.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

เกร็ดเล็กเกร็ดน้่อยการแต่งกายแต่โบราณ



เกร็ดเล็กเกร็ดน้่อยการแต่งกายแต่โบราณ
การแต่งกายของไทยเราจะแสดงลักษณะเด่นชัดตอนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีลงมา เครื่องแต่งกายของคนย่อมเป็นไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ ในปัจจุบันก็ยังสรุปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง ว่าคนไทยเคยอยู่ตอนใต้ของประเทศจีนหรืออยู่ ณ ที่นี้มานานแล้ว มีความสำคัญในการที่จะ สันนิษฐานว่า การแต่งตัวเหมือนเผ่าไทยที่ยังอยู่ในเขตแดนจีน มีอากาศหนาวจึงสวมเสื้อหลายชั้น ถ้าคนไทยอยู่ใน ณ ที่นั้นนานแล้ว ซึ่งจะมีอากาศร้อน เสื้อ ผ้าก็จะมีลักษณะชนิดพันหลวม ๆ มากว่าจะเป็นแบบรัดตรึงแนบตัว
ับตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมาเห็นได้ว่าเครื่องแต่งกายของคนอินเดียได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของเครื่องแต่งกายไทย ผ้าจีบและสไบก็คือผ้าส่าหรีดัดแปลงเป็นสองท่อน ส่วนผ้านุ่งก็คือผ้านุ่ง ของผู้ชายอินเดีย คนไทยมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อรับวัฒนธรรมของใคร มาแล้วรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับสภาพวิถีชีวิตของตนเอง จนกลายเป็นไทยในที่สุด นุ่งโจงห่มจีบ ของไทยก็ได้มาจากห่มส่าหรีของแขกก็จริงแต่ไม่ใช่แขก เรามีการใช้คำว่าเครื่องนุ่งห่มมาก่อน เครื่องแต่งกาย เพราะใช้นุ่งและห่มจริง คือใช้ปกคลุมท่อนล่างและบนแยกกันเป็นคนละส่วน
เครื่องนุ่งห่มของไทยตั้งแต่อดีตเป็นการใช้ประโยชน์ทั้งในด้านความเหมาะสม การประหยัด และความคล่องตัวในการดัดแปลง เช่น ในสมัยอยุธยาการแต่งกายของสตรีไทยตามปกติจะ แสดงออกซึ่งความนุ่มนวลและความเป็นผู้หญิง แต่พอถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อไทยจะทำ สงครามกับพม่าเป็นเวลาที่สตรีไทยต้องออกต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับชาย การแต่งกายของสตรีก็ เปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับบทบาทใหม่ คือ แต่งกายให้รัดกุม ไม่รุ่มร่าม สะดวกในการเคลื่อนไหว เป็นการห่มผ้าแบบ “ตะเบงมาน” ผมก็ตัดสั้น เพื่อสะดวกในการรบ หนีภัย และการปลอมแปลง เป็นชาย
สำหรับเครื่องแต่งกายที่ใช้สำหรับทำงานกลางแจ้ง หรือทำไร่ ทำนาของคนไทยนั้น ก็จะใช้ สีเข้ม เพื่อไม่ให้สกปรกง่าย ตัวเสื้อ ของสตรีเป็นเสื้อ ผ่าอก แขนกระบอกเพื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น