.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรือไทย : เรือภาคใต้


เรือทางภาคใต้ได้รับรูปแบบมาจากทางมาลายู

เรือหัวโทง


เป็นเรือประมงแบบท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย นิยมใช้กันทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน มีกำเนิดที่กระบี่ และแพร้หลายไปในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเป็นเรือขนาดเล็กหัวเรือสูงงอนขึ้นไปบรรจบกับทวนหัวที่ยื่นสูงขึ้นมา และตรงทวนท้ายมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม ขนาดตั้งแต่ 7-8 เมตรขึ้นไปจนถึง 10 กว่าเมตร ติดเครื่องท้าย ต่อมา เรือโทงเทงเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่
ส่วนสาเหตุที่เรียกเรือหัวโทง เป็นเพราะทะเลอันดามันมีคลื่นลมค่อนข้างแรง คลื่นสาดสูง เมื่อปะทะกับหัวเรือทำให้น้ำเข้าเรือได้ง่าย ด้วยภูมิปัญญาของช่างต่อเรือจึงทำให้หัวเรือแอ่นงอนเชิดสูงเพือให้แหวกคลื่นได้ดี และ น้ำไม่ทะลักลงเรือจึงเป็นที่มาขอคำว่าเรือหัวโทง และอีกสาเหตุอาจเป็นเพราะทะเลกระบี่ รอบเกาะพีพีมีปลาชื่อ "โทงแทง "ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจของ จ.กระบี่
เรือหัวโทงเป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ แต่ละจังหวัดก็จะมีความแตกต่างกันออกไป เ่ช่น ระนองจะเป็นเรือหัวตัด , ชุมพร - สุราษร์ธานี จะเป็นเรือหัวแบน, นราธิวาส-ปัตตานี เป็น เรือกอและ


เรือกาบ่าง






เรือ หรือ “ก่าบาง”เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตของมอแกน เป็นทั้งพาหนะ เครื่องมือทำมาหากิน บ้านพักอาศัย และบ่อยครั้งเป็นที่เกิดและที่ตายของมอแกน ก่าบางมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือมี “ง่าม” หรือรอยหยักเว้าที่หัวเรือและท้ายเรือ ประโยชน์ใช้สอยของง่ามที่หัวและท้ายเรือก็คือเป็นที่ปีนและก้าวขึ้นลงเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมอแกนลงทะเลเพื่อว่ายน้ำและดำน้ำ การขึ้นเรือทางข้างเรือที่มีกราบทำด้วยไม้ระกำเป็นไปได้ยากเพราะไม้ระกำที่เสียบต่อกันด้วยซี่ไม้ไผ่นั้นไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักคนโหนขึ้น ง่ามมีประโยชน์สำหรับเป็นที่จับยึดเวลาลากเรือขึ้นและลงหาด 


 ก่าบาง (เรือขุดเสริมกราบไม้ระกำ ใช้ใบเตยทะเลเย็บเข้าด้วยกันเป็นใบเรือและหลังคา มีรอยหยักเว้าที่หัวเรือและท้ายเรือ มีแจวลำละ 4 – 6 แจวเผื่อเวลาไม่มีลม มีเตาไฟภายในเรือ) เรือซึ่งเป็นทั้งบ้านและพาหนะเดินทางไปตามเกาะต่างๆเพื่อทำมาหากิน เก็บเปลือกหอย ,ปลิงทะเล ,รังนก ,ฯลฯ นำไปแลกเปลี่ยนอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันกับเถ้าแก่บนฝั่ง พอถึงช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ฤดูฝน) ประมาณเดือน พ.ค. – ต.ค.ทะเลมีคลื่นลมแรง ชาวมอแกนจะหยุดเคลื่อนย้ายและอพยพขึ้นมาสร้างบ้านเรือนในบริเวณอ่าวที่เป็นจุดหลบคลื่นลมโดยจะเลือกพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำจืดและอยู่ไม่ห่างไกลจากชายฝั่งนัก ช่วงฤดูนี้ชาวมอแกนจะมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างติดที่และเดินทางอยู่เพียงใกล้ๆกับแหล่งที่ตั้งชุมชนเท่านั้น ในการเดินทางระยะใกล้ๆ ริมชายฝั่งทะเลนี้ชาวมอแกนจะใช้เรือแจวขนาดเล็กซึ่งขุดจากไม้ทั้งต้นที่เรียกว่า “เรือฉ่าพัน” เป็นหลักแทนเรือก่าบาง แต่วิถีชีวิตซึ่งเริ่มเปลี่ยนไปในปัจจุบันทำให้ไม่ค่อยมีชาวมอแกนใช้ชีวิต กิน อยู่ หลับนอน บนเรือขนาดเล็กสักเท่าไหร่แล้ว ประกอบกับความสะดวกรวดเร็วในการใช้ “เรือหัวโทง” มีมากกว่าจึงทำให้เรือก่าบางและเรือฉ่าพันค่อยๆ ลับเลือนหายไปจากชุมชนชาวมอแกนในที่สุด


เรือกอและ





         ประวัติและวิวัฒนาการของเรือกอและ สันนิษฐานว่าเรือกอและน่าจะเกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย ข้อสันนิษฐานดังกล่าวสืบเนื่องมาจากเหตุผล ทางประวัติศาสตร์ ดังนี้คือ 1. การเข้ามาของมุสลิมในประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-1921) นั้น มุสลิมอาศัยอยู่ ในนครศรีธรรมราชตลอดจนถึงมะละกา และมีหลักฐานที่แสดงว่าในสมัยสุโขทัยนั้นประเทศไทยมีการติดต่อ กับประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย อาหรับ ทั้งนี้ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2133-2148) ตำแหน่งเสนา-บดีทางการคลังและการท่าเรือนั้นนิยมใช้ชาวเปอร์เซีย ซึ่งก็ใช้กันเป็น ประเพณีสืบต่อมาจนตลอดสมัยอยุธยาและธนบุรี 2. มุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญในการใช้เรือ คนไทยทางภาคใต้รู้จักการใช้เรืออย่างชำนิชำนาญ มากกว่าคนไทยในภาคกลาง เหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือ การอยู่ติดลำน้ำและ ฝั่งทะเล และหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ขุนนางเชื้อสายอาหรับมุสลิมมีความสามารถเป็นอย่างยิ่งใน ด้านกิจการค้าทางทะเล รับราชการได้ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมท่า สังกัดกองทัพเรือเป็นจำนวนมาก จน กลายเป็นตำแหน่งสืบทอดแบบประเพณีจึงสันนิษฐานได้ว่า ชาวมุสลิมในภาคใต้ความคุ้นเคยและชำนาญใน การใช้เรือมาตั้งแต่สมัยโบราณ และสืบทอดความชำนาญทางด้านการเดินเรือและการประมงให้แก่ลูกหลาน 3. ปรากฏเรื่องราวของเรือและในสมัยสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปและ สันนิษฐานได้ว่าเรือกอและ และการเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่างของชาวมุสลิม และเนื่องจาก ชาวมุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญพิเศษในการออกทะเล 
                
           ดังนั้นกลุ่มชนนี้จึงยึดอาชีพการประมง และ เนื่องจากเป็นชาวพื้นเมืองที่มีทุนทรัพย์น้อย จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการออกทะเลเพื่อทำการประมง ทำให้เกิด “เรือกอและ”ขึ้น สันนิษฐานว่าการวาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและน่าจะกำเนิดขึ้นเมื่อเกือบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังนี้ 1. ปรากฏเรือกอและที่มีการเขียนลวดลายจิตรกรรม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. ปรากฏการแข่งขันเรือกอและที่มีการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมในราวประมาณ พ.ศ. 2487 ในสมัยที่ขุน จรรยาวิเศษ (เที่ยง จรรยาวิเศษ บุญยพัตย์) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานี 3. จากการสอบถามช่างต่อเรือในท้องถิ่น พอสรุปและสันนิษฐานได้ว่าชาวไทยมุสลิมเริ่มมีการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในสมัยรัตนโกสินทร์ราว 1 ศตวรรษที่ผ่านมาเพราะเนื่องจากชาวไทยมุสลิม ในเขตชายแดนภาคใต้ที่มีวัฒนธรรทางศิลปะมาตั้งแต่บรรพชนซึ่ง แสดงให้ปรากฎในด้านการประดับตกแต่ง การแต่งกายและทางด้านสถาปัตยกรรม ผนวกกับเนื่องจากชาวประมงหรือนักรบเหล่านี้ได้เคยเห็นความงาม วิจิตรของเรือในพระราชพิธีทางภาคกลาง จึงเกิดความประทับใจและมีความปรารถนาที่จะตกต่างเรือกอและ ของตนเองให้ดูสวยงาม หลังจากบ้านเมืองมีความสงบสุขสิ้นภัยจากสงครามและความวุ่นวายการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและจึงเกิดขึ้น
         เรือกอและเดิมเป็นเรือที่ชาวพื้นเมืองปัตตานีใช้เป็น พาหนะในการเดินทางและทำการประมงยามว่างจากการประกอบอาชีพในยามคลื่นลมสงบ และเวลามีงานนักขัตฤกษ์ของท้องถิ่นชาวเมืองปัตตานี จะนำเรือกอและเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ โดยนำมาจัดแข่งขันพายเรือ เพื่อชิงความเป็นหนึ่งในด้านความเร็ว 
              
               สมัยก่อนที่จังหวัดปัตตานีมีการแข่งขันเรือกอและในวันฮารีรายอ และวันรายอฮัจยี เป็นประจำทุกปี  ต่อมาความนิยมในการต่อเรือกอและขยายไปเกือบทุกจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเลนับ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณอำเภอหัวไทร เขตจังหวัดนครศรีธรรมราชเรื่อลงมายังอำเภอเทพาจังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ของจังหวัดปัตตานี ตลอดอีกหลายอำเภอในจังหวัดนราธิวาส 
           เรือกอแลเป็นเรือประมงที่ใช้ ในแถบจังหวัดภาคใต้ตอนล่างมีลักษณะเป็นเรือยาวที่ต่อ ด้วยไม้กระดานโดยทำให้ส่วนหัวและท้ายสูงขึ้นจากลำเรือให้ดูสวยงาม นิยมทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาดเป็นลายไทยหรือลายอินโดนีเซีย ซึ่งนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับลำเรือ เรือกอและมี ๒ แบบคือ แบบหัวสั้นและแบบหัวยาว ขนาดของเรือแบ่งเป็น ๔ ขนาด โดยยึดความยาวของลำเรือเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง คือ ขนาดใหญ่ยาว ๒๕ ศอก ขนาดกลางยาว ๒๒ ศอก ขนาดเล็กยาว ๒๐ ศอก และขนาดเล็กมากเรียกว่า "ลูกเรือกอและ" ยาว ๖ ศอกโดยประมาณ และด้านนอกซึ่งค่อนขึ้นไปทางขอบเรือ ทำเป็นขอบนูนออกมาข้างนอก ลักษณะเป็นกันชนของเรือยาวตลอดลำเรือเรียกว่า "ปาแปทูวอ" ที่ตอนล่างของปาแปทูวอทำรอยแซะเนื้อไม้ด้วยกบให้เป็นแนวยาวตลอดลำเรือเรียก ว่า "กอมา" เรือทั้งลำ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ลูแว" ส่วนท้ายเรียกว่า "บูเระแต" ถ้าแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ปาลอ" ส่วนกลาง (ลำเรือ) เรียกว่า "ตือเราะ" ส่วนท้ายเรียกว่า "ปูงง"


เรือยอกอง





เรือยอกอง คล้ายเรือกอและ เรือยอกอว หัวแหลม ท้ายป้าน ส่วนกอและหัวแหลม ท้ายแหลม หรือที่ชาวนราธิวาสเรียกว่า "คอฆอล" ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของคนท้องถิ่นในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเรียกตามลักษณะของเรือ เพราะมีขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่ ซึ่งมีความสวยงามมาก ถ้ายิ่งเรือที่ประกอบเสร็จใหม่ จะมีการทาสีตกแต่งลวดลายอันประณีตบรรจงอย่างสวยงามมาก ซึ่งในอดีตเรือตัวนี้จะมีการนำเรือยอกองมาใช้ในการประกอบอาชีพการทำประมงจน ถึงในปัจจุบันก็ยังมีอยู่ การแข่งขันเรือยอกองได้เริ่มมีการแข่งขันใน พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้หยุดไประยะหนึ่ง แล้วได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ได้มีการจัดการแข่งขันเรือยอกอง อย่างจริงจังขึ้น พร้อม ๆ กับการแข่งขันเรือกอและ และเรือยาว ซึ่งเรือทั้ง ๒ ประเภทนี้ได้จัดให้มีการแข่งขันมานานแล้ว และเรือยอกองยังได้เป็นเรือประเภทหนึ่งที่ได้ทำการแข่งขันหน้าพระที่นั่ง ซึ่งเรือที่ชนะจะได้รับรางวับถ้วยพระราชทาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น