เนื่องจากการติดต่อ คมนาคม ประเทศไทยรับธรรมเนียมมาจากฝรั่ง เช่นเดียวกับการพิมพ์นามบัตร หรือพิมพ์การ์ดเชิญต่าง ๆ บัตรอวยพรที่เก่าแก่ที่สุด หรือแบบแรกที่สุด คือ บัตรอวยพรปีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระมหากษัตรย์ที่ติดต่อกับชาวตะวันตก และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมตลอดจนวิชาการของชาติตะวันตกหลาย ๆ อย่าง การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้นเริ่มขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่นอน แต่ได้มีสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ( พศ. 2409 ) ของพระองค์ ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ปรากฎอยู่ใน น.ส.พ. The Bangkok Recorder ( เดอะบางกอก เรคคอร์ดเตอร์ ฉบับภาษาอังกฤษ ) ของหมอบรัดเลย์
การส่งบัตรอวยพรของไทยก็ได้รับธรรมเนียมมาจากฝรั่งหลักฐานเรื่อง ส.ค.ส.หรือบัตรอวยพรความสุขปีใหม่ เก่าที่สุดพบปรากฎในหนังสือ Bangkok Recorder วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2409
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4ได้มีสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ของพระองค์ ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Recorder(ฉบับภาษาอังกฤษ) ของหมอรัดเลย์ แปลความได้ว่า..
ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลชาติต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกันจึงกล่าวได้ว่า เป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกของไทย ทีทรงเริ่มส่ง ส.ค.ส. บางทีอาจเป็นคนไทยคนแรกด้วย คือ รัชกาลที่ 4
รัฃกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นสำหรับพระราชทานคณะทูตานุทูต ข้าราชบริพาร และมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1866 บัตรอวยพรอันประเมินค่ามิได้อายุ 140 ปีแผ่นนี้ พบในร้าน Maggs Brosร้านหนังสือเก่าแก่ ใจกลางกรุงลอนดอน ผู้ซื้อกลับมาสู่แผ่นดินมาตุภูมิ ก็คือ คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช นักวิชาการอิสระผู้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามผ่านเอกสารของชาวตะวันตก เจ้าของผลงานเล่มล่าสุด "กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง" ส.ค.ส.เก่าแก่ที่สุดใบนี้ รัชกาลที่ 4 พระราชทานให้แก่ "กัปตันบุช" (ข้าราชบริพารชาวอังกฤษ เข้ามารับราชการสนองเบื้องพระยุคลบาทพระเจ้าแผ่นดินไทยถึงสองพระองค์ คือ ร.4-5)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสมัยที่เกิดคำว่า ส.ค.ส. หรือส่งความสุข ขึ้น ซึ่งการส่งบัตรอวยพรความสุขในยุครัชสมัยนี้นิยมส่งกันตั้งแต่ต้น ๆ รัชกาล
และ ส.ค.ส. ส่วนใหญ่ที่พบในหอจดหมายเหตุแห่งชาติในช่วงพ.ศ. 2429 มีลักษณะเป็นนามบัตรเขียนคำว่า ส.ค.ส.ปีนั้นปีนี้ลงไป หรือไม่ก็เขียนคำอวยพรลงบนแผ่นกระดาษฝรั่ง
นอกจากนั้นยังมีบัตรอวยพรของฝรั่งปะปนอยู่อีกหลายแผ่น ช่วงเวลาที่ส่งกันก็คือ ช่วงเดือนเมษา เพราะเราเคยขึ้นปีใหม่ในเดือนนั้น เพราะรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดให้ใช้ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา
จนสมัยรัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2483 ทางราชการได่เปลี่ยนให้ใช้ วันที่1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า จะยกเลิกอิทธิพลพราหมณ์ และให้สอดคล้องกับประเพณีไทยโบราณที่มีการยึดเดือนอ้าย(ใกล้ถึงเดือนมกราคม)เป็นวันขึ้นปีใหม่ ก็เลยยึดหลักเกณฑ์นี้ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับสากลด้วย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น