ส.ค.ส. พระราชทานจากในหลวง
ส.ค.ส.พระราชทาน คืออะไร
ส.ค.ส.พระราชทาน คือ บัตรส่งความสุขที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548)
ที่มาของ ส.ค.ส.พระราชทาน
และในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งส.ค.ส.พระราชทานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2529 ซึ่งเป็น ส.ค.ส.พระราชทานสำหรับปี 2530 โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส.9
ส.ค.ส.พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530 เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส.พระราชทาน แต่ละปีจะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อๆ มา หนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง
นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส.พระราชทาน เป็น ก.ส.9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ" ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ
นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส.พระราชทาน เป็น ก.ส.9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ" ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ
รูปแบบวันที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้วันที่ขนาดย่อดังนี้
ว เป็น วันที่
ช เป็น เวลาเป็นชั่วโมง
น เป็น เวลาเป็นนาที
ด เป็นเดือน
ป เป็น ปี
โดยทรงนำมาวางดังนี้ วว ชช นน ด.ด. ปปปป
ภายหลังพระองค์ทรงปรับปรุงเรียงใหม่อีกครั้งโดยเรียงเป็น ววชชนน ด.ด. ปป ใช้ใน ส.ค.ส. พระราชทานปี 2549 เป็นต้นมา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้วันที่ขนาดย่อดังนี้
ว เป็น วันที่
ช เป็น เวลาเป็นชั่วโมง
น เป็น เวลาเป็นนาที
ด เป็นเดือน
ป เป็น ปี
โดยทรงนำมาวางดังนี้ วว ชช นน ด.ด. ปปปป
ภายหลังพระองค์ทรงปรับปรุงเรียงใหม่อีกครั้งโดยเรียงเป็น ววชชนน ด.ด. ปป ใช้ใน ส.ค.ส. พระราชทานปี 2549 เป็นต้นมา
ผู้จัดพิมพ์
อนึ่ง ส.ค.ส. พระราชทานตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาเป็นภาพสี และคำลงท้ายของมีข้อความ "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad, D.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549, 2551, 2552, 2553) และ "Printed at the Suvarnnachad Publishing, C.Brahmaputra, Publisher" (ใน ส.ค.ส. ปี 2550) เช่นเดียวกับ กรอบของ ส.ค.ส. เป็นภาพใบหน้าคนเล็ก ๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว ส่วนด้านบนและด้านล่า งเรียงกันด้านละ 2 แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม
นอกจากนี้รูปแบบของ ส.ค.ส.พระราช ทาน จากปีแรก ซึ่งยังไม่มีการตกแต่งลวดลายใดๆ ข้อความที่ปรากฏอยู่ มีใจความสั้น กระชับ เรื่อยมาจนถึงช่วงระหว่างปี 2532 - 2537 ได้เริ่มมีการประดับประดาเป็นรูปทรง ส.ค.ส. มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลายเส้นตรง เส้นเฉียง รูปดาวต่างๆ จนกระทั่งปี 2538 เป็นต้นมา ลวดลายที่ปรากฏจะยากขึ้นตามลำดับ มีภาพเครื่องดนตรีหลากชนิด ภาพหัวใจ ภาพประกอบในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นจากฝีพระหัตถ์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น
และเป็นที่ทราบกันดีว่า ส.ค.ส.พระราช ทานทุกปี ล้วนมีความหมายลึกซึ้งซ่อนอยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงจากข้อความ จากลวดลาย หรือแม้กระทั่งสีสันที่ปรากฏ ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ส.ค.ส. ที่พระองค์พระราชทานในแต่ละปี ล้วนเป็นสีขาว - ดำ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการสะท้อนให้คนไทยได้เห็นถึงตัวอย่างของความประหยัด มัธยัสถ์ สิ่งของหลายๆ สิ่งแม้จะไม่มีสีสันดึงดูดตา แต่ก็มากมายด้วยความหมาย พระองค์พยายามทำทุกสิ่ง ให้เกิดประโยชน์ตลอดเวลา ทรงรักความเรียบง่าย ยึดมั่นในความหมาย และคุณค่าของสรรพสิ่งเป็นที่ตั้ง มากกว่าจะมองกันที่ความสวยงามฟุ้งเฟ้อ
หมายเหตุ
ในปี พ.ศ.2548 ไม่มี ส.ค.ส. พระราชทาน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ เนื่องจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547 ซึ่งนายขวัญแก้ว วัชโรทัย ขณะนั้นเป็นประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะพระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวันปีใหม่ ซึ่งหลังจากที่พระองค์พระราชทานเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสว่า ปีใหม่ปีนี้ไม่ ส.ค.ส.พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงทำงานอย่างหนักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวใต้ที่ได้รับ ความเดือดร้อน
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า พระองค์ทรงรู้สึกปลื้มใจที่คนไทยไม่ทิ้งกัน เวลาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งการที่คนไทยได้ช่วยเหลือกันครั้งนี้เหมือนเป็นหลักประกันให้พระองค์ว่า เมื่อไรที่พระองค์เดือดร้อนก็จะมีคนมาช่วย สิ่งที่ทุกคนทำผลบุญก็จะส่งให้กับผู้ที่ให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า ทรงปลื้มใจคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน ไม่รังเกียจว่าเป็นคนชนชาติไหน
ส.ค.ส. ๒๕๓0
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2530 พระราชทานเป็นปีแรก ทรงยังใช้คำว่า กส. 9 ปรุ
ส.ค.ส. ๒๕๓๑
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2531 ทรงสอนให้ทุกคนคิดและทำในสิ่งที่ดี เพื่อให้บังเกิดแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต
ส.ค.ส. ๒๕๓๒
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2532 ทรงให้นิยาม 4 ประการของความสุข ว่าคือความปรารถนาดีต่อกัน ความอนุเคราะห์ ความยินดี ความสงบ
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2531 ทรงสอนให้ทุกคนคิดและทำในสิ่งที่ดี เพื่อให้บังเกิดแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต
ส.ค.ส. ๒๕๓๒
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2532 ทรงให้นิยาม 4 ประการของความสุข ว่าคือความปรารถนาดีต่อกัน ความอนุเคราะห์ ความยินดี ความสงบ
ส.ค.ส. ๒๕๓๓
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2533 ทรงให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีสติ และปัญญา
ส.ค.ส. ๒๕๓๔
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2534 ทรงชี้ให้คนไทยใช้ความเพียร อดทน สติ และปัญญา
ส.ค.ส. ๒๕๓๕
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2535 ทรงให้คนไทยมุ่งทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ส.ค.ส. ๒๕๓๖
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2536 ทรงเน้นเรื่องการมองปัญหาให้ชัดเจนและตรงจุด การมีสติ คิดและทำอย่างสร้างสรรค์
ส.ค.ส. ๒๕๓๗
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2537 ทรงกล่าวถึงโครงการพระราชดำริ เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร
ส.ค.ส. ๒๕๓๘
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2538 ทรงให้ข้อคิดในการร่วมมือกันทำงาน เกี่ยวกับการพูด การฟัง
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2534 ทรงชี้ให้คนไทยใช้ความเพียร อดทน สติ และปัญญา
ส.ค.ส. ๒๕๓๕
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2535 ทรงให้คนไทยมุ่งทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ส.ค.ส. ๒๕๓๖
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2536 ทรงเน้นเรื่องการมองปัญหาให้ชัดเจนและตรงจุด การมีสติ คิดและทำอย่างสร้างสรรค์
ส.ค.ส. ๒๕๓๗
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2537 ทรงกล่าวถึงโครงการพระราชดำริ เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร
ส.ค.ส. ๒๕๓๘
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2538 ทรงให้ข้อคิดในการร่วมมือกันทำงาน เกี่ยวกับการพูด การฟัง
ส.ค.ส. ๒๕๓๙
ส.ค.ส. ๒๕๔0
ส.ค.ส. พระราชทาน ประจำปี 2540 ทรงกล่าวถึงพลังความคิด และให้คติในการพูด การคิด และการทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น