การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24)
“เชียงแสน” ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนักวิชาการนิยมเรียกรัฐ เชียงแสนว่า รัฐล้านนา ซึ่งมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะ เชียงแสนมีดินแดนต่อกับดินแดนทางภาคเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ชาวเชียงแสนมีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลทางศิลป จากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละ ผ่านทางมาทางประเทศพม่า และได้พัฒนาให้มีลักษณะของตัวเอง จนกลายเป็นรูปแบบของศิลปไทยแท้ในยุคแรก มีหลักฐานกล่าวถึงผ้าหลายชนิดทั้งที่ทอขึ้น เป็น ของตัวเองและทอขึ้น เพื่อเป็นสินค้าขายให้แก่อาณาจักรใกล้เคียง เช่นผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์ แดง ผ้าสีดอกจำปา แสดงว่ามีการย้อมสีจากธรรมชาติ ทางด้านการ แต่งกายจึงเป็นการแต่งกายเป็นการผสมผสานระหว่าง พม่า และขอมลักษณะการแต่งกาย โดยทั่วไปมีดังนี้
ภาพวาดเลียนแบบจากจิตรกรรมฝาพนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน
แสดงรูปแบบการแต่งกายของชาว เชียงแสนล้านนาในช่วงปลาย
พุทธศตวรรษที่ 25
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ผม ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง
ผม ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง
เครื่องประดับ สวมเครื่องประดับศีรษะ มีรัดเกล้า สวมสร้อยสังวาล รัดแขน กำไลมือ กำไลเท้า ใสตุ้มหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ มีผ้าคาดทิ้งชายยาว ปล่อยชาย พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
ผม ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ
ผม ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ
เครื่องประดับ สวมกรองคอ สร้อยสังวาล กำไลมือ และกำไลเท้า
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าสองชาย จับจีบลงมาเกือบถึงข้อเท้า ด้านหน้าซ้อนผ้าหลายชั้น รัดชายออกเป็นปลีทางด้านข้างคล้ายชายไหวชายแครง มีผ้าข้าวม้าเคียนเอว หรือพาดบ่า อากาศ หนาว จะสวมเสื้อแขนยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น