.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ที่มาชื่อจังหวัดภาคตะวันตก

ที่มาชื่อจังหวัดภาคตะวันตก



กาญจนบุรี

ในสมัย สุโขทัย พบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ ในพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี  จากหลักฐานทางเอกสารที่ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า "กาญจนบุรีเป็นเมืองพญากง พระราชทานบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทองหรือสุวรรณภูมิ  สันนิษฐานว่าพญากงสร้างขึ้นราว พ.ศ.1350" ต่อมาในสมัยอยุธยา กาญจนบุรี มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ โดยตัวเมือง ตั้งอยู่ ที่บ้านท่าเสา ต.ลาดหญ้า ใกล้เขาชนไก่ และ ยังปรากฏ หลักฐาน เป็นซากโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ดังที่เห็นในปัจจุบัน


ตาก

ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ย้ายตัวเมืองตาก จากฝั่งขวาของแม่น้ำปิง มายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลล้านระแหง จนกระทั่งทุกวันนี้
   เดิมที ชุมชน ตาก ในอดีต คงเป็นเมืองที่ชาวมอญ สร้างขึ้น และเป็นราชธานีของแคว้นแถบตอนเหนือ ที่มีกษัตริย์ปกครอง ต่อเนื่องกันมาหลายพระองค์ ในรัชสมัย พระเจ้าสักดำ ราวปี พ.ศ.560 เมืองตาก เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ มีอาณาเขตแผ่ไปไกล จนจดทะเลอันดามัน และมีการติดต่อค้าขาย กับเมือง อินเดีย ด้วย ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิส อพยพโยกย้ายผู้คน ไปสร้างราชธานีใหม่ ขึ้นที่ เมืองละโว้ ทางตอนใต้ของ เมืองตาก ทิ้งให้ ตาก กลายเป็นเมืองร้าง อยู่หลายร้อยปี

จนราวปี พ.ศ.1310 - 1311 พระนางจามเทวีวงศ์ พระราชธิดา ในกษัตริย์ เมืองละโว้ เสด็จตามลุ่มน้ำปิง ผ่าน เมืองตาก เพื่อไปปกครอง แคว้น หริภุญไชย หรือ ลำพูน ในปัจจุบัน ทรงพบร่องรอยกำแพงเก่า ตามริมฝั่งแม่น้ำ จึงโปรดฯ ให้สร้างเมืองแห่งนี้ขึ้นเป็นบ้านเมืองใหม่ เรียกกันว่า "บ้านตาก" ด้วยมีเรื่องเล่าว่า เป็นสถานที่ ที่พี่เลี้ยงของพระนาง ตากผ้า และสิ่งของที่เปียกชุ่ม ขณะเดินทางมาตามลำน้ำ

หลังจาก พ่อขุนรามคำแหง ชนช้างชนะ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในปี พ.ศ.1781 แล้ว พระองค์ได้ยกทัพผ่านลงมาทาง แหลมมลายู ปราบเมืองใหญ่น้อย ที่เคยเป็นอาณาจักร ทวารวดี และ ศรีวิชัย รวมเข้าเป็น อาณาจักร สุโขทัย เป็นผลให้มีการเปิดเส้นทางค้าขาย ทางบก ไปยังเมือง เมาะตะมะ ของ มอญ ซึ่งเป็นเมืองท่า ผ่านสินค้าต่อไปยัง อินเดีย เปอร์เซีย และ อาระเบีย โดยพ่อค้าไทย มักนำเครื่อง สังคโลก จาก สุโขทัย ผ่านแม่สอด ไปยัง เมาะตะมะ เพื่อส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ โดยทางเรือ ขณะเดียวกัน ก็นำสินค้าจากเมือง เมาะตะมะ และประเทศ ทางตะวันตก กลับมาขายด้วย

สมัย อยุธยา บ้านตาก เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ สำหรับป้องกันกองทัพ พม่า ที่ยกทัพเข้ามาทางด่าน แม่ละเมา มีแม่ทัพ นายกอง และไพร่พล จาก กรุงศรีอยุธยา มาประจำการ และยังเป็นที่ชุมนุมไพร่พล ทหารกล้า สำหรับการเดินทัพครั้งสำคัญ เพื่อเข้าตีเมือง เชียงใหม่ อีกหลายครั้ง ในสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ช่วงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นประเทศราช ขึ้นกับ พม่า สมัย พระเจ้าหงสาวดี ได้ย้ายเมือง จาก บ้านตาก ลงมาทางใต้ ประมาณ 25 กม. เรียกว่า "เมืองตากระแหง" ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตก ด้วยเหตุที่การ คมนาคมติดต่อ ระหว่างเมืองนี้ กับเมือง มอญ ใกล้กว่าที่เก่า

ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 เมือง ตากระแหง ถูก พม่า ตีแตก ผู้คนหนีไป บ้านเมืองร้าง จนถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ ได้รวบรวมชาว เมืองตาก เดิม ที่ บ้านตาก และ เมืองตากระแหง มาตั้งเมืองใหม่ โดยย้ายเมือง มาอยู่ฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำปิง เพื่อให้ ลำน้ำ เป็นปราการธรรมชาติ ที่ช่วยกั้นทัพ พม่า เมื่อ พม่า เป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ บ้านเมืองสงบ ปลอดศึกสงคราม ตาก เริ่มมีการค้าขาย กับ พม่า และเมืองทาง ภาคเหนือ โดยอาศัยลำน้ำปิง เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ชุมชนจึงขยายตัว ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ตาก ก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้า ทางเรือ ระหว่าง เชียงใหม่ นครสวรรค์ และ กรุงเทพฯ

ราชบุรี

        จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง ” เมืองพระราชาราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่ม แม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็น ถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ ใน บริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุง ศรีอยุธยา ตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมือง หน้าด่านที่สำคัญ และ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขต ราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ
     ต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทาง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมือง สมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน


เพชรบุรี

 พชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มีหลักฐานชื่อเรียกปรากฏในหนังสือชาวต่างประเทศ เช่น ชาวฮอลันดาเรียกว่า “พิพรีย์” ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า “พิพพีล์” และ “ฟิฟรี” จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ “เมืองพริบพรี” ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดพริบพลี ที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด และที่วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งเสาชิงช้าอีกด้วย ที่มาของชื่อมีที่มาได้ 2ทาง คือเป็นการเรียกตามชื่อแม่น้ำเพชรบุรี ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นการเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลากลางคืนที่เขาแด่น ทำให้คนเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้น 
และจากหลักฐานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปรากฏชื่อว่า ศรีชัยวัชรปุระ




ประจวบคีรีขันธ์


จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า
ครั้นสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อจาก “เมืองกุย” เป็น “เมืองประจวบคีรีขันธ์” โดยรวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ เมืองบางนางรม เข้าด้วยกัน โดยที่ตั้งเมืองยังคงตั้งอยู่ที่เมืองกุย คืออำเภอกุยบุรี ในปัจจุบัน เพื่อให้ชื่อคล้องจองกันกับระหว่างเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับ"เมืองประจันตคีรีเขต" ซึ่งเดิมคือเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราด
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2441 จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชั้นจัตวาซึ่งขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี จึงมีสถานะเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สังกัดเมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรี ซึ่งมีอาณาเขตติดอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ด้านทิศเหนือ ซึ่งเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา ขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี สังกัดเมืองเพชรบุรีด้วยส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณ ที่ปากน้ำปราณบุรี  หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น