เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายนพ.ศ. 2457 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน[1] คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน
โขนเรือเป็น "พญาอนันตนาคราช" หรือนาค 7 เศียร โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ นับเป็นเรือพระที่นั่งที่มีความงดงามอีกลำหนึ่ง อนึ่ง เคยมีการพิมพ์รูปเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชด้านหลังธนบัตร 20 บาท โดยจัดพิมพ์และใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันเลิกพิมพ์แล้ว
โขนเรือเป็น "พญาอนันตนาคราช" หรือนาค 7 เศียร โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ นับเป็นเรือพระที่นั่งที่มีความงดงามอีกลำหนึ่ง อนึ่ง เคยมีการพิมพ์รูปเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชด้านหลังธนบัตร 20 บาท โดยจัดพิมพ์และใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันเลิกพิมพ์แล้ว
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ลักษณะเด่นคือมีโขนเรือเชิดเรียว ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน แต่จำหลักและปิดทองเป็นรูปพญานาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง พญานาค)
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้ จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง นับเป็นเรือพระที่นั่งลำเดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5
โขนเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 45.50 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก .46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ใช้ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คน ถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน
โขนเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 45.50 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก .46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ใช้ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คน ถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน
เป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่ง และพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารคเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มีชื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราวปี พ.ศ. 2091 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า "สุวรรณหงส์" ดังทราบได้จากบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ฯที่ว่า
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย
งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์
ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
ในหนังสือตำนานเรือรบไทยพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ว่า เรือศรีสุพรรณหงส์สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2370 มีหมายรับสั่งให้จัด "เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์" เป็นเรือทรงพระบรมธาตุที่ได้มาจากเวียงจันทน์ ในจดหมายเหตุในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 เรียกชื่อเรือนี้ว่า "เรือศรีสุพรรณหงส์" เรือศรีสุพรรณหงส์ได้ชำรุดทรุดโทรมเรื่อยมา และได้รับการซ่อมแซมมาหลายครั้ง
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน เป็นเรือพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ต่อขึ้นใหม่เพราะเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ลำเดิมผุพังเกินที่จะซ่อมได้ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเปลี่ยนชื่อเป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 44.9 เมตร กว้าง 3.14 เมตร ลึก 0.9 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร กำลัง 3.5 เมตร (พายครั้งหนึ่งแล่นไปได้ไกล 3.5 เมตร) หนัก 15.1 ตัน พายทอง
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ หนึ่งในเรือพระราชพิธี ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร ได้นำ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ ศิลปกรรมของเรือทั้งหมด
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณฯจัดเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ลำเดิมสร้างขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อว่า “มงคลสุบรรณ” หัวเรือเป็นรูป พระครุฑพ่าห์ มีช่องกลมสำหรับติดตั้งปืนใหญ่ อยู่ที่หัวเรือใต้ตัวครุฑ มีความยาว 17 วา 3 ศอก กว้าง 5 ศอก 5 นิ้ว ลึก 1 ศอก 6 นิ้ว กำลัง 6 ศอก 6 นิ้ว พื้นท้องเรือภายนอก ทาสีแดง ฝีพาย 65 คน ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ได้มีพระราชดำริให้เสริมรูปพระนารายณ์ยืนประทับบนหลังพญาสุบรรณ เพื่อความเป็นสง่างามของลำเรือ และเพื่อให้ต้องตามคติในศาสนาพราหมณ์ เทวรูปพระนารายณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 4 นั้น สร้างด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจกองค์พระนารายณ์ทรงเครื่องภูษิตา ภรณ์และมงกุฎยอดชัยพระพักตร์และพระวรกายประดับกระจกสีขาบ (สีน้ำเงินเข้ม) มี 4 พระกร ทรงเทพศาสตราคือ ตรี คทา จักร สังข์ ตามคติของพราหมณ์ซึ่งปรากฏในบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ 1 ตอนกุมภกรรณต้องศรพระรามสิ้นชีวิต
|
แล้วขนานนามว่า “เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ” ต่อมาเรือได้เสื่อมสภาพลงคงเหลือแต่โขนเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2539 กองทัพเรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กรมอู่ทหารเรือ และกรมศิลปากร ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติปีที่ 50 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อเรือว่า "เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9" เรือลำดังกล่าวมีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งรองทอดบัลลังก์กัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น