การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
สมัยลพบุรี (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19)
“เมืองลวปุระหรือละโว้หรือลพบุรี” เคยเป็นเมืองสำคัญมาแต่สมัยรัฐทวารวดีเมื่อครั้ง อำนาจของรัฐทวารวดีในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยเสื่อมลงไปแล้ว ละโว้จึงได้ปรับเปลี่ยน คตินิยมไปเป็นแบบขอม ดังนั้น ศิลปะลพบุรีได้รับ รูปแบบมาจากศิลปะของขอมเป็นส่วนใหญ่ รูปหล่อสำริดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากสะท้อนให้เห็นถึง การแต่งกายของชาวลพบุรีที่รับเอาวัฒนธรรมมาจากขอม ลักษณะการ แต่งกายสมัยลพบุรีโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ผม ผมแสกกลาง ตอนบนมุ่นเป็นมวย ปักด้วยปิ่นยอดแหลม
ผม ผมแสกกลาง ตอนบนมุ่นเป็นมวย ปักด้วยปิ่นยอดแหลม
เครื่องประดับ สวมกำไลต้นแขน ข้อมือทั้ง 2 มีปิ่น เข็มขัดมีลวดลาย สวมเทริดที่ ศีรษะมีกรองคอทำลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ ตุ้มหูทำเป็นหัวเป็ดคว่ำ
เครื่องแต่งกาย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าให้ชายซ้อนกันตรงหน้า แล้วปล่อยชายออก 2 ข้าง เป็นปลี บางทีปล่อยชายยาวลงถึงสะโพกทั้งขวาและซ้าย เป็นชายไหว คาดเข็มขัด ปลายทำเป็น พู่คล้ายกรวยเชิงห้อยเรียงเป็นแถว ไม่สวมรองเท้า
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
ผม เกล้าผมเหนือศีรษะ
ผม เกล้าผมเหนือศีรษะ
เครื่องประดับ คาดเข็มขัดหัวเข็มขัดผูกเป็นปมเงื่อนแบบสอดสร้อย ใส่ตุ้มหู กรองคอ เป็นเส้นเกลี้ยง ซ้อนกัน 2 ชั้น ตรงกลางทำเป็นลวดลายดอกไม้เม็ดกลม ๆ ซ้อนกัน สวมกำไลต้นแขน ข้อมือ และเท้า
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงสูง ขวาทับซ้ายแล้วทิ้งชายเป็นกาบใหญ่ คาดเข็มขัด นุ่งสั้น เหนือเข่าทิ้งชายพกออกมา ข้าหน้าเป็นแผ่นใหญ่ ไม่สวมรองเท้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น