การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์ ตอน 1
การแต่งกายไทยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นแบ่งได้ตามสมัยในช่วงรัชกาลต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
รัชกาลที่ 1-3 ระยะเวลา 69 ปี (พ.ศ. 2325-2394)
การแต่งกายของผู้หญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ตัดผมไว้ปีกประบ่า กันไรผมวงหน้าโค้ง หากเป็นชาวบ้านอาจนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก แล้วห่มสไบเฉียง
การแต่งกายของผู้หญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ตัดผมไว้ปีกประบ่า กันไรผมวงหน้าโค้ง หากเป็นชาวบ้านอาจนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก แล้วห่มสไบเฉียง
การแต่งกายของผู้ชาย: ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก กระดุม 5 เม็ด แขนยาว หากเป็นชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ
การแต่งกายของชาววังและชาวบ้านจะไม่แตกต่างกันมาก จะมีแตกต่างกันก็ตรงส่วนของเนื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งหากเป็นชาววังแล้วจะห่มผ้าไหมอย่างดี ทอเนื้อละเอียด เล่นลวดลาย สอดดิ้นเงิน-ทอง ส่วนชาวบ้านทั่วไปจะนุ่งผ้าพื้นเมือง หรือผ้าลายเนื้อเรียบๆ หากเป็นราษฎรทั่วไปที่มีอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำนาแล้วจะนุ่งผ้าในลักษณะถกเขมร คือจะนุ่งเป็นโจงกระเบนแต่จะถกสั้นขึ้นมาเหนือเข่า เพื่อความสะดวก ไม่สวมเสื้อ หากอยู่บ้านจะนุ่งลอยชาย หรือโสร่งแล้วมีผ้าคาดพุง แต่ถ้าแต่งกายไปงานเทศกาลต่างๆ มักนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าแพรสีต่างๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชายทั้งสองยาวไว้ด้านหน้า การตัดผมของสตรีสาวจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายทอยยาวถึงบ่า หากเป็นผู้ใหญ่แล้วจะตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น
สมัยรัชกาลที่ 4 ระยะเวลา 17 ปี (พ.ศ. 2394-2411)
เนื่องจากสมัยโบราณคนไทยไม่นิยมสวมเสื้อแม้แต่เวลาเข้าเผ้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงประกาศให้ข้าราชกาลสวมเสื้อเข้าเฝ้า และทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ จึงทำให้มีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา การแต่งกายของสตรีจึงมีการเปลี่ยนแปลงไป
การแต่งกายของผู้หญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน หรือนุ่งผ้าจีบ ใส่เสื้อแขนยาว ผ่าอก ปกคอตั้งเตี้ยๆ (เสื้อกระบอก) แล้วห่มผ้าแพรสไบจีบเฉียงทับบนเสื้อ ตัดผมไว้ปีกเช่นเดิม แต่ไม่ยาวประบ่า
การแต่งกายของผู้ชาย: ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงแพรโจงกระเบน สวมเสื้อเปิดอกคอเปิด หรือเป็นเสื้อกระบอกแขนยาว เรื่องของทรงผมผู้ชายยังไว้ทรงมหาดไทยอยู่ ส่วนรัชกาลที่ 4 จะไม่ทรงไว้ทรงมหาดไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น