.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์ ตอน 3

การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์ ตอน 3


สมัยรัชกาลที่ 6 ระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2453-2468)
การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงเริ่มมีการนุ่งผ้าซิ่นตามพระราชนิยม สวมเสื้อแพรโปร่งบาง หรือผ้าพิมพ์ดอก คอกว้างขึ้น หรือแขนเสื้อสั้นประมาณต้นแขน ไม่มีการสะพายแพร ส่วนทรงผมจะไว้ยาวเสมอต้นคอ ตัดเป็นลอน หรือเรียกว่า ผมบ๊อบ มีการดัดผมด้านหลังให้โค้งเข้าหาต้นคอเล็กน้อย นิยมคาดผมด้วยผ้าหรือไข่มุก
การแต่งกายของชาย: ผู้ชายยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน แต่เริ่มมีการนุ่งกางเกงแบบชาวตะวันตกในภายหลัง แต่ประชาชนธรรมดาจะนุ่งกางเกงผ้าแพรของจีน สวมเสื้อคอกลมสีขาว (ผ้าบาง)


สมัยรัชกาลที่ 7 ระยะเวลา 9 ปี (พ.ศ. 2468-2477)
การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน แต่จะนุ่งเป็นผ้าซิ่นแค่เข่า สวมเสื้อทรงกระบอก ไม่มีแขน ไว้ผมสั้นดัดลอน ซึ่งจะดัดลอนมากขึ้น
การแต่งกายของชาย: ผู้ชายจะนุ่งกางเกงเป็นสีต่างๆ แต่ข้าราชการจะผ้าม่วงหรือสีน้ำเงิน สวมเสื้อราชประแตน สวมรองเท้าและรองเท้า แต่ในปี 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้อารยธรรมตะวันตกมีอิทธพลต่อการแต่งกายของคนไทยมากขึ้น ผู้ชายจึงจะมีการนุ่งกางเกงขายาวแทนการนุ่งผ้าม่วง แต่ถึงอย่างไร สามัญชนทั่วไปยังคงแต่งกายแบบเดิมคือ ผู้ชายสวมกางเกงแพรหรือกางเกงไทย สวมเสื้อธรรมดา ไม่สวมรองเท้า ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อคอกระเช้าเก็บชายไว้ในผ้าซิ่นหรือโจงกระเบน เวลาออกนอกบ้านจึงแต่งกายสุภาพ


สมัยรัชกาลที่ 8 ระยะเวลา 12 ปี (พ.ศ. 2477-2489)
โดยสรุปแล้วในสมัยนี้จะมีการแต่งกายที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั่งยังเป็นยุครัฐนิยมซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กำหนดเครื่องแต่งกายออกเป็น 3 ประเภท 1. ใช้ในที่ชุมชน 2. ใช้ทำงาน 3. ใช้ตามโอกาส ผู้หญิงจะสวมเสื้อแบบไหนก็ได้ แต่ต้องคลุมไหล่ มีการนุ่งผ้าถุง แต่ต่อมาจะเริ่มนุ่งกระโปง หรือผ้าถุงสำเร็จสวมรองเท้า สวมหมวก และเลิกกินหมาก ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อมีแขน คอปิดหรือจะเปิดก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น