.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การ์ตูนเล่มละบาท

การ์ตูนเล่มละบาท






สมัยก่อนนั้นหนังสือค่อนข้างมีราคาแพงมาก เพราะต้นทุนการทำหนังสือค่อนข้างสูง ไหนจะเป็นค่าคนเขียน ค่าตีพิมพ์ ค่าพัสดุกระดาษพิมพ์ ไปจนถึงค่าขนส่ง  เรียกได้ว่าคนที่ซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ จะต้องมีฐานะพอสมควร

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหนังสือการ์ตูนไทยสมัยก่อนจะมีราคาแพง แต่เนื่องด้วยสำนักพิมพ์ต่างๆ เริ่มผุดมาหลายเจ้า ประกอบกับอัตราการเกิดประชากรมากขึ้น ซึ่งหมายถึงคนอ่านการ์ตูนมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันสูง จนทำให้สำนักพิมพ์เริ่มทำหนังสือการ์ตูนที่ลดต้นทุนเพื่อให้ถูกลง จนเป็นที่มาของการ์ตูน “เล่มละบาท”

"การ์ตูนเล่มละบาท" โดยเริ่มเกิดขึนครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์สากล ต่อมาหลายสำนักพิมพ์ก็ทำตามออกมา สำนักพิมพ์สุภา, บางกอกสาส์น, สำนักพิมพ์สามดาว เป็นต้น นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่การ์ตูนทำหน้าที่เพื่อต่อผ่านไปยังการ์ตูนยุคต่อมา แม้กระนั้นนักเขียนการ์ตูนยุคนั้นก็ฝากฝีมือไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมหลายท่านด้วยก้น เช่น นักรบ รุ่งแก้ว, รุ่ง เจ้าเก่า, ชายชล ชีวิน, แมวเหมียว, ราตรี, น้อย ดาวพระศุกร์, ดาวเหนือ, เพลิน, เทพบุตร, มารุต เสกสิทธิ์, นอม เป็นต้น โดยบางครั้งก็ได้นักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงในยุคก่อนหน้านั้นช่วยเขียนปกให้ เพื่อเสริมคุณภาพขึ้นอีกระดับหนึ่ง เช่น จุก เบี้ยวสกุล เป็นเหตุทำให้การ์ตูนเล่มละบาท ได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากในยุคหนึ่ง จนสามารถทำให้คำว่า"การ์ตูนเล่มละบาท" กลายเป็นตำนาน เป็นชื่อเฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ ที่เรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นสไตล์การ์ตูนที่มีลักษณะเฉพาะสำนักพิมพ์ที่เป็นแหล่งรวมของนักเขียนการ์ตูน มีมากมาย เช่น บางกอกสาส์น, ชนะชัย การ์ตูนเล่มละบาทนี้เป็นที่ฝึกฝนฝีมือของนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ นักเรียนศิลปะที่ต้องการหารายได้ในระหว่างเรียนหนังสือ ปัจจุบันหลายท่านกลายเป็นนักเขียนการ์ตูนคุณภาพระดับแนวหน้าของเมืองไทยแนวเรื่องของการ์ตุนเล่มละบาท มีทั้งเรื่องชีวิต, เรื่องผี, เรื่องตลก, นิทาน, เซ็กซ์ โดยเฉพาะเรื่อง "ผี" เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างมากของผู้อ่าน เป็นความตื่นเต้นแบบง่ายๆ ที่ใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด



สมัยก่อนนั้นเงินหนึ่งบาท ถือว่ามีค่าพอดู เพราะหนึ่งบาทสามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวชามใหญ่ๆ กินแล้วอิ่มได้หนึ่งมือ ดังนั้นการ์ตูนเล่มละบาทจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เลวมากนัก หากต้องการบันเทิงที่จับต้องได้
หนังสือการ์ตูนไทยเล่มละบาทนั้น จะมีขนาดรูปเล่ม 13X19 เซนติเมตร โดยประมาณ และมีจำนวน 16-24 หน้า (หรือนานๆ ครั้งก็เป็น 32 หน้า) โดยสำนักพิมพ์ “บางกอกสาสน์” เป็นสำนักพิมพ์ที่สร้างรายได้ธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้สักนักพิมพ์อื่นๆ ก็ทำแบบนี้บ้าง จนการ์ตูนประเภทนี้ล้นตลาด เพราะยอดตีพิมพ์ในแต่ละเดือนสูงถึงล้านเล่มทีเดียว

การ์ตูนไทยสมัยแรกๆ นั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากคอมมิคสื่อตะวันตกมากกว่า ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นในลักษณะนิยายภาพ กล่าวคือไม่ได้มีลูกเล่นแบ่งช่องมากมายเหมือนการ์ตูนญี่ปุ่น และทุกหน้าเต็มไปด้วยบทสนทนาอันยืนยาว
ลายเส้นของการ์ตูนเล่มละบาทนั้น จะเป็นลายเส้นหมึกดำ หนาๆ ขาว ดำ ไม่มีเทา ไม่มีการติดสกรีนโทน  ใบหน้าตัวละครจริงจัง (ไม่โมเอะ” ตัวพระเอกและนางเอกเหมือนพระเอกสมัยภาพยนตร์สมัยก่อนๆ (ทรงผมเชยๆ หน้าตาพระเอกไทยๆ) แถมหน้าตาก็คล้ายๆ กันจนแยกไม่ค่อยออก

การวาดการ์ตูนเล่มละบาท ส่วนใหญ่คนแต่งเล่มละบาทจะแต่งเรื่อง เขียนเอง ไปจนถึงบรรยายคำพูดเองเสร็จสรรพ แต่ละหน้าส่วนใหญ่จะตีช่อง 2x2 เท่าๆ กัน (ช่องสีเหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง) และการวาดใช้หมึกดำ ลายเส้นเข้มแบบไทยๆ  ภาพยนตร์ไทยสมัยก่อน
สำหรับเนื้อหาของการ์ตูนเล่มละบาทที่มีเนื้อหาสยองขวัญนั้นไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากนัก เนื้อหามีจำนวนหน้าจำกัด บวกกับการสร้างเรื่องที่เข้าถึงคนไทยสมัยนั้น ทำให้เนื้อหาส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กันคือ “การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ตามคำสอนของศาสนาพุทธ พล็อตวนเวียน ฆ่าคนแล้วผีจะออกมาหักคอเพื่อแก้แค้น การเป็นชู้และการฆ่าสัตว์จะได้รับผลกรรมคือความตาย โดยไม่มีการหักมุมอะไรมากนัก (เดาเนื้อเรื่องง่าย)  ส่วนใหญ่เนื้อหาจะเป็นตัวละครหลักที่เป็นผู้ใหญ่ สถานที่เกิดเป็นบ้านนอก มากกว่าในเมือง ซึ่งแนวผีนั้นมีมากกว่าแนวอื่นๆ  
จุดเด่นของการ์ตูนเล่มละบาทก็คือหน้าปก ภาพค่องข้างสวย แม้ว่าจะเป็นภาพผีปีศาจที่แหวะ และดูรุนแรง ไม่ก็ภาพหญิง
น่าแปลกดีว่า ทำไมพล็อตซ้ำๆ ซากๆ ถึงได้รับความนิยมมากนัก จนบัดนี้พล็อต ผีหักคอ เรื่องรักๆ คนกับผี ชู้ผี รับกรรม ยังคงมีให้เห็นปัจจุบัน บางอาจเป็นเพราะเป็นพล็อตที่ย่อยง่าย  อ่านง่าย ใกล้ตัว ละมั้ง
ยุครุ่งเรื่องของนิยายเล่มละบาทนั้น ยาวนานกว่า 20-30 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520) สร้างรายได้แก่สำนักพิมพ์มาก เพราะตีพิมพ์ได้เป็นล้านเล่ม และต้นทุนถูก แต่อย่างไรก็ตาม การ์ตูนเล่มละบาทก็ถึงคราวเสื่อมถอย สิ้นสุดลง  อันเนื่องจากการเข้ามาของการ์ตูนมังงะของญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาการ์ตูนที่เด็กๆ ชอบแนวฮีโร่แปลงร่างสู้กับสัตว์ประหลาด ชอบอุลตร้าแมน แต่การ์ตูนเล่มละบาทไทยไม่มีแนวพวกนี้เลยไม่น่าสนใจ การแบ่งช่องก็น่าเบื่อ หน้าหนึ่งแบ่ง 4 ช่องเท่าๆ กัน ไม่มีลูกเล่นอะไรเลย แถมมีแต่คำบรรยายเยอะ เด็กขี้เกียจอ่าน ชอบฉากต่อสู้เพียงๆ คำบรรยายน้อยมากกว่า   ทำให้เด็กๆ ออกห่างจากการ์ตูนเล่มละบาทไปกระทั่งช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ต้องปรับราคาขายเป็นเล่มละ 5 บาท ทำให้ยอดขายแต่ละปกดิ่งลงจากเดิมเกือบเท่าตัว

 

1 ความคิดเห็น:

  1. จำนามปากาแมวเหมียวได้ค่ะ สนุกมาก ต้องซื้อขนมโรตีสายไหม แล้วหมุนลูกศร มีรางวัลให้เลือก มักจะเลือกเอาการ์ตูนเล้มละบาทของนักเขียนแมวเหมียว ระลึกถึงเสมอ

    ตอบลบ