.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรือไทย ตอน เรือขุด

ประเภทของเรือไทย

แบ่งตามฐานะ
คือเรือหลวงกับเรือราษฏร
เรือหลวง คือเรือที่ราษฎรไม่มีสิทธิ์นำมาใช้ ถือเป็นของสูง เช่น เรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งศรี เป็นต้น
ส่วนเรือราษฎรได้แก่เรือทั่วๆ ไปที่ใช้ตามแม่น้ำลำคลอง

แบ่งตามชนิด
คือเรือขุดและเรือต่อ
เรือขุด ได้แก่ เรือมาด เรือชะล่า เรือพายม้า  เรือแม่ปะหรือเรือหางแมงป่อง เรือเป็ดหรือเรืออีเป็ด  เรือเพรียว เรือโขมดยา เรือยาว เรือหมู เรืออีโปง เรือสัมปันนี เรือกุแหละ หรือเรือกุไหล่ หรือ เรือกอและ เรือพระที่นั่งกราบ เรือสามเกล้า
เรือต่อ ได้แก่ เรือพ่วง เรือกระแซง เรือเอี้ยมจุ้น เรือบด เรือสำปั้น เรือฉลอม เรือฉลอมท้ายญวน เรือหางยาว เรืออีแปะ เรือป๊าบหรือเรือแตะ เรือผีหลอก เรือจู๊ด เรือโอ่ เรือข้างกระดาน เรือตังเก เรือเท้ง เรือกำปั่น  เรือแท็กซี่ 
เรือแม่น้ำพวกหนึ่ง เรือทะเลพวกหนึ่ง
เรือแม่น้ำ ... คือเรือที่ใช้ไปมาในแม่น้ำลำคลอง เป็นเรือขุดหรือเรือต่อ ได้แก่
เรือมาด เรือเข็ม
เรือสำปันนี เรือเป็ด
เรือผีหลอก เรือเอี้ยมจุ๊น
เรือข้างกระดาน เรือกระแชง
เรือหมู เรือพายม้า
เรือม่วง เรือสำปั้น
เรืออีแปะ เรืออีโปง
เรือบด เรือป๊าบ
เรือชะล่า เรือยาว
เรือมังกุ ฯลฯ

เรือทะเล ... คือเรือที่ใช้ไปมาในทะเลและเลียบชายฝั่ง เป็นชนิดเรือต่อ ได้แก่
เรือฉลอม
เรือฉลอมท้ายญวน
เรือเป็ดทะเล
เรือกุแหละ หรือเรือกุไหล่ หรือ เรือกอและ
เรือโล้
เรือสำเภา
เรือปู เป็นต้น
แบ่งโดยกำลังที่ใช้แล่น
เช่น เรือพาย เรือกรรเชียง เรือแจว เรือโล้ เรือถ่อ เรือใบ

การสร้างเรือมี 2 ประเภทคือ

๑.เรือขุด เป็นเรือดั้งเดิมมาแต่โบราณ และมีหลายชาติ ที่นิยมใช้ไม้ซุงมาขุดเป็นเรือ
ในไทยใช้กันแพร่หลาย ทั้งในคู คลอง แก่งต่างๆที่มีโขดหิน เรือจะครูดไปตามพื้นดิน พื้นหินไม่แตกง่าย เพราะท้องเรือหนา ง่ายกว่าการต่อเรือ เพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากนัก
ใช้ไม้ซุงทั้งต้นนำมาขุดถากทำเป็นเรือ ส่วนมากเป็นไม้ตะเคียน ไม้เต็งรัง แต่ส่วนมากจะเป็นไม้ตะเคียน เพราะลำต้นใหญ่กว่าไม้อื่น โดยลอกเปลือกเว้นหัวท้ายข้าง ละ ๒ ศอกแล้วใช้ขวานขุดแซะ
เรือขุดได้แก่  อีโปง(เรือโปง ลุ่มโป ) เรือเป็ด เรือมาด เรือยาว เรือชะล่า เรือมอ เรือโกลน เรือสำปันนี เรือม่วง เรือเพรียว เรือสามเกล้า เรือแม่ปะ หรือเรือหางแมงป่องหรือหางแมลงป่อง

๒. เรือต่อ คือการนำแผ่นกระดานมาต่อเป็นรูปเรือ มี ส่วนประกอบ ต่างๆที่นำมาประกอบเป็นตัวเรือ มีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถ มีการสั่งช่างต่อเรือมาจากประเทศฮอลันดา เข้าใจว่าคงจะดำริต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่งสำหรับใช้ในราชการ ส่วนเรือสำเภาแบบจีนคงจะต่อได้อยู่แล้ว โดยช่างต่อเรือชาวจีน เป็นหัวหน้า

    เรือต่อ ซึ่งมีขั้นตอนการสร้างสลับซับซ้อนกว่าเรือขุด การต่อเรือนั้นจะใช้ไม้กระดานหลายแผ่นต่อประกอบเข้ากันเป็นรูปทรงเรือ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าได้รับแนวคิดและวิธีการมาจากการต่อเรือของประเทศฮอลันดา ส่วนประกอบของเรือต่อนั้น ประกอบด้วยกระดานกระดูกงู ซึ่งใช้ไม้หนากว่าแผ่นกระดานที่นำมาประกอบเป็นตัวเรือแล้วเสริมกระดานต่อจากกระดูกงูเรียงขึ้นไปตามลำดับ กระดานเหล่านี้จะยึดอยู่กับกง การยึดกระดานให้ติดกับกงนั้นเขาใช้ลูกประสัก ทำจากไม้แสมสาร ลักษณะเนื้อไม้แข็งมากมีสีดำ ส่วนแผ่นกระดานจะถูกดัดให้อ่อนและงอนขึ้นด้วยวิธีการลนไฟ
        
เรือต่อมีหลายขนาด ถ้าใช้ตามคลองที่มีขนาดเล็กก็ใช้เรือต่อขนาดเล็ก ถ้าต้องการบรรทุกของให้ได้มาก ๆ และล่องตามลำน้ำใหญ่ก็ใช้เรือต่อขนาดใหญ่ รูปร่างของเรือจะคล้าย ๆ กัน เพียงแต่มีขนาดเล็กหรือใหญ่เท่านั้น เรือต่อของไทยนอกจากจะได้อิทธิพลจากฮอลันดาแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากจีนด้วย โดยเฉพาะเรือขนาดเล็กที่ใช้ไปมาระหว่างเรือสำเภากับฝั่ง เรียกว่า “ซำปัง” ซึ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ดูจะเป็นเรือที่ไม่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น เรือต่อแบบซำปังกลับมาได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวที่ต้องการเรือเล็กและเบา สำหรับเจ้านายและท้าวนางฝ่ายใน ใช้พายเล่นในสระน้ำในพระราชอุทยานหลวง นับแต่นั้นความนิยมต่อเรือและใช้เรือต่อก็ได้แพร่หลายออกไป และมีเรือต่อชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นอีกหลายชนิด เช่น เรือสำปั้น เรืออีแปะ เรือป๊าบ เรือเข็ม เป็นต้น
เรือขุด

           สำหรับเรือขุดนั้นนิยมนำเอาไม้ซุงมาขุดเป็นเรือ ซึ่งใช้ขวาน มีด ซิ่ว โดยขุดไม้ซุงทั้งต้นจนกลายเป็นรำลางลึกพอประมาณ จากนั้นจึงใช้แกลบสุมไฟในรำลาง จนกระทั่งไฟกินเนื้อไม้กลายเป็นร่องลึก ขณะสุมแกลบท้องเรือได้ระยะพอดีแล้วจะนำน้ำมารดแกลบที่กำลังร้อนนั้น จะทำให้เนื้อไม้ที่ถูกความร้อนจากเปลวไฟเย็นลงอย่างรวดเร็วทำให้ปากเรือขยายออก จากนั้นจึงแต่งเกลาจนเป็นรูปทรงเรือที่ใช้งานได้ ลักษณะของเรือขุดนี้มีความคงทนแข็งแรงกว่าเรือต่อ เพราะมักขุดจากไม้ใหญ่ทั้งต้นอย่างเช่น ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้รัง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง ลอยน้ำได้และสามารถแช่อยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ไม่ผุง่าย การใช้งานจึงทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม ไม่แตกง่าย ทนต่อการชนหรือครูดไปตามท้องน้ำ ในบางครั้งเราอาจได้ยินชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นหรือกระบวนการในการขุดแต่งเรือแบบอื่น ๆ เช่น เรือโกลน หรือเรือมาด ซึ่งเป็นลักษณะของเรือต้นแบบที่ชาวบ้านใช้พายสัญจรบนท้องน้ำในระยะต่อมา

ชนิดของเรือ  :  เรือขุด



เรือชะล่า








 นับว่าเป็นต้นแบบของเรือขุดทั้งหลายที่ขุดจากไม้ซุงทั้งต้น ทำให้เป็นรูปเรือ โดยไม่ต้องเปิดปากเรือให้กว้าง ท้องเรือแบน ความกว้างของลำเรือเท่ากันเกือบตลอดลำ ไม่มีการตกแต่งมากเพียงแต่ปาดหัวปาดท้ายเรือไม่ให้ต้านน้ำมากเท่านั้น ส่วนบนของหัวท้ายเรือจะแบนเชิดขึ้นเล็กน้อยพอสวยงาม หากมีขนาดใหญ่มากจะใส่กงเรือ บางลำใช้แจวท้ายเรือ บางลำใช้ถ่อ แต่ยืนถ่อได้เฉพาะตอนหัวและท้ายเรือเท่านั้น เพราะในตัวลำเรือไม่มีที่เดิน เป็นเรือที่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกตามคลองตื้นๆ แคบๆ ลำเลียงเข้าบ้านหรือไปโรงสี เพราะท้องเรือแห้งสนิท ข้าวเปลือกไม่เปียกน้ำ และสามารถบรรทุกได้มาก

เรือมาด 





เป็นเรือเก่าแก่ชนิดหนึ่งของไทย ขุดจากซุงไม้สัก ตะเคียน ขนาดต่างๆกันตามประเภทของเรือ เมื่อขุดภายในและโกลน( เกลาไว้,ทำเป็นรูปเลาๆ)เป็นรูปมาด (ถ้าเพียงแต่ขุดไว้ แต่ยังไม่ได้เบิก เรียกว่ามาดเรือโกลน) ใช้ไฟลนให้เนื้อไม้ร้อนแล้วหงายใช้ปากกา( เครื่องสำหรับหนีบของใช้ทำด้วยไม้หรือเหล็กก็มี) จับปากเรือผายออกให้ได้วงสวยงามเป็นเรือท้องกลม หัวท้ายรีรูปร่างคล้ายเรือพายม้า แต่หัวท้ายเรือแบนกว้างกว่า ไม่เสริมกราบแต่มีขอบทาบปากเรือภายนอก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของปากเรือ กลางลำกว้างเสริมกง เป็นระยะ หัวท้ายเรือมีแอกสั้นๆ ไม่ยื่นมากไว้ผูกโยงเรือ และแอกเหยียบขึ้นลงเรือ มีหลายขนาด ขนาดเล็กใช้พาย ขนาดใหญ่นิยมแจวมากกว่าพาย ใช้บรรทุกของหนัก ถ้าเดินทางไกลก็มีประทุนปูพื้นกลางลำเรือ จะเรียกว่าเรือมาดประทุน หากมีเก๋งกลางลำเรือจะเรียกเรือมาดเก๋ง สามารถทำประทุนและปูพื้นใช้ อยู่อาศัยแทนบ้านเรือนได้

เรือมาดเก๋ง 4 แจวเคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และมีเรือมาดประทุน 4 แจวเป็นเรือเครื่องครัว ในบางคราวทรงใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประทับเรือมาดเป็นเรือพระที่นั่ง เสด็จกลับจากเมือง ฉะเชิงเทรา ตามคลองแสนแสบ ได้รับพระราชทานนามเรือว่า “เรือยอดไชยา” ได้ประทับแรมที่เมืองมีน (มีนบุรี) ก่อนเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ลักษณะของเรือเป็นเรือมาดขนาดเล็ก ซึ่งขุดจากซุงทั้งต้นแล้วนำมาใส่เก๋งกลางลำเรือ เป็นเรือสองแจวหัวและท้าย และยังเป็นเรือที่ข้าราชการใช้ในการเก็บภาษีและช่วยแหลือชาวบ้าน ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีใช้กันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะที่จังหวัดฉะเชิงเทรา


เรือยอดไชยา






เรือม่วง




เรือม่วงมีลักษณะคล้ายเรือขุดรูปคล้ายเรือมาดแต่ยาวกว่ารูปร่างเพรียวหัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยมใช้ในสมัยก่อนเรือม่วงที่พิพิธภัณฑ์บ้านแพรกเป็นเรือที่ใช้กันในสมัยรัชกาลที่5ทำด้วยไม้ต้นตะเคียน ใช้ในการเดินทางและเป็นที่นั่งของข้าราชการขั้นผู้ใหญ่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันหาดูยาก แต่ยังคงมีใช้กันอยู่แต่น้อยมา แต่ที่พืพิธภัณฑ์บ้านแพรก ตำบลสำพะเนียง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงมีอยู่จำนวนหลายลำ



เรือสามเกล้า หรือ เรือสามก้าว 





เป็นเรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายกับเรือมาด ท้องกลมกว้างไม่โคลง มีพื้นตลอดลำเรือ ด้านข้างเก๋งเป็นเฟี้ยมมีช่องหน้าต่างหัวเรือและท้ายเรือยาวยื่น แต่ไม่งอนมากพอสวยงามมีแจวหัวและท้าย ส่วนละสามแจว มีความยาว 12-15 เมตร






เรือพายม้า 




หรือ แพม้า พะม้า เป็นชื่อเรียกเรือขุดชนิดหนึ่งที่นิยมขุดจากซุงไม้สักหรือไม้ตะเคียน เป็นเรือท้องกลม หัว ท้ายเชิด ทางหัวจะยาวและต่ำกว่าทางท้ายเรือเล็กน้อย  ข้างเรือจะเสริมกราบให้สูงขึ้นด้วยไม้เพียงแผ่นเดียว มีขนาดกว้าง 3-5 นิ้ว มีกงตั้ง มีไม้หูกระต่ายติดขวางอยู่ที่หัวเรือและท้ายเรือ เพื่อรับกับกราบเรือ และเพื่อเสริมกราบเรือให้สูงขึ้น ตรงกลางลำป่องออก หัว ท้าย ปูแคร่เกือบเสมอกับปากเรือ ส่วนกลางลำปกติใช้บรรทุกสิ่งของ เรือพายม้าขนาดใหญ่จะมีขยาบหรือประทุนอยู่ตอนท้าย สำหรับพักอาศัย ใช้แจวในการเคลื่อนที่เรือ

ความเป็นมา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงนิพนธ์ว่า เรือขุดขนาดเล็กแบบนี้มีรูปร่างเหมือนกับเรื่อที่พบเห็นในเมืองพม่าจึงทรงสันนิษฐานว่า เรือพายม้าคงได้รับแบบอย่างจากพม่า และชื่อเรียกพายม้านั้น คงเพี้ยนมาจากชื่อเรียกเดิมคือเรือพม่า

ประโยชน์เรือพายม้า คือใช้บรรทุกสินค้า ผลผลิตการเกษตรจำนวนไม่มากนัก รวมทั้งบรรทุกคนโดยสารและใช้งานอื่น ๆ สำหรับในบ้านเรือนได้พื้นที่ที่พบเห็นการใช้เรือพายม้า กันอย่างกว้างขวางบริเวณลุ่มน้ำภาคกลาง ซึ่ง
จังหวัดพิจิตร มีแม่น้ำถึงสามสาย จึงพบเห็นเรือได้ทั่วไปบริเวณลำน้ำน่าน ลำน้ำยม และแม่น้ำพิจิตร





เรือชะล่า เรือมาดและเรือพายม้า ล้วนเป็นเรือขุด จึงเป็นเรือที่มีราคาแพง ทำให้ไม่เป็นที่นิยมที่จะใช้กันทุกบ้าน อีกทั้งลำเรือค่อนข้างใหญ่ แม้แต่เรือมาดขนาดเล็กเป็นเรือมาดพายก็ตามที ด้วยรูปทรงของเรือยังนับว่า เป็นเรือที่ยาวกว่าลำเรืออีกหลายประเภท บ้านเรือนที่มีเรือมาด เรือพายม้า ก็มักจะมีเรือลำอื่นๆใช้งานประจำวันอีกด้วย เช่นมีเรือสำปั้น เรือป๊าบ เรือบด เรือเป็ด เรืออีแปะ เป็นต้น เรือมาดและเรือพายม้า มักใช้ในการขนข้าวเปลือกเวลาไปตวงค่าเช่านากันเป็นส่วนใหญ่ หรือใช้ติดเครื่องยนต์ท้ายเรือไปทำธุระไกลๆ


เรือหมู 




เป็นเรือขุด เสริมกาบเรือ ทำจากไม้เนื้อแข็ง หัวเรือยาวเรียวคอดตรงกลางแล้งปลายกว้างขึ้นอีกเล็กน้อยมีมุมยอดแหลม ท้องเรือกว้างจึงไม่โครงมากนักเวลาพายออกท้องน้ำ เรือหมูลักษณะคล้ายเรือพายม้า แต่หัวจะเรียวเล็กกว่า เรือพายม้ามาก  ชาวบ้านส่วนใหญ่ในจังหวัดพิจิตรจึงนิยมใช้ในการทำประมง และการสัญจรทางน้ำ โดยรวมแล้วอาจดูคล้ายกับเรือพายม้า แต่เรือหมูจะมีขนาดลำย่อมกว่า ใช้ได้ทั้งพายและถ่อ ใช้โดยสารระยะใกล้ หรือใช้หาปลาตามทุ่งท้องนาด้วยการลงเบ็ดลงข่าย พอพบเห็นได้บ้าง


เรือยาว 






นับเป็นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ใช้ตามงานประเพณีต่างๆ เป็นเรือขุดที่มีหลักการมากกว่าเรือขุดอื่นๆ ทั้งยุ่งยากในเรื่องของพิธีกรรม ต้องใช้คนมาก การขุดเรือต้องทำตามบริเวณวัด ขุดจากไม้ต้นเดียวตลอดลำ เรียกว่าลำเรือ มีลักษณะท้องขัน (แบน)และท้องรูปกระทะ ส่วนหัวเรือเรียกโขนเรือ ท้ายเรือเรียกหางเรือ ไม้ที่นำมาขุดเรือยาว หรือเรือแข่งได้แก่ ไม้ตะเคียน ไม้สำโรง ไม้มะหาด เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่นิยมเรือขุดจากไม้ตะเคียน ได้แก่ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนหนู ตะเคียนหยวก ตะเคียนดง ตะเคียนไพร เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง ลอยน้ำได้ดี พุ่งน้ำด้วยดี แช่น้ำได้นาน เมื่อขุดเป็นเรือ ถ้ารักษาดีดี ทนทานนับร้อยปี 

การขุดเรือยาวสำหรับใช้ในการแข่งขันทำให้ได้ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านรวมกับความเชื่อด้านไสยาศาสตร์ควบคู่กัน เริ่มตั้งแต่ความเชื่อของต้นไม้ที่จะนำมาขุดเป็นเรือ คือต้นตะเคียนที่เชื่อกันมาตั้งแต่โบราณว่ามีนางไม้หรือนางตะเคียนสิงอยู่ เมื่อนำมาขุดเป็นเรือยาวก็จะเชิญนางไม้มาเป็นแม่ย่านางเรือ เชื่อกันว่าจะนำชัยชนะและความสำเร็จมาให้ อีกทั้งต้นตะเคียนทองจะมีนางไม้ที่มีวิญญาณที่แกร่งกล้า มีความเฮี้ยนกว่านางไม้ตะเคียนอื่น ๆ นอกเหนือไปจากคุณสมบัติของเนื้อไม้ที่ออกสีเหลือง เมื่อขุดเป็นเรือเสร็จตัวเรือจะมีสีผิวไม้สวยงาม จึงนิยมใช้ตะเคียนทองมากกว่าตะเคียนอื่นๆ

การเลือกต้นตะเคียนที่จะโค่นมาขุดเรือต้องเลือกให้ได้ลักษณะงามตามตำราขุดเรือ มีขนาดกว้างและความยาวเหมาะสม ต้องคำนึงถึงการโค่นต้นไม้ลงมาด้วยว่าจะสามารถนำมาขุดเรือตามวัตถุประสงค์ได้หรือไม่ ทิศทางในการล้มของต้นไม้ต้องไม่ล้มฟาดสิ่งอื่นในป่าทำให้ไม้ตะเคียนอาจหักหรือไส้ไม้ช้ำน่วมเสียหายได้ จึงต้องมีการคำนวณความสูงยาวของต้นไม้โดย อาศัยหลักคำนวณตรีโกณ คณิตศาสตร์ ด้วยการยืนหันหลังให้ต้นตะเคียน แล้วก้มลงมองลอดหว่างขาตัวเอง ศีรษะก้มอยู่ในระดับเข่า ถ้ามองเห็นยอดตะเคียนพอดี ก็วัดระยะทางจากจุดยืนถึงโคนต้นก็จะได้ความสูงของต้นตะเคียนพอดี บางครั้งใช้การปีนขึ้นต้นไม้แล้วใช้เชือกวัด หรือใช้เชือกผูกติดหน้าไม้ยิงไปที่ส่วนปลายของยอดไม้แล้วจึงวัดคำนวณความยาว หรือใช้วิธีปล่อยลูกโป่งอัดลมลายถึงกิ่งยอดตะเคียนแล้วจึงดึงลงมาหาความยาวของต้นไม้ นี่นับว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่น่าทึ่งมาก

การโค่นต้นตะเคียนจากความเชื่อว่ามีนางไม้หรือนางตะเคียนสิงอยู่ ทำให้ก่อนโค่นต้องตั้งศาลเพียงตา 2 ศาล พร้อมเครื่องสังเวย อาทิ หัวหมู ไก่ ไข่ต้ม ขนมต้มแดง ต้มขาว เหล้าขาว หมากพลู บุหรี่ บายศรี 2 ที่ เพื่อขอขมาบอกกล่าวเจ้าป่าเจ้าเขา ขออนุญาตทำการโค่นต้นไม้ในป่า ซึ่งนิยมเซ่นไหว้ได้แต่เช้าจรดเย็นยกเว้นวันพระ ศาลที่ 2 เป็นการบอกกล่าวนางตะเคียนโดยงดเหล้า บุหรี่ ควรเพิ่มเครื่องตกแต่งผู้หญิง เช่น หวี แป้ง ผ้าแพร น้ำอบ น้ำหอม เป็นต้น ไม่ควรเซ่นไหว้เกินเที่ยงวัน เมื่อพลีกรรมแล้วจึงทำการตัดโค่น
                  ต้นตะเคียนที่นำมาขุดเรือ ต้องเป็นไม้ที่ไม่ได้ตีตราไม้ตามระเบียบราชการ เชื่อกันว่าไม้ต้นใดตีตราแล้วแม่ย่านางจะไม่มาอยู่ ช่างขุดเรือต้องพิจารณาว่าจะเอาส่วนไหนทำท้องเรือ หัวเรือ หางเรือ นิยมใช้โคนของต้นไม้เป็นหัวเรือ ปลายไม้เป็นส่วนท้ายเรือ จะได้เรือรูปทรงกว้าง ท้ายเรียวรูปร่างคล้ายปลาช่อน เพราะเชื่อว่าหัวเรือกว้างจะเบิกน้ำได้ดีทำให้เรือวิ่งได้เร็ว ถ้าใช้ปลายไม้เป็นหัวเรือเรือจะมีลักษณะหัวเรียวท้ายใหญ่
                 ก่อนขุดลำเรือจะตั้งศาลเพียงตาอัญเชิญนางไม้ขึ้นศาลฯ เมื่อขุดเรียบร้อยแล้วจะเชิญขึ้นเป็นแม่ย่านางประจำเรือ แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการขุดเรือ เมื่อสำเร็จเป็นลำเรือแล้วจะมีการตั้งชื่อเรือตามความนิยมหรือความเชื่อของเจ้าของเรือ ครั้งโบราณนิยมเชิญแม่ย่านางประทับทรงเพื่อขอให้ตั้งชื่อให้รวมทั้งถามถึงอาหาร เครื่องแต่งกายและสีเสื้อ ผ้าแพรประดับโขนเรือให้ถูกโฉลกกับแม่ย่านางเรือ เพื่อเป็นมงคลแก่ทีมเรือให้ประสบชัยชนะในการแข่งขัน เมื่อจะนำเรือลงน้ำ
                  พิธีนำเรือลงน้ำ โดยการตั้งศาลเพียงตาบวงสรวงเชิญแม่ย่านางเรือ โขนเรือจะตกแต่งด้วยผ้าแพรสีสันสวยงามตามที่ถามไว้ พิธีเบิกเนตร (ตาเรือ) บางครั้งอาจมีพิธีสงฆ์ทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลและรำถวายรับขวัญแม่ย่านางเรือ ครั้นได้ฤกษ์ฝีพายก็ช่วยกันโห่สามครั้งยกเรือลงน้ำทันที ฝีพายก็จะนั่งประจำเรือและทดสอบพายเรือ 


เรืออีโปง 


เรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ วา ทำจากโคนต้นตาล ผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออก และปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่า หัวเรือ.เรือโปง ลุ่มโปง พิเศษกว่าเรือขุดอื่นๆ เพราะทำจากต้นตาลผ่าซีกเป็น ๒ ซีกใช้แกลบสุมไว้จนเหลือแต่เปลือกนอก แล้วเลื่อยกระดานปิดท้ายยาด้วยชัน พายในบริเวณน้ำตื้น หรือระหว่างบ้านใกล้เรือนเคียง บรรทุกของหนักไม่ได้ อายุการใช้งานสั้น ถือเป็นเรือพื้นบ้านอย่างแท้จริง และก็พบ ว่ามีเรือโปงไม้สักบ้าง


เรือเป็ดหรือเรืออีเป็ด




เรือเป็ด มีทั้งเรือขุดและเรือต่อ หัวท้ายแบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี ตรงกลางป่อง เรืออีเป็ด ก็เรียก ขุดเบิกส่วนท้องเรือให้กว้างผายออก เสริมกระดานขึ้นทั้งซ้ายและขวา เพื่อให้ขนาดใหญ่ขึ้น หัวเรือแบนคล้ายปากเป็ด แบ่งเป็นเรือเป็ดทะเล เรือเป็ดน้ำจืด เรือเป็ดทะเลใช้ใบแขวนขนาดใหญ่สองเสา บางลำมีประทุนแล่นได้เร็ว หัว ท้ายสูงกว่าเรือเป็ดน้ำจืด  เรือเป็ดสามารถแล่นเลียดใบ (แล่นก้าวให้เรือเฉียงลม) ได้ดีกว่าเรือทั่วไป เรือเป็ดมีประทุนหลังคาครอบกลางลำเรือเหมือนเรือฉลอม และมีขยาบคลุมท้ายเรือเหมือนกัน ใช้แจวตั้งแต่สี่คนขึ้นไป 

เรือหางแมงป่องหรือเรือแม่ปะ


เรือหางแมงป่อง เป็นเรือของจังหวัดเชียงใหม่ สันนิษฐานว่า เรือหางแมงป่องมีใช้ในสมัยพระนางจามเทวี แห่งกรุงหริภุญชัย เกิดขึ้นจากจินตนาการของสล่าทำเรือในสมัยก่อน ที่บังเอิญไปเจอกาบมะพร้าวลอยอยู่เหนือน้ำในฤดูน้ำหลาก และบนกาบมะพร้าวมีพวก มด หนอน แมลง และ แมงป่อง อาศัยอยู่ แล้วแมงป่องชี้หางไปบนฟ้า ซึ่งดูแล้วเหมือนโครงสร้างของเรือ

เรือหางแมงป่องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเชียงใหม่ เพราะแม่น้ำปิงมีเกาะแก่งมากในหน้าแล้งเนื่องจากเรือหางแมงป่องทำจากไม้สักและสามารถลอยน้ำได้ดีกว่าเรือบางอื่น นอกจากนั้นยังแข็งแรง เวลาที่ถูกเกาะแก่งเรือก็ไม่แตก

ไม้สักที่ใช้ในการทำเรือหางแมงป่องนั้นจะต้องมีขนาด 20 คนโอบ ซี่งขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ถึง 8 เมตร เพราะในพื้นที่ภาคเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้สักซี่งไม้ประเภทนี้มีน้ำหนักเบา และสามารถลอยน้ำได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ไม่บิดไม่งอ จึงทำให้การใช้ไม้สักขุดทำเรือนิยมแพร่หลายในสมัยนั้น อีกทั้งไม้สักยังใช้ในการขุดทำเรืออื่นๆ ด้วย



ในยุคต้น เรือหางแมงป่องใช้เป็นเรือที่เจ้านายฝ่ายเหนือใช้ ยุคทองของเรือหางแมงป่องอยู่ในรัชสมัยของเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ลำดับที่ 7 ซึ่งเป็นพระบิดาของเจ้าดารารัศมี ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงทูลขอเจ้าดารารัศมีไปเป็นชายา พระองค์ทรงสร้างเรือหางแมงป่องขึ้นเพื่อให้เจ้าดารารัศมีเสด็จไปยังพระนคร แต่ยุคหลังเรือหางแมงป่องใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 เดือน ถึง 9 เดือน

การสร้างเรือหางแมงป่องยุคหลังต้องหยุดชะงักลง เพราะไม้สักขนาดใหญ่หาได้ยาก เนื่องจากมีการตัดไม้ ค้าไม้ พอนำไปขายยังกรุงเทพฯ และตั้งแต่มีการสร้างทางรถไฟเข้าสู่เมืองเชียงใหม่และการทำเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก จึงทำให้เรือหางแมงป่องหายจากน่านน้ำแม่ปิง

จนกระทั่งในปัจจุบัน เรือในตำนานก็ได้กลับฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง เมื่อปี 2544 ได้มีการฟื้นฟูเรือหางแม่ป่องขึ้นมา ปัจจุบันเรือหางแมงป่องได้ถูกนำมาใช้เป็นเรือนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์และประวัติศาสตร์ท่องล่องแม่น้ำปิง

           เรือเสด็จประพาสต้น เป็นเรือที่ข้าราชบริพารและประชาชนได้ร่วมกันจัดสร้างเรือหางแมลงป่อง หรือเรือแม่ปะและตกแต่งเรือโดยมีเก๋งเรือ 2 ตอน คือตอนกลางจะเป็นที่อยู่อาศัย และตอนท้ายจะเป็นที่เก็บสัมภาระ สร้างขึ้นเพื่อถวายให้แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ โดยใช้เป็นเรือพระที่นั่ง เสด็จประพาสทอดพระเนตรกิจการบ้านเมือง ตามเมืองใหญ่น้อย ในพระราชอาณาเขตทั่วทุกเมืองไม่มีเว้น ในราวปี พ.ศ. 2449 เรือเสด็จประพาสต้นลำนี้ ได้รับพระราชทานนามเรือว่า  
 “เรือสุวรรณวิจิก”

เรือสุวรรณวิจิก


เรือแตงโม


 คล้ายเรือกุแหละ เรือแตงโม เป็นเรือกราบ อยู่ในริ้วกลางหรือริ้วที่ ๓ มีปี่ชวาและกลองแขกสำหรับบรรเลงลำละ ๖ นาย อยู่บริเวณกลางกระบวนข้างหน้าเรือพระที่นั่ง เป็นเรือสำหรับผู้บัญชาการกระบวนเรือ กว้าง ๑.๙๑ เมตร ยาว ๒๔.๐๐ เมตร ลึก ๐.๖๒ เมตร ฝีพาย ๒๘ นาย นายท้าย ๒ นาย

เรือกัญญา 

คือเรือโถงมีกัญญา กัญญาหมายถึง เครื่องบังแดดรูปหลังคา มักทำด้วยกระแชงอ่อน ใช้เสา ตั้งกลางลำเรือ หัวท้ายมีเชือกรั้งไม่ให้ล้ม เรือหลวงที่จัดตั้งเก๋งประกอบหลังคาทรงกัญญา ใช้เป็นเรือประทับแรม หรือเรือพระประเทียบ.

เรือแหวด




 เป็นเรือแจวมีเก๋ง รูปยาวๆ ท้ายโต และสูง เรือชนิดนี้ว่ากันว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้แปลงมาจากเรือ “แหว” ของญวน เป็นเรือต่อด้วยไม้สัก ท้องกลมมีทวนหัวและทวนท้าย ทวนหัวใช้แท่งไม้ตั้งตรง สูงขึ้นไปแกะสลัก เป็นลายแบบฝรั่ง คล้ายเรือต่างชาติ บางลำมีเก๋งกลางลำ มีแจวหัว 3 แจว แจวท้าย 3แจว มีความยาวตลอดลำเรือ ประมาณ 12 -15 เมตร ใช้สำหรับขุนนางออกตรวจราชการ

เรือมอ



 เรือมอเป็นเรือที่ต่อด้วยไม้ตะเคียนหรอืไม้สัก ท้องกลม มีแท่งทวนหัว แผ่นทวนท้ายมีหลังคา ส่วนท้ายเรือคล้ายเรือกระแซง แต่เพรียวกว่าเล็กน้อย มีความยาวตลอดลำเรือประมาณ 15-15 เมตร เป็นเรือที่เคยใช้ในภาคกลาง สำหรับบรรทุกแกลบหรือฟืน

เรือกะแป้น 
เรือแม่ปะขนาดย่อม ใช้กันอยู่ในภาค เหนือเช่นเดียวกัน

เรือสำปันนี
 เรือขุดชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่าง เรือมาดแต่เพรียวกว่า หัวและท้ายแบนโตเรี่ยน้ำ

เรือพลู 
เหมือนเรือหมู แต่ใหญ่กว่า

เรือกุแหละ
 เรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูงมี ๒ แจว ใช้ ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สำหรับบรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น

เรือแคร่นอกปาก
 รูปเป็นเรือกุแหละขนาดใหญ่ แต่เติมแคร่หรือราโทข้างเรือเพื่อให้มีทางเดินได้


เรือเหนือ 
เรือบรรทุกวัวของพวกแขกอินเดีย (ทมิฬ) เดิมเป็นเรือบรรทุกสินค้าทางเมืองเหนือ


หมายเหตุ เรือบางชนิดหาภาพไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น