทรงสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์นี้ อาจเป็นเพราะทรงได้รับอิทธิพลทางความคิดเกี่ยวกับโหราศสาตร์จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระราชบิดา ความชำนาญเรื่องโหราศาสตร์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จึงต้องเกี่ยวพันไปกับการตรวจตรา ตรวจสอบดูปฏิทินด้วย เพราะต้องเรียนรู้การคำนวณ วัน เดือน ปี โดยตรง เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับปฏิทินโดยตรง จึงทำให้เกิดที่มาของชื่อเดือน



 ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน ทั้งนี้ แบ่งเดือนที่มี 30 วัน และเดือนที่มี 31 วัน ให้ชัดเจน ด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม" ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ 2 คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง" เริ่มตั้งแต่...

• มกราคม คือ มกร (มังกร) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมังกร

• กุมภาพันธ์ คือ กุมภ์ (หม้อ) + อาพนธ แปลว่า การมาถึงของราศีกุมภ์

• มีนาคม คือ มีน (ปลา) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมีน

• เมษายน คือ เมษ (แกะ) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมษ

• พฤษภาคม คือ พฤษภ (วัว,โค) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีพฤษภ

• มิถุนายน คือ มิถุน (ชายหญิงคู่) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีมิถุน

• กรกฎาคม คือ กรกฎ (ปู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีกรกฎ

• สิงหาคม คือ สิงห (สิงห์) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีสิงห

• กันยายน คือ กันย (สาวพรหมจารี) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีกันย

• ตุลาคม คือ ตุล (ตาชั่ง ตราชู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีตุล

• พฤศจิกายน คือ พิจิก, พฤศจิก (แมงป่อง) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีพิจิก

• ธันวาคม คือ ธนู (ธนู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีธนู

อีกทั้งกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของไทย คือเดือนเมษายน เดือน 4 ทางสุริยคติ แต่เป็นเดือน 5 ทางจันทรคติ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2483 จากนั้นวันที่ 1 มกราคม 2484 จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมปีแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 และทรงใช้คำว่า "ปฏิทิน" แทน "ประติทิน" มาโดยตลอด ลงไว้ในประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455

ประวัติการส่ง สคส.ของไทย




ส.ค.ส. สยามใบแรก

เนื่องจากการติดต่อ คมนาคม ประเทศไทยรับธรรมเนียมมาจากฝรั่ง เช่นเดียวกับการพิมพ์นามบัตร หรือพิมพ์การ์ดเชิญต่าง ๆ บัตรอวยพรที่เก่าแก่ที่สุด หรือแบบแรกที่สุด คือ บัตรอวยพรปีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระมหากษัตรย์ที่ติดต่อกับชาวตะวันตก และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมตลอดจนวิชาการของชาติตะวันตกหลาย ๆ อย่าง การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้นเริ่มขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่นอน แต่ได้มีสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ( พศ. 2409 ) ของพระองค์ ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ปรากฎอยู่ใน น.ส.พ. The Bangkok Recorder ( เดอะบางกอก เรคคอร์ดเตอร์ ฉบับภาษาอังกฤษ ) ของหมอบรัดเลย์

การส่งบัตรอวยพรของไทยก็ได้รับธรรมเนียมมาจากฝรั่งหลักฐานเรื่อง ส.ค.ส.หรือบัตรอวยพรความสุขปีใหม่ เก่าที่สุดพบปรากฎในหนังสือ Bangkok Recorder วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2409

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4ได้มีสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ของพระองค์ ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Recorder(ฉบับภาษาอังกฤษ) ของหมอรัดเลย์ แปลความได้ว่า..

ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลชาติต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกันจึงกล่าวได้ว่า เป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกของไทย ทีทรงเริ่มส่ง ส.ค.ส. บางทีอาจเป็นคนไทยคนแรกด้วย คือ รัชกาลที่ 4

รัฃกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นสำหรับพระราชทานคณะทูตานุทูต ข้าราชบริพาร และมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1866 บัตรอวยพรอันประเมินค่ามิได้อายุ 140 ปีแผ่นนี้ พบในร้าน Maggs Brosร้านหนังสือเก่าแก่ ใจกลางกรุงลอนดอน ผู้ซื้อกลับมาสู่แผ่นดินมาตุภูมิ ก็คือ คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช นักวิชาการอิสระผู้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามผ่านเอกสารของชาวตะวันตก เจ้าของผลงานเล่มล่าสุด "กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง" ส.ค.ส.เก่าแก่ที่สุดใบนี้ รัชกาลที่ 4 พระราชทานให้แก่ "กัปตันบุช" (ข้าราชบริพารชาวอังกฤษ เข้ามารับราชการสนองเบื้องพระยุคลบาทพระเจ้าแผ่นดินไทยถึงสองพระองค์ คือ ร.4-5)

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสมัยที่เกิดคำว่า ส.ค.ส. หรือส่งความสุข ขึ้น ซึ่งการส่งบัตรอวยพรความสุขในยุครัชสมัยนี้นิยมส่งกันตั้งแต่ต้น ๆ รัชกาล

และ ส.ค.ส. ส่วนใหญ่ที่พบในหอจดหมายเหตุแห่งชาติในช่วงพ.ศ. 2429 มีลักษณะเป็นนามบัตรเขียนคำว่า ส.ค.ส.ปีนั้นปีนี้ลงไป หรือไม่ก็เขียนคำอวยพรลงบนแผ่นกระดาษฝรั่ง

นอกจากนั้นยังมีบัตรอวยพรของฝรั่งปะปนอยู่อีกหลายแผ่น ช่วงเวลาที่ส่งกันก็คือ ช่วงเดือนเมษา เพราะเราเคยขึ้นปีใหม่ในเดือนนั้น เพราะรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดให้ใช้ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา

จนสมัยรัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2483 ทางราชการได่เปลี่ยนให้ใช้ วันที่1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า จะยกเลิกอิทธิพลพราหมณ์ และให้สอดคล้องกับประเพณีไทยโบราณที่มีการยึดเดือนอ้าย(ใกล้ถึงเดือนมกราคม)เป็นวันขึ้นปีใหม่ ก็เลยยึดหลักเกณฑ์นี้ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับสากลด้วย.

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ส.คส.พระราชทาน ปี 2551-2559

ส.คส.พระราชทาน ปี 2551-2559




สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๑




ส่วน ส.ค.ส .ที่ทรงพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดปกติขาว ประทับฉายพระรูปกับ คุณทองแดง สุวรรณชาด และเหลน จำนวน ๔ สุนัข ซึ่งพระราชทานชื่อว่า กันนิ, ราชปาลยัม, จิปปิปะไร และคอมไบ ตามชื่อพันธุ์ของอินเดียที่ใช้เป็นแบบในการปั้นรูปสุนัขซึ่งเป็นบริวารของพระตรีมูรติ
คือ กันนิ (เพศเมีย นั่งบนพระเพลา) ราชปาลยัม (เพศเมีย ยืนด้านขวา)จิปปิปะไร (เพศผู้ นั่งด้านหน้าใกล้พระบาทขวา) และ คอมไบ (เพศเมีย ยืนด้านซ้าย)

ด้านล่างมีข้อความเป็นตัวหนังสือสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญและมีตัวเลขสีแดง 2007 12 21 16:52

มุมบนด้านซ้ายมีตราสัญลักษณ์ ๒ ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ใต้ลงมามีข้อความ ส.ค.ส. ๒๕๕๑มุมบนด้านขวามีตัวหนังสือสีเหลืองว่า แฮปปี้ นิว เยียร์ 2008 (Happy New Year 2008)
และตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ ๒ แถว รวม ๓๗๓ หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม ในกรอบด้านล่างมีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 232010 ธ.ค. 50 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher


สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๒




ส.ค.ส.พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพุทธศักราช 2552 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีน้ำตาลอ่อน ผ้าปักพระกระเป๋าสีฟ้าสดใส ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ทรงผูกเนคไทสีฟ้าอ่อน ประทับบนพระเก้าอี้ ทรงฉายกับ คุณทองแดง สุวรรณชาด ที่นั่งอยู่ข้างพระเก้าอี้ และ คุณนายแดง แม่ของคุณทองแดง ที่หมอบเฝ้าอยู่อีกข้างหนึ่ง 

ฉากหลังของ ส.ค.ส. เป็นสนามหญ้าในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีต้นไม้ใหญ่และต้นชวนชมดอกสีชมพู

มุมบนด้านซ้าย มีตราสัญลักษณ์ 2 ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ระหว่างตราสัญลักษณ์ทั้งสอง มีตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า ส.ค.ส.๒๕๕๒ ใต้ลงมามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2009

มุมบนด้านขาว มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมี...ความสุข...ความเจริญ ด้านล่างขวา มีตัวเลขสีแดง ระบุวันเดือนปีที่ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ว่า 2008 12 17 / 17:11

กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆเรียงกันด้านละ 3 แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม
ในกรอบด้านล่างมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 192231 ธ.ค. 51 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ,ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing , D Bramaputra,Publisher

ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่และส.ค.ส.พระราชทานปี 2552 แก่ปวงชนชาวไทยนั้น คุณทองแดง สุวรรณชาด ได้หมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทหลังพระเก้าอี้ตลอดเวลา

สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๓




ส.ค.ส. พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์แจ๊คเก็ตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ทรงฉายกับ คุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยง ที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน ใต้ภาพคุณทองแดงและคุณทองหลางมีชื่อกำกับอยู่ทั้ง ๒ สุนัข

ส่วนมุมบนด้านซ้าย มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า ส.ค.ส. ๒๕๕๓ ส่วนมุมบนด้านขวา มีตราผอบทอง ถัดเข้ามามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2010
ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า
สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีชมพู ระบุวันเดือนปีว่า 2009 12 27 / 15:25

สำหรับกรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ ๒ แถว ด้านข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ ๓ แถว นับรวมกันได้ ๔๑๘ หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้มบนกรอบ ส.ค.ส.

ด้านล่างมีแถบสีชมพู บนแถบมีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 152527 ธ.ค. 52 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher

สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๔



ส.ค.ส. พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์สากลสีครีมผ้าปักพระกระเป๋าเป็นผ้าลายริ้วสีเหลืองสลับเทา ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ทรงผูกเนกไทลายริ้วสีเหลืองสลับเทา ประทับบนพระเก้าอี้ ด้านข้างพระเก้าอี้ที่ประทับทั้งสองข้างมีโต๊ะสูง โต๊ะด้านซ้ายวางแจกันแก้วก้านสูงปักดอกไม้หลากสี โต๊ะด้านขวาวางแจกันแก้วขนาดเล็กปักดอกไม้หลากสีเช่นกัน ทรงฉายกับสุนัขทรงเลี้ยง ๒ สุนัข
คือ คุณทองแดง ที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ หมอบอยู่หน้าพระเก้าอี้ด้านขวา และ คุณทองแท้ ที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ หมอบอยู่หน้าพระเก้าอี้ด้านซ้าย

ด้านหลังพระเก้าอี้ที่ประทับเป็นผ้าม่านสีเทาอ่อน มีแจกันดอกไม้ขนาดใหญ่ ปักดอกกุหลาบและดอกไฮเดรนเยียหลากสีตั้งอยู่ ๒ แจกัน แจกันด้านซ้ายมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับอยู่ ส่วนแจกันด้านขวามีผอบทองประดับอยู่ ถัดไปทางด้านหลังทั้งสองด้าน มีกระถางไม้ประดับตั้งอยู่

มุมบนด้านซ้ายมีตัวอักษรสีเหลือง ข้อความว่า ส.ค.ส. สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔
มุมบนด้านขวามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2011

ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีน้ำเงินว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญ มุมล่างขวามีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 121923 ธค. 53 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา
Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher

กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ ๓ แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม


สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๕



ส.ค.ส. พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีเทาลายริ้วสีอ่อน
ปกด้านซ้ายทรงประดับเข็มเครื่องหมายมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิที่พระราชทานกำเนิดและทรงดำรงตำแหน่งพระบรมราชูปถัมภก ทรงผูกเนคไทสีแดงลวดลายสีทอง เข้าชุดกับผ้าปักพระกระเป๋า ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว

ประทับบนเก้าอี้ ด้านข้างพระเก้าอี้ที่ประทับทั้งสองข้าง มีโต๊ะกลม โต๊ะด้านขวาวางแจกันขนาดเล็กปักดอกไม้หลากสี ทรงฉายร่วมกับสุนัขทรงเลี้ยง คือ คุณทองแดง ที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑
สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาท หน้าพระเก้าอี้ด้านซ้าย

ด้านหลังพระเก้าอี้ที่ประทับตกแต่งเป็นสวนดอกไม้ประดับ ด้านซ้าย มีระแนงไม้สีขาว ประดับอักษรชมพู
ข้อความภาษาไทยว่า สวัสดีปีใหม่ และข้อความภาษาอังกฤษว่า Happy New Year
ด้านขวา มีต้นสนประดับเครื่องตกแต่ง ฉากหลังเป็นผ้าม่านสีเทาอ่อน ด้านซ้ายบน มีตราพระมาหพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านขวา มีผอบทองประดับ

ตรงกลาง ส.ค.ส. ด้านขวา มีข้อความจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ซึ่งเป็นคำตอบที่พระมหาชนกทรงตอบนางมณีเมขลาว่า “ถึงจะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็ต้องพยายามว่าย อยู่ท่ามกลางมหาสมุทร
โภคะทั้งหลาย มิได้สำเร็จ ด้วยเพียงคิดเท่านั้น”

ทรงเตือนสติให้คนไทยทั้งหลายมีความเพียรเช่นเดียวกับพระมหาชนก ที่ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร จนรอดชีวิต ประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจาการกระทำ ไม่ได้เกิดจากแค่เพียงความคิด

ตรงกลาง ส.ค.ส. ด้านซ้าย มีข้อความภาษาไทยพิมพ์ด้วยสีชมพูขอบสีเหลืองว่า
ขอจงมีความสุขความเจริญ ๒๕๕๕ และข้อความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยสีแดงขอบสีเหลืองว่า
Happy New Year 2012

ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีน้ำเงินว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญ
มุมล่างขวามีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 185029 ธค. 54 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher

กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ ๓ แถว
ส่วนด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ ๒ แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม


สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๖



ส.ค.ส. พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ นี้
เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เชิ้ตลำลองสีฟ้า มีลายเส้นสีชมพูและสีฟ้าเข้มพาดตัดกัน พระสนับเพลาสีดำ และฉลองพระบาทสีดำ ประทับบนพระเก้าอี้ ด้านขวาของพระเก้าอี้ที่ประทับมีโต๊ะกลม วางพระบรมฉายาลักษณ์ครอบครัว และเชิงเทียนแก้ว ทรงฉายกับสุนัขทรงเลี้ยง คือ คุณทองแดง ที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านขวา
และ คุณมะลิ แม่เลี้ยงคุณทองแดง สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านซ้าย

ด้านหลังพระเก้าอี้ที่ประทับ ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้หลากสี ด้านขวาบน มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านซ้าย มีผอบทอง (ผะ-อบ-ทอง) ประดับ ด้านล่างของผอบทอง (ผะ-อบ-ทอง) มีตัวอักษรสีทอง ข้อความว่า ส.ค.ส. พ.ศ. ๒๕๕๖ สวัสดีปีใหม่

และตัวอักษรสีขาวเส้นฟ้า ข้อความว่า ขอจงมีความสุขความเจริญ HAPPY NEW YEAR

ด้านขวาใต้ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ มีข้อความพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีขาวเส้นเขียว ข้อความว่า
“ความเมตตาเป็นคุณธรรมนำความสุข ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา ความกตัญญูรู้คุณผู้เมตตา
ทวีค่าของน้ำใจไมตรีเอย”

ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีแถบสีม่วงเข้ม มุมล่างขวา มีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 181122 ธค. 55 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา
Printed at the Suvarnnachad, D Bramaputra, Publisher
(พริ้นเทด แอท เดอะ สุวรรณชาด พับลิชชิ่ง, ดี. พรหมบุตร, พับลิชเชอร์)

กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ ๓ แถว ส่วนด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ ๒ แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม


สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๗



ส.ค.ส. พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้
เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีน้ำเงินเข้ม ทรงผูกเนกไทสีเขียวอ่อน มีลวดลายเข้าชุดกับผ้าปักพระกระเป๋าฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ฉลองพระบาทสีดำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับพระเก้าอี้สีขาว หน้าพระแกลหรือหน้าต่าง ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข
วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงฉายกับคุณทองแดง สุนัขที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ สวมเสื้อสีเหลือง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านขวา

ด้านขวาบน มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านซ้าย มีผอบทองประดับ ด้านล่างของผอบทอง มีตัวอักษรสีเหลือง ข้อความว่า “ส.ค.ส. ๒๕๕๗” และตัวอักษรสีส้ม ข้อความว่า “สวัสดีปีใหม่”

ด้านขวาใต้ตราพระมหาพิชัยมงกุฎมีข้อความภาษาไทยพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีฟ้าว่า
“ขอจงมีความสุขความเจริญ”และข้อความภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีเขียวเข้มว่า
“HAPPY NEW YEAR 2014”

ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีแถบสีเขียวเข้ม มุมล่างขวามีข้อความ “ก.ส. 9 ปรุง 0609 31 ธ.ค. 56
พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์โฆษณา
Printed at the Suvannachad publishing, D Bromaputra. Publisher”

กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ ๓ แถว ส่วนด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ ๒ แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม


สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๘




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. 2558 เป็นภาพกราฟฟิคจากพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก บนส.ค.ส.มีข้อความว่า  ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลมกำลังกายที่สมบูรณ์

ส.ค.ส.พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2558 นี้ เป็นภาพจากพระราชนิพนธ์พระมหาชนกการ์ตูนในเหตุการณ์ขณะที่เรือกำลังแล่นไปสุวรรณภูมิล่ม พระมหาชนกต้องอดทนว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรนานถึง 7 วัน 7 คืน และนางมณีเมขลาได้มาอำนวยพรให้

กลางภาพ ส.ค.ส.มีพรพระราชทานพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ว่า ขอให้ทุกคนมีความเพียรที่บริสุทธิ์ปัญญาที่เฉียบแหลมกำลังกายที่สมบูรณ์

ด้านล่างของภาพข้อความภาพขวามีข้อความภาษาไทยขอจงมีความสุขความเจริญ และข้อความภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีขาว ว่า HAPPY NEW YEAR และชื่อพระราชนิพนธ์พระมหาชนก The Story of MAHAJANAKA

ด้านซ้ายบนของ ส.ค.ส.มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎและผอบทองประดับ มีตัวอักษรสีเหลือง พร้อมข้อความว่า ส.ค.ส.2558 และตัวอักษรสีขาวข้อความว่า สวัสดีปีใหม่

ด้านล่างของ ส.ค.ส.มีแถบสีเขียวเข้ม มุมล่างซ้ายมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 301021 ธ.ค.2557 มุมด้านขวาข้อความมหาวิทยาลัยปูทะเลย์ มิถิรา 2557 กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านบนด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 2 แถว ส่วนด้านล่างเรียงกัน 3 แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม


สคส.พระราชทานปี ๒๕๕๙


ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2559 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ครึ่งพระองค์ ฉลองพระองค์เชิ้ตด้านใน ฉลองพระองค์คลุมสีขาว ปักภาพคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง

กลางภาพ ส.ค.ส.มีพรพระราชทานว่า "ให้มีกำลังกายที่แข็งแรง มีกำลังใจที่เข้มแข็งหนักแน่น และมีสติรู้เท่าทันอยู่เสมอ"

ด้านบนของ ส.ค.ส.มีข้อความว่า "สวัสดีปีใหม่ 2559" พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีม่วง มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ประดับ
ด้านล่างของภาพ มีรูปลิง สัญลักษณ์ปีนักษัตรปีวอก สีฟ้า มีข้อความภาษาไทย พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีเขียว ว่า "ขอจงมีความสุขความเจริญ" และข้อความภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีเหลือง ว่า "Happy New Year"

ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีแถบสีฟ้า มุมล่างซ้ายมีข้อความ "ก.ส.9 ปรุง 311502 ธ.ค. 2558" มุมด้านขวามีข้อความว่า "มหาวิทยาลัยปูทะเลย์ มิถิลา 2558"

กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านละ 2 แถว รวม 396 หน้า ทุกใบหน้ามีแต่รอยยิ้ม.

ส.ค.ส.พระราชทาน 2541-2550

ส.ค.ส.พระราชทาน 2541-2550

สคส.ปี ๒๕๔๑

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2541 ทรงพระราชทานกำลังใจ ในการต่อสู้วิกฤตเศรษฐกิจ




สคส.ปี ๒๕๔๒

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2542 ทรงให้คนไทยมีความเพียร เช่นเดียวกับพระมหาชนก และทรงเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ



สคส.ปี ๒๕๔๓

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2543 ทรงกล่าวถึงการเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ และให้มองโลกในแง่ดี




สคส.ปี ๒๕๔๔


ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2544 ทรงให้ทบทวนบทเรียนจากอดีต เพื่อเตรียมตัวฟันฝ่าปัญหาในอนาคต และตั้งมั่นอยู่ในความดี และความสุจริตใจ


สคส.ปี ๒๕๔๕

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2545 ทรงกล่าวถึงปัญหาความขัดแย้ง ขัดแข้งขัดขากัน และให้แก้ปัญหาโดยใช้หัว คือสมอง ควบคุมทุกส่วนของตัว รวมทั้งขา ให้อยู่ในระเบียบ




สคส.ปี ๒๕๔๖

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2546 ทรงกล่าวถึงสุนัขทรงเลี้ยง ว่าเป็นเพื่อนที่ดี

สำหรับ ส.ค.ส. ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ทรงออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ มีข้อความว่า

“ส.ค.ส. พ.ศ. ๒๕๔๖ สวัสดีปีใหม่ สรุปปี ๒๕๔๕ : ดีที่สุดคือ จตุรบาท”

ใต้ข้อความ มีตารางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นับแนวตั้งได้ ๘ แถว และแนวนอน ๘ แถว รวม ๖๔ ช่อง

แต่ละแถว มีรูปสุนัขตั้งแต่อยู่ในท่าหมอบชูคอ ค่อยๆ ยืดขาขึ้นยืนจนยืนเต็มที่ทั้ง ๔ ขา
บางตัวมีปลอกคอ บางตัวไม่มีปลอกคอ ใต้ตารางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลงมา มีข้อความว่า

ให้ดียิ่งขึ้น ขอจงมีความสุขความเจริญ Happy New Year

ก.ส. 9 ปรุง 312009 ธ.ค. 2545   มหาวิทยาลัยปูทะเลย์ มิถิลา ๒๕๔๕
มุมขวาบรรทัดเดียวกันนี้   มีตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กๆ ว่า “HNY 46”

ส.ค.ส. ทั้งแผ่นนี้อยู่ในกรอบรูปสุนัขตัวเล็กๆ



สคส.ปี ๒๕๔๗

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2547 ทรงกล่าวถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทรงให้คนไทยมีความรักสามัคคีกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ แก่ปวงชนชาวไทย
ส.ค.ส. ดังกล่าวทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ มีข้อความว่า   ส.ค.ส. พ.ศ. ๒๕๔๗ สวัสดีปีใหม่

ใต้ลงมาเป็นภาพแผนที่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน บนพื้นที่เป็นภาพตารางช่องเล็กๆ ด้านบนทั้งสองด้าน มีเสาธงปักอยู่ มีภาพระเบิด และควันล้อมรอบคาบสมุทรอินโดจีนอยู่ทั้ง ๔ ด้าน ด้านบนซ้ายมีข้อความว่า มีระเบิดเกือบทั่วโลก

ใต้ภาพระเบิดลงมาเป็นภาพเรือสำเภาขนาดใหญ่  แล่นมาจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่ใบเรือด้านหลังมีอักษร ม.ช. ปรากฏอยู่  บนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นภาพแผนที่ประเทศไทยสีขาว ที่ขนานกับส่วนที่เป็นด้ามขวาน เป็นเส้นตรงสามเส้น  บนแผนที่ประเทศไทยมีข้อความว่า สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย
เส้นตรงทั้งสามเส้นนั้นเปรียบเป็นเสาหลักของประเทศ ขณะที่ความสามัคคีของคนในชาติเป็นพลัง ที่ร่วมกันค้ำจุนให้ประเทศไทยเป็นปึกแผ่นมั่งคง

ด้านล่างลงมามีข้อความว่า ขอจงมีความสุขความเจริญ บรรทัดต่อมาเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า
 Happy New Year และมีภาพสุนัขขนาบข้างละตัว

กรอบล่างด้านในมีข้อความว่า ก.ส. 9 ปรุง 291929 ธ.ค. 2546 มหาวิทยาลัยปูทะเลย์ บ้านเชียง
และมีภาพสุนัขขนาบ ๒ ข้างคำว่า ห้าพันปี  ตัวหนึ่งไม่มีปลอกคอ อีกตัวหนึ่งมีปลอกคอ

ส่วนกรอบล่างด้านนอกเป็นภาพสุนัขขนาดลดหลั่นกันรวม ๗ ตัว ตัวใหญ่สุดยืนเต็มตัวอยู่ด้านซ้าย ตัวถัดไปค่อยๆ ย่อตัวลง และขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ จนถึงตัวสุดท้าย ด้านขวาสุดเป็นสุนัขตัวเล็กนอนหมอบอยู่


ในปี พ.ศ.2548 ไม่มี ส.ค.ส. พระราชทาน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ เนื่องจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547 ซึ่งนายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะพระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวันปีใหม่ ซึ่งหลังจากที่พระองค์พระราชทานเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสว่า ปีใหม่ปีนี้ไม่ ส.ค.ส.พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงทำงานอย่างหนักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวใต้ที่ได้รับความเดือดร้อน

นายขวัญแก้วกล่าวอีกว่า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า พระองค์ทรงรู้สึกปลื้มใจที่คนไทยไม่ทิ้งกัน เวลาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งการที่คนไทยได้ช่วยเหลือกันครั้งนี้เหมือนเป็นหลักประกันให้พระองค์ว่า เมื่อไรที่พระองค์เดือดร้อนก็จะมีคนมาช่วย สิ่งที่ทุกคนทำผลบุญก็จะส่งให้กับผู้ที่ให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า ทรงปลื้มใจคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน ไม่รังเกียจว่าเป็นคนชนชาติไหน


สคส.ปี ๒๕๔๙

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2549 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สีเขียว มีภาพปักรูปคุณทองแดงที่กระเป๋าด้านซ้าย ทรงฉายคู่กับคุณทองแดง

สำหรับ ส.ค.ส. ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรนั้น
เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฉลองพระองค์สีเขียว มีภาพปักรูปคุณทองแดงที่กระเป๋าด้านซ้าย ทรงฉายคู่กับ คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง

ด้านล่างนี้มีข้อความเป็นตัวหนังสือสีน้ำตาลขอบเหลืองว่า ขอจงมีความสุขความเจริญ Happy New Year
และมีตัวเลขสีแดง 2005 12 07 16:44  มุมบนด้านซ้ายเป็นตัวหนังสือสีเหลืองสลับส้ม ข้อความว่า ส.ค.ส. พ.ศ.๒๕๔๙ สวัสดีปีใหม่ มุมบนด้านขวามีตราสัญลักษณ์ ๒ ตราเรียงกันลงมา และที่ใต้เส้นสีส้มสลับเหลือง  ด้านซ้ายมีตัวหนังสือสีแดงข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 272149 ธ.ค. 48

ด้านขวามีข้อความ พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา
Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher

ส่วนกรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ ๓ แถว รวม ๖๙๖ หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม





สคส.ปี ๒๕๕0

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2550 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉายคู่กับคุณทองแดง และสุนัขทรงเลี้ยง ที่เป็นเหลนของคุณทองแดงอีก 9 สุนัข

ส.ค.ส. พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์พระกรยาวสีเหลือง ปักตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ประทับบนพระเก้าอี้ ทรงฉายกับ คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง
และลูกสุนัขที่เป็นเหลนของคุณทองแดงอีก ๙ สุนัข พระกรหนึ่งทรงอุ้มลูกสุนัข ๑ สุนัข อีกพระกรหนึ่งทรงถือกล้องถ่ายภาพ ที่พื้นแทบพระบาท มีลูกสุนัขอีก ๘ สุนัข พร้อมด้วยคุณทองแดงหมอบเฝ้าอยู่

มุมบนด้านซ้ายมีตราสัญลักษณ์ และตัวหนังสือสีเหลืองทอง  ข้อความว่า ส.ค.ส. พ.ศ.๒๕๕๐ สวัสดีปีใหม่
มุมบนด้านขวามีตราสัญลักษณ์ พร้อมข้อความภาษาอังกฤษว่าHAPPY NEW YEAR 2007

ด้านล่างมีข้อความว่า ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีแดง ระบุวัน เดือน ปี  ที่ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ว่า 2006 12 28 18:00 ด้านล่างสุดมีข้อความ กส. 9 ปรุง 292305 ธ.ค. 49 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher

กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานแผ่นนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ ทุกใบหน้ามีแต่รอยยิ้ม




วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ส.ค.ส. พระราชทานจากในหลวง 2530-2540



ส.ค.ส. พระราชทานจากในหลวง




ส.ค.ส.พระราชทาน คืออะไร


ส.ค.ส.พระราชทาน คือ บัตรส่งความสุขที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548)

ที่มาของ ส.ค.ส.พระราชทาน


และในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งส.ค.ส.พระราชทานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2529 ซึ่งเป็น ส.ค.ส.พระราชทานสำหรับปี 2530 โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส.9

ส.ค.ส.พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530 เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส.พระราชทาน แต่ละปีจะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อๆ มา หนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง

นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส.พระราชทาน เป็น ก.ส.9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ" ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ

รูปแบบวันที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้วันที่ขนาดย่อดังนี้
ว เป็น วันที่
ช เป็น เวลาเป็นชั่วโมง
น เป็น เวลาเป็นนาที
ด เป็นเดือน
ป เป็น ปี
โดยทรงนำมาวางดังนี้ วว ชช นน ด.ด. ปปปป
ภายหลังพระองค์ทรงปรับปรุงเรียงใหม่อีกครั้งโดยเรียงเป็น ววชชนน ด.ด. ปป ใช้ใน ส.ค.ส. พระราชทานปี 2549 เป็นต้นมา


ผู้จัดพิมพ์

อนึ่ง ส.ค.ส. พระราชทานตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาเป็นภาพสี และคำลงท้ายของมีข้อความ "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad, D.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549, 2551, 2552, 2553) และ "Printed at the Suvarnnachad Publishing, C.Brahmaputra, Publisher" (ใน ส.ค.ส. ปี 2550) เช่นเดียวกับ กรอบของ ส.ค.ส. เป็นภาพใบหน้าคนเล็ก ๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว ส่วนด้านบนและด้านล่า งเรียงกันด้านละ 2 แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม

นอกจากนี้รูปแบบของ ส.ค.ส.พระราช ทาน จากปีแรก ซึ่งยังไม่มีการตกแต่งลวดลายใดๆ ข้อความที่ปรากฏอยู่ มีใจความสั้น กระชับ เรื่อยมาจนถึงช่วงระหว่างปี 2532 - 2537 ได้เริ่มมีการประดับประดาเป็นรูปทรง ส.ค.ส. มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลายเส้นตรง เส้นเฉียง รูปดาวต่างๆ จนกระทั่งปี 2538 เป็นต้นมา ลวดลายที่ปรากฏจะยากขึ้นตามลำดับ มีภาพเครื่องดนตรีหลากชนิด ภาพหัวใจ ภาพประกอบในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นจากฝีพระหัตถ์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น

และเป็นที่ทราบกันดีว่า ส.ค.ส.พระราช ทานทุกปี ล้วนมีความหมายลึกซึ้งซ่อนอยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงจากข้อความ จากลวดลาย หรือแม้กระทั่งสีสันที่ปรากฏ ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ส.ค.ส. ที่พระองค์พระราชทานในแต่ละปี ล้วนเป็นสีขาว - ดำ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการสะท้อนให้คนไทยได้เห็นถึงตัวอย่างของความประหยัด มัธยัสถ์ สิ่งของหลายๆ สิ่งแม้จะไม่มีสีสันดึงดูดตา แต่ก็มากมายด้วยความหมาย พระองค์พยายามทำทุกสิ่ง ให้เกิดประโยชน์ตลอดเวลา ทรงรักความเรียบง่าย ยึดมั่นในความหมาย และคุณค่าของสรรพสิ่งเป็นที่ตั้ง มากกว่าจะมองกันที่ความสวยงามฟุ้งเฟ้อ

หมายเหตุ

ในปี พ.ศ.2548 ไม่มี ส.ค.ส. พระราชทาน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ เนื่องจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547 ซึ่งนายขวัญแก้ว วัชโรทัย ขณะนั้นเป็นประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะพระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวันปีใหม่ ซึ่งหลังจากที่พระองค์พระราชทานเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสว่า ปีใหม่ปีนี้ไม่ ส.ค.ส.พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงทำงานอย่างหนักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวใต้ที่ได้รับ ความเดือดร้อน

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า พระองค์ทรงรู้สึกปลื้มใจที่คนไทยไม่ทิ้งกัน เวลาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งการที่คนไทยได้ช่วยเหลือกันครั้งนี้เหมือนเป็นหลักประกันให้พระองค์ว่า เมื่อไรที่พระองค์เดือดร้อนก็จะมีคนมาช่วย สิ่งที่ทุกคนทำผลบุญก็จะส่งให้กับผู้ที่ให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า ทรงปลื้มใจคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน ไม่รังเกียจว่าเป็นคนชนชาติไหน

ส.ค.ส. ๒๕๓0

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2530 พระราชทานเป็นปีแรก ทรงยังใช้คำว่า กส. 9 ปรุ


ส.ค.ส. ๒๕๓๑


ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2531 ทรงสอนให้ทุกคนคิดและทำในสิ่งที่ดี เพื่อให้บังเกิดแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต




ส.ค.ส. ๒๕๓๒


ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2532 ทรงให้นิยาม 4 ประการของความสุข ว่าคือความปรารถนาดีต่อกัน ความอนุเคราะห์ ความยินดี ความสงบ



ส.ค.ส. ๒๕๓๓


ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2533 ทรงให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีสติ และปัญญา




ส.ค.ส. ๒๕๓๔

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2534 ทรงชี้ให้คนไทยใช้ความเพียร อดทน สติ และปัญญา






ส.ค.ส. ๒๕๓๕


ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2535 ทรงให้คนไทยมุ่งทำวันนี้ให้ดีที่สุด




ส.ค.ส. ๒๕๓๖


ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2536 ทรงเน้นเรื่องการมองปัญหาให้ชัดเจนและตรงจุด การมีสติ คิดและทำอย่างสร้างสรรค์



ส.ค.ส. ๒๕๓๗


ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2537 ทรงกล่าวถึงโครงการพระราชดำริ เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร





ส.ค.ส. ๒๕๓๘

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2538 ทรงให้ข้อคิดในการร่วมมือกันทำงาน เกี่ยวกับการพูด การฟัง




ส.ค.ส. ๒๕๓๙

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2539 ทรงให้คนไทยตั้งมั่นอยู่ในความสมดุลในการแก้ปัญหา และการประสานประโยชน์เพื่อประเทศชาติ




ส.ค.ส. ๒๕๔0

ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2540 ทรงกล่าวถึงพลังความคิด และให้คติในการพูด การคิด และการทำ