การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
สมัยศรีวิชัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18)
“ศรีวิชัย” เป็นรัฐที่เกิดขึ้น ทางภาคใต้ โดยถูกอิทธิพลจาก “รัฐฟูนัน” ประเทศจีนที่เคยมี อำนาจควบคุมทะเลจีนใต้ นอกจากนี้“รัฐศรีวิชัย” ยังตั้งอยู่ในทำเลค้าขายที่สำคัญโดยมีการค้า ขายกับจีน อินเดียและประเทศในตะวันออกกลาง ดังนั้น การแต่งกายของคนสมัยศรีวิชัย จึงได้รับอิทธิพลด้านการใช้ผ้าจากจีน และเครื่องประดับ จากชาวอินเดีย
ลักษณะการแต่งกายของหญิง
ผม เกล้ามวยสูงทำเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ สวมกลีบรวบด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลง มาด้านหน้า บางทีมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศีรษะใช้รัดเกล้าเป็นชั้น ๆ แล้วปล่อยชายผมลงประบ่า ทั้ง 2 ข้าง หรือถักเปีย
ผม เกล้ามวยสูงทำเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ สวมกลีบรวบด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลง มาด้านหน้า บางทีมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศีรษะใช้รัดเกล้าเป็นชั้น ๆ แล้วปล่อยชายผมลงประบ่า ทั้ง 2 ข้าง หรือถักเปีย
เครื่องประดับ ประดับด้วยรัดเกล้า ตุ้มหูแผ่นกลมเป็นกลีบดอกไม้ ใส่กรองคอทับทรวง ใส่กำไรต้นแขนทำด้วยโลหะ หรือลูกปัดร้อยเป็นพวงอุบะ ใส่กำไลมือและเท้า
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าครึ่งแข้งปลายบานยกขอบ ผ้าผืนเดียวบางแนบเนื้อคล้ายผู้ชาย ขอบผ้าชั้น บนทำเป็นวงโค้งเห็นส่วนท้อง คาดเข็มขัดปล่อยชายผ้าลงทางด้านขวา
ลักษณะการแต่งกายของชาย
ผม เกล้ามวยเป็นกระพุ่มเรียงสูง ด้วยเครื่องประดับ ปล่อยปลายผมสยายลงรอบศีรษะ เป็นชั้น ๆ บางทีปล่อยชายผมชั้น ล่างสยายลงประบ่า
ผม เกล้ามวยเป็นกระพุ่มเรียงสูง ด้วยเครื่องประดับ ปล่อยปลายผมสยายลงรอบศีรษะ เป็นชั้น ๆ บางทีปล่อยชายผมชั้น ล่างสยายลงประบ่า
เครื่องประดับ ใส่ตุ้มหูเป็นเม็ดกลมใหญ่ คล้องสายสังวาลย์ คาดเข็มขัดโลหะใส่กำไล แขนและข้อมือ
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าชายพกต่ำ ปล่อยชายย้อยเป็นกระหนก คาดเข็มขัดโลหะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น