“ศักราช” ว่าหมายถึง ราชาแห่งศกะ (คือศากยวงศ์แห่งพระพุทธองค์) เพราะการบอกปีในสังคมอินเดียนิยมนับตามพระชนมายุของกษัตริย์ ส่วน “ศักราช”ในความหมายที่ให้โดย พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546) หมายถึง อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆ ไป
พุทธศักราช (พ.ศ.) - เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะไทย และศรีลังกา
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) - เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 544 โดยนับปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ เป็น ค.ศ. 1 นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์และใช้เป็นปีอ้างอิงสากล
มหาศักราช (ม.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 622 พระเจ้ากนิษกะของอินเดียทรงตั้งขึ้น ใช้ในศิลาจารึกและเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยบ้าง แต่น้อยกว่าจุลศักราช
ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1966 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัดอพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ
จุลศักราช (จ.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1182 ปี โดยนับเอาวันที่พระพม่า นามว่า "บุพโสระหัน" สึกออกมาเพื่อชิงราชบัลลังก์ นิยมใช้ในเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยเรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์
รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) - เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 5 โดย "เริ่มนับ" ตั้งแต่ พ.ศ. 2326 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงเทพมหานคร (เลิกใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
พุทธศักราช (พ.ศ.) ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์เกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี ดังนั้นวันคริสต์มาสในปี 2001 จึงครบรอบวันสมภพ 2000 ปี โดยมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่
มหาศักราช (ม.ศ.) หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า ศกาพทะ หรือ ศาลิวาหนกาล แปลว่า ปีของชาวศกะ (Scythian) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ หรือบางตำนานเรียกว่า พระเจ้ากนิษกะ แห่งศกราชวงศ์ ทรงมีชัยชนะเหนือแคว้นโดยรอบ เป็นมหาศักราชที่ 1 มีวิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี
จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร์) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาเนื่องจากเดือน 5 ไทยเราจะไปตรงกับเดือนจิตรามาสอันเป็นเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติทางชมพูทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติและให้เป็นวันเปลี่ยนนักษัตรด้วย แต่ยังคงเปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381 ตรงกับวันที่ 7 เดือนเมษายน ปีกุน พ.ศ. 2562 ค.ศ. 2019
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 2 เรียกว่า โทศก เช่น วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีชวดโทศก จุลศักราช 1382 ตรงกับ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีชวด พ.ศ. 2563 ค.ศ. 2020
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก เช่น วันศุกร์ แรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีฉลูตรีศก จุลศักราช 1383ตรงกับ วันที่ 1 เดือนตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2564 ค.ศ. 2021
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก เช่น วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 11ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1384 ตรงกับวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปีขาล พ.ศ. 2565 ค.ศ. 2022
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก เช่น วันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1385 ตรงกับวันที่ 27 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ค.ศ. 2023
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรงฉศก จุลศักราช 1386 ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก เช่น วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช 1387 ตรงกับ วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2568 ค.ศ. 2025
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก เช่น วันพฤหัส ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1388 ตรงกับ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2569 ค.ศ. 2026
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 9 เรียกว่า นพศก เช่น วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมนพศก จุลศักราช 1389 ตรงกับ วันที่ 10 เดือนกันยายน ปีมะแม พ.ศ. 2570 ค.ศ. 2027
ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก เช่น วันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1380 ตรงกับ วันที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปีวอก พ.ศ. 2571 ค.ศ. 2028
รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง เป็นปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และใช้อยู่จนถึง ร.ศ. 131 เป็น ร.ศ. สุดท้าย หรือเพียง 23 ปี ก็เลิกใช้ไป เพราะเห็นว่าไม่สะดวกในการอ้างอิงปีในประวัติศาสตร์ เช่น กล่าวว่า ไทยเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปีที่ 15 ก่อน ร.ศ. เป็นต้น
การนับเวลาและการเทียบศักราชของโลกตะวันออก
1 ) การนับศักราชแบบจีน
ระบบปฏิทินของจีนมีอายุย้อนหลังไปเกือบ 4,000 ปีมาแล้ว เป็นระบบจันทรคติ ( การยึดดวงจันทร์เป็นหลัก ) คำว่า รอบเดือน และพระจันทร์ ในภาษาจีนจึงใช้อักษรและออกเสียงเหมือนกัน คือ เยว่ ใน 1 เดือน จะมี 29 หรือ 30 วัน และปีหนึ่งมี 354 วัน ต่อมาราว 2,500 ปีมาแล้ว จีนสามารถคำนวณได้ว่าหนึ่งปีมี 365.25 วัน จึงมีการเพิ่มเดือนเป็นเดือนที่ 13 ทุก ๆ 3 ปี ด้วยเหตุนี้ปีใหม่ของจีนจึงเลื่อนไปมาระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์
การนับช่วงสมัยของจีนจะจึงตามปีที่ครองราชย์ของจักรพรรดิ ซึ่งถือเป็นโอรสสวรรค์ ( เป็นประมุขในทุกด้าน ) จะเรียกเป็นรัชศกตามปีที่ครองรางสมบัติ เช่น “ เมื่อวันที่ 15 เดือน 5 ปีที่ 16 แห่งรัชศกหย่งเล่อ จักรพรรดิพระราชทานเลี้ยงรับรองบรรดาราชทูตจากอาณาจักรเซียนหลัว หลิวฉิว ” ข้อความนี้ปรากฏในพงศาวดารจีน มีความหมายว่า จักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงครองราชย์เป็นปีที่ 16 ในค.ศ. 1418 ( พ.ศ. 1961 ) ส่วนวันที่ 15 เดือน 5 ตามการนับแบบจีนตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน เซียนหลัว คือ สยามหรือกรุงศรีอยุธยา หลิวฉิว คือ ริวกิวของญี่ปุ่น ปัจจุบันจีนเลิกใช้การนับแบบนี้แล้ว แต่ญี่ปุ่นยังนำไปใช้อยู่ โดยปีรัชศกของสมัยจักรพรรดิอะกิฮิโตะองค์ปัจจุบัน คือ เฮเซ
2 ) การนับศักราชแบบอินเดีย
อินเดียในสมัยโบราณมีแคว้นและรัฐต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีการนับคักราชเช่นเดียวกับจีน คือ “ ในปีที่…. แห่งรัชกาล… ” ต่อมาในสมัยพระเจ้ากนิษกะที่ทรงมีอำนาจสามารถปกครองอินเดียอย่างกว้างขวาง จึงนับปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อค.ศ. 78 ( ปัจจุบันเชื่อว่าพระองค์ครองราชย์สมบัติระหว่าง ค.ศ. 115 – 140 ) ถือเป็นการเริ่มต้นศักราชกนิษกะ หรือศก ( Soka Era ) ต่อมาเรียกว่า มหาศักราช ซึ่งแพร่หลายไปทั่วอินเดียและอาณาจักรรอบข้างแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันอินเดียใช้ศักราชตามสากล คือ คริสต์ศักราช
3 ) การนับศักราชแบบอิสลาม
ฮิจเราะห์ศักราช ( ฮ.ศ. ) เริ่มนับเมื่อท่านนบีมุฮัมมัดกระทำฮิจเราะห์ ( การอพยพ ) จากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินะ ซึ่ง ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่เพราะ ฮ.ศ. ใช้ระบบจันทรคติเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการเทียบกับ พ.ศ. จึงมีความคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน ทุก ๆ 32 ปีครึ่งของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1 ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2552 จะตรงกับปี ฮ.ศ. 1430 ดังนั้น ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปี และน้อยกว่า ค.ศ. 579 ปี
การนับเวลาและการเทียบศักราชของโลกตะวันออก
1 ) การนับศักราชแบบจีน
ระบบปฏิทินของจีนมีอายุย้อนหลังไปเกือบ 4,000 ปีมาแล้ว เป็นระบบจันทรคติ ( การยึดดวงจันทร์เป็นหลัก ) คำว่า รอบเดือน และพระจันทร์ ในภาษาจีนจึงใช้อักษรและออกเสียงเหมือนกัน คือ เยว่ ใน 1 เดือน จะมี 29 หรือ 30 วัน และปีหนึ่งมี 354 วัน ต่อมาราว 2,500 ปีมาแล้ว จีนสามารถคำนวณได้ว่าหนึ่งปีมี 365.25 วัน จึงมีการเพิ่มเดือนเป็นเดือนที่ 13 ทุก ๆ 3 ปี ด้วยเหตุนี้ปีใหม่ของจีนจึงเลื่อนไปมาระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์
การนับช่วงสมัยของจีนจะจึงตามปีที่ครองราชย์ของจักรพรรดิ ซึ่งถือเป็นโอรสสวรรค์ ( เป็นประมุขในทุกด้าน ) จะเรียกเป็นรัชศกตามปีที่ครองรางสมบัติ เช่น “ เมื่อวันที่ 15 เดือน 5 ปีที่ 16 แห่งรัชศกหย่งเล่อ จักรพรรดิพระราชทานเลี้ยงรับรองบรรดาราชทูตจากอาณาจักรเซียนหลัว หลิวฉิว ” ข้อความนี้ปรากฏในพงศาวดารจีน มีความหมายว่า จักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงครองราชย์เป็นปีที่ 16 ในค.ศ. 1418 ( พ.ศ. 1961 ) ส่วนวันที่ 15 เดือน 5 ตามการนับแบบจีนตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน เซียนหลัว คือ สยามหรือกรุงศรีอยุธยา หลิวฉิว คือ ริวกิวของญี่ปุ่น ปัจจุบันจีนเลิกใช้การนับแบบนี้แล้ว แต่ญี่ปุ่นยังนำไปใช้อยู่ โดยปีรัชศกของสมัยจักรพรรดิอะกิฮิโตะองค์ปัจจุบัน คือ เฮเซ
2 ) การนับศักราชแบบอินเดีย
อินเดียในสมัยโบราณมีแคว้นและรัฐต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีการนับคักราชเช่นเดียวกับจีน คือ “ ในปีที่…. แห่งรัชกาล… ” ต่อมาในสมัยพระเจ้ากนิษกะที่ทรงมีอำนาจสามารถปกครองอินเดียอย่างกว้างขวาง จึงนับปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อค.ศ. 78 ( ปัจจุบันเชื่อว่าพระองค์ครองราชย์สมบัติระหว่าง ค.ศ. 115 – 140 ) ถือเป็นการเริ่มต้นศักราชกนิษกะ หรือศก ( Soka Era ) ต่อมาเรียกว่า มหาศักราช ซึ่งแพร่หลายไปทั่วอินเดียและอาณาจักรรอบข้างแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันอินเดียใช้ศักราชตามสากล คือ คริสต์ศักราช
3 ) การนับศักราชแบบอิสลาม
ฮิจเราะห์ศักราช ( ฮ.ศ. ) เริ่มนับเมื่อท่านนบีมุฮัมมัดกระทำฮิจเราะห์ ( การอพยพ ) จากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินะ ซึ่ง ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่เพราะ ฮ.ศ. ใช้ระบบจันทรคติเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการเทียบกับ พ.ศ. จึงมีความคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน ทุก ๆ 32 ปีครึ่งของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1 ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2552 จะตรงกับปี ฮ.ศ. 1430 ดังนั้น ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปี และน้อยกว่า ค.ศ. 579 ปี
การเทียบศักราช
การเปรียบเทียบการนับศักราชแบบต่างๆกับพุทธศักราช มีหลักการเทียบดังนี้
๑.การเทียบมหาศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบันม.ศ. + ๖๒๑ หรือ พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ.
๒.การเทียบจุลศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบันจ.ศ. + ๑๑๘๑ หรือ พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ.
๓.การเทียบรัตนโกสินทร์ศกกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน ร.ศ. + ๒๓๒๔ หรือ พ.ศ. – ๒๓๒๔ = ร.ศ.
๔.การเทียบคริสต์ศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบันค.ศ. + ๕๔๓ หรือ พ.ศ. – ๕๔๓ = ค.ศ.
๕.การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราช คือ
พุทธศักราช = ปัจจุบัน ฮ.ศ. + ๑๑๒๒ หรือ พ.ศ. – ๑๑๒๒ = ฮ.ศ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น