.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขนมประจำจังหวัดภาคตะวันออก 5 จังหวัด





ขนมประจำจังหวัดภาคตะวันออก 5 จังหวัด


1.จังหวัดระยอง ขนมฟัก
ขนมฟัก เป็นพื้นบ้านโบราณของชาวระยอง นิยมทำในงานบุญ เก็บไว้ได้นานมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายคือ ฟักมีความเย็นช่วยถอนพิษยาฆ่าแมลงที่ซึม สู่ร่างกายได้ แป้งและน้ำตาลให้พลังงานแก่ร่างกาย

2.จังหวัดปราจีนบุรี กระยาสารทสีทอง

กระยาสารทสีทอง เป็นขนมที่มีรสชาติหอมหวาน กรอบอร่อยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป มีคุณค่าทางอาหารมากมายเช่น งาดำ งาขาว ถั่วลิสง ให้คุณค่าอาหารมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ลดคลอเลสเตอรอล มีโปรตีนช่วยบำรุงผมและข้อคาร์โบโฮเดรตจากข้าว นิยมรับประทานคู่กับกล้วยไข่

3.จังหวัดชลบุรี ข้าวหลาม
ข้าวหลาม เกิดจากวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นผสมกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่ดัดแปลงเอาข้าวมาต้มใช้รับประทานได้ ต่อมาได้ใช้ข้าวเหนียวมาปรุงรสผสมกะทิใส่ถั่วดำ เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวที่ซื้อรับประทานและนำมาเป็นของฝาก


4.จังหวัดตราด ขนมน้ำตาลชักหรือตังเม
ขนมน้ำตาลชักหรือตังเม เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากน้ำตาลหรือน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียววิธีการทำขนมน้ำตาลชักหรือตังเมมีขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอนคือ การเคี่ยวน้ำตาลและการชักน้ำตาลหรือตีนวลซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ รสชาติหวาน หอม กรอบ สามารถเก็บไว้ได้นาน


5.จังหวัดสระแก้ว ทองม้วนชาววัง
ทองม้วนชาววัง เป็นขนมขบเคี้ยวที่เกิดจากการรวมตัวของสตรี " กลุ่มแม่บ้านนิคมทหาร "เพื่อเสริมอาชีพหลักหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร มีคุณค่าทางอาหาร
ให้พลังงานและคาร์โบไฮเดรต

ขนมประจำจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด



ขนมประจำจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด 

1.จังหวัดกระบี่ คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์
คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เกิดจากการแปรรูปมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย รสชาติ หอม หวาน มัน โดยชาวบ้าน ได้จัดทำเพื่อจำหน่ายเป็นของฝากของจังหวัดกระบี่

2.จังหวัดชุมพร กล้วยหิมพานต์
กล้วยหิมพานต์ เป็นขนมแปรรูปมาจากกล้วยเล็บมือนางและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในจังหวัดชุมพร มีคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ดีกว่าแป้งและน้ำตาลรสชาติ หอม มัน กรอบ นิยมซื้อเป็นของฝาก

3.จังหวัดตรัง ขนมเค้ก
เค้กเมืองตรัง ต้นกำเนิดอยู่ที่หมู่บ้านลำพูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยลักษณะเด่นของเค้กเมืองตรัง คือ ตรงกลางต้องมีรูและนิยมซื้อหาเป็นของฝาก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายทำให้ผู้บริโภคหาซื้อได้ตามต้องการ

4.จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนมลา
ขนมลา ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำผึ้งแล้วละเลงลงกระทะน้ำมันร้อนๆกลายเป็นแผ่นสมัยก่อนเป็นขนม 1 ใน 5 ที่ใช้บรรจุในสำรับเพื่อถวายพระสงฆ์ในงานทำบุญสารทเดือนสิบ  ปัจจุบันนี้ขนมลามีจำหน่ายตลอดปี และมีผลิตภัณฑ์ใหม่แปรรูปมาจากขนมลาด้วยการพับแผ่นขนมลาทีละแผ่นเข้าเป็นม้วนเรียกว่า 

ขนมลากรอบ

5.จังหวัดนราธิวาส ข้าวเกรียบปลาสด (กะโป๊ะ)
ข้าวเกรียบปลาสด ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำเป็นลูกชิ้นปลานำมาทำข้าวเกรียบปลาได้ซึ่งมีวิธีการผลิตใช้เทคนิคและวิธีการด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นการถนอมอาหารสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ข้าวเกรียบปลาสดนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม แต่ผู้รับประทานมักเข้าใจผิดว่าข้าวเกรียบปลาคงจะมีกลิ่นคาวหรืออร่อยไม่เท่าข้าวเกรียบกุ้ง ชาวบ้านจึงได้พัฒนารสชาติให้ดียิ่งขึ้น

6.จังหวัดปัตตานี ขนมลูกหยี
ขนมลูกหยี ประกอบด้วย ลูกหยี เกลือ น้ำตาลทราย พริก มีรสชาติเปรี้ยว คนในท้องถิ่นได้คิดค้นสูตรในการทำลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ได้รสชาติเป็นที่ติดใจของลูกค้าเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัวอีกด้วย

7.จังหวัดพังงา ขนมเต้าส้อ
ขนมเต้าส้อ เป็นขนมพื้นเมืองที่ชาวพังงาทำมานาน มีไส้ให้เลือกรับประทานหลายชนิดเช่น ไส้เค็ม ไส้หวาน ไส้ถั่วแดง เอกลักษณ์ในรสชาติความอร่อยไม่เปลี่ยนแปลงอีกทั้งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต


8.จังหวัดพัทลุง กะละแม
กะละแม จัดเป็นขนมไทยประเภทกวนมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่นมีรสชาติอร่อย หอม หวาน และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน  กะละแมเป็นที่นิยมมาก มีหลายรส เช่น กาแฟ ขนุน ใบเตย และอื่นๆ อีกมากมาย  สามารถเป็นของฝากของที่ระลึกของจังหวัดพัทลุง

9.จังหวัดภูเก็ต ขนมเกือกม้า
ขนมเกือกม้า ทำด้วย แป้งสาลี ถั่วลิสง งาขาว ฟักเชื่อม หอมเจียว น้ำมันพืชเป็นหลัก  นิยมนำมารับประทานกับกาแฟ หรือชาร้อนๆ เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่แพ้ขนมอื่น 

10.จังหวัดยะลา กล้วยหินฉาบ
กล้วยหินฉาบ จะมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความแข็งกว่ากล้วยชนิดอื่น ทำให้เก็บรักษาไว้ได้นาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จึงได้รวมตัวกันทำการแปรรูปกล้วยหินเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยหินฉาบเค็ม กล้วยหินฉาบหวาน และอื่นๆ ออกวางจำหน่ายจนได้รับ ความนิยมและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนปัจจุบันถือว่ากล้วยฉาบหินเป็นของฝากจังหวัดยะลา 

11.จังหวัดระนอง ซาลาเปา
ซาลาเปา จังหวัดระนองมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นซาลาเปาที่มีคุณค่าทางอาหารมาก และอร่อย เนื้อนุ่ม ปัจจุบันมีขายมากกว่า 50 ร้าน โดยนักท่องเที่ยวนิยมซื้อรับประทานและเป็นของฝาก 

12.จังหวัดสงขลา ขนมดู
ขนมดู เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในรูปแบบการถนอมอาหาร สามารถเก็บไว้รับประทานได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นรสชาติขนมดูจะหอมหวาน มัน มีสีน้ำตาลปนดำ ขนมดูเป็นที่นิยมกันมากเป็นของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสงขลา 

13.จังหวัดสตูล บุหงาบุดะ
ขนมบุหงาบุดะ เป็นภาษาอิสลาม บุหงา แปลว่า ดอกไม้ บุดะ แปลว่าดอกเตย รวมเรียกว่าขนมดอกเตย ซึ่งมีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายหมอนสีขาว ทำด้วยมะพร้าวทึนทึกและแป้งข้าวเหนียวผสมด้วย น้ำตาลทราย เกลือ น้ำ กลิ่นกะทิ โดยจะทำขึ้นในเทศกาล ฮิดิลรัฎฮา  และพิธีแต่งงาน ซึ่งมีความหมายให้คู่บ่าวสาวร่วมเรียงเคียงหมอนรักกันหวานชื่นปัจจุบันทำเป็นขนมพื้นเมืองของอำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น 

14.จังหวัดสุราษฎร์ธานี กะละแมหรือยาหนม
กาละแม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า การกวนยาหนม โดยมีส่วนผสม มะพร้าว แป้ง น้ำตาลตั้งบนเตาไฟ เทใส่ภาชนะที่แห้งสนิท ห่อเป็นคำๆ บรรจุไว้จำหน่ายโดยปัจจุบันชาวสมุยกวนขนมเพื่อค้าขายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน รสชาติอร่อยหาซื้อรับประทานหรือเป็นของฝาก

ขนมประจำจังหวัดภาคเหนือ 8 จังหวัด





ขนมประจำจังหวัดภาคเหนือ 8 จังหวัด

1.จังหวัดเชียงราย ข้าวเกรียบสับปะรดนางแล

ข้าวเกรียบสับปะรด เนื่องจากประชาชนประกอบอาชีพทำสวนสับปะรดพันธุ์นางแลจึงได้มีความคิดทำสับปะรดพันธุ์นางแลที่มีอยู่มาทำเป็นข้าวเกรียบเพื่อส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

2.จังหวัดเชียงใหม่ กาละแม

กาละแม เป็นสินค้าดั้งเดิมที่มีผู้ผลิตโดยทั่วไป เพื่อใช้รับประทานในเทศกาลต่างๆและสามารถเก็บไว้ได้นาน และใช้เป็นของฝากของขวัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากจังหวัดเชียงใหม่

3.จังหวัดน่าน ข้าวแต๋นสมุนไพร
ข้าวแต๋นสมุนไพร กลุ่มชาวบ้านได้รวบรวมเอาบุคลากรรุ่นหลาน เหลน เข้ามาร่วมกันผลิตข้าวแตน เพื่อให้เป็นสินค้าของชุมชนที่จะร่วมกันรักษาไว้ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งข้าวแตนมีชื่อเสียงในด้านความอร่อย กรอบ หวาน สามารถเป็นของฝากและของที่ระลึกของจังหวัดน่าน

4.จังหวัดแพร่ ขนมครก
ขนมครก มีรสชาติ หอม หวาน มัน อร่อย เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า เหมาะสำหรับรับประทานระหว่างทางจึงทำให้ขายดีมากซึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปสำหรับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางผ่านจังหวัดน่าน

5.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมงา
ขนมงา เดิมชาวแม่ฮ่องสอนทำขนมงาในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม เป็นช่วงที่มีการทำน้ำอ้อยเพื่อเก็บไว้ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมากวนในน้ำอ้อย เรียกว่า  งาโหย่า ต่อมาได้นำงามาปรับปรุงวิธีการผลิตทั้งส่วนผสม รสชาติ และลักษณะ รูปร่าง ให้ได้รสชาติที่คนส่วนใหญ่นิยม

6.จังหวัดลำปาง ข้าวแต๋น
ข้าวแต๋น เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดลำปาง มีชื่อเสียงมากเนื่องจากมีรูปแบบและ ขนาดต่างจากข้าวแต๋นท้องที่อื่นๆ มีรูปแบบหลากหลายและมีรสชาติทั้งน้ำอ้อยและ แบบดั้งเดิม รสหมูหยอง สมุนไพรและรสน้ำอ้อยผสมงาขาว ปัจจุบันข้าวแต๋นมีชื่อเสียงโด่งดังมีจำหน่ายทั่วทุกภาค

7.จังหวัดลำพูน กะละแม
กะละแม เป็นขนมหวานซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส ในสมัยก่อนเมื่อจะถึงเทศกาลสงกานต์ปีใหม่ไทย ชาวบ้านจะช่วยกันกวนกะละแมเตรียมเอาไว้สำหรับรับแขกที่มารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และได้มีการถ่ายทอดวิธีการทำขนมให้ลูกหลานสืบต่อกันมาจนเป็นของฝากที่นิยมอย่างหนึ่งของจังหวัดลำพูน
เพราะมีรสชาติดีและสะดวกในการพกพาเป็นของฝากให้แก่ผู้ใกล้ชิด

8.จังหวัดอุตรดิตถ์ ขนมเทียนเสวย
ขนมเทียนเสวย มีส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย มะพร้าวและงาคั่ว อบให้หอมด้วยเทียนอบดอกมะลิและกระดังงา เป็นขนมที่ไว้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของคนไทยนั้นสืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

ขนมประจำจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด




ขนมประจำจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

1.จังหวัดอำนาจเจริญ ทองพับ

ทองพับ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาและคิดค้นกรรมวิธีการผลิตและคุณภาพ จากกลุ่มราษฎรในจังหวัด โดยทดลองปรับปรุงสูตรทำขนมจากเดิม ให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคของคนในท้องถิ่น
ปัจจุบันขนมทองพับเป็นที่นิยมของคนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดใกล้เคียง


2.จังหวัดสุรินทร์ กาละแม (ศรีขรภูมิ)กาละแม เป็นขนมไทยที่ใช้ในงานมงคล งานแต่งงานใช้ในขบวนแห่ขันหมากเป็นของฝากที่เหมาะมอบให้กับคนรัก หรือผู้ใหญ่ที่ให้ความเคารพนับถือเป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ทำติดต่อกันมาร่วม 40 ปี และปัจจุบันถือว่าเป็นของฝากประจำจังหวัดสุรินทร์

3.จังหวัดร้อยเอ็ด นางเล็ด
ขนมนางเล็ด เป็นขนมที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน จำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมของครอบครัว มีส่วนผสมข้าวเหนียวตากแห้ง น้ำกะทิ น้ำแตงโม น้ำตาลเป็นหลักคุณค่าทางอาหารให้พลังงานแก่ร่างกาย


4.จังหวัดนครพนม ขนมเทียนแก้ว
ขนมเทียนแก้ว เป็นขนมที่มีกลิ่นหอม ชวนรับประทานใช้ใบตองห่อหุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดเล็กพอเหมาะพอคำ ขนมเทียนแก้วกเป็นขนมพื้นบ้านที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบุญ ซึ่งมักจะตกแต่งในถาดที่ทำด้วยใบตองและประดับดอกไม้ให้ดูสวยงาม

5.จังหวัดนครราชสีมา ข้าวตังหมูหยอง
ข้าวตังหมูหยอง ได้รับความนิยมจากผู้บริโภครสชาติที่อร่อย ข้าวตังที่หอมซึ่งผลิตจากข้าวหอมมะลิชั้นดีโรยหน้าด้วยหมูหยองเป็นที่ถูกปากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีการส่งเป็นสินค้าไปยังต่างประเทศด้วย มีคุณค่าทางอาหารเช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุเหล็ก

6.จังหวัดชัยภูมิ ดอกจอก
ดอกจอก เดิมคือวัชพืชประเภทจอกและแหนที่เกิดตามห้วยหนองคลองบึงซึ่งใบของดอกนั้นจะอัดเรียงกันสวยงาม มีกลุ่มชาวบ้านได้แนวคิดทำขนมในรูปแบบของดอกจอก ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล กะทิ เนย มีคุณค่าทางอาหารคือโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ดอกจอกถือว่าเป็นขนมไทยดั้งเดิมชนิดหนึ่งเหมือนกัน

7.จังหวัดบุรีรัมย์ บุหงากระยาสารท
กระยาสารท เป็นขนมที่ทำด้วยงาและข้าวเม่าข้าวตอก กวนกับน้ำตาลแต่เดิมนิยมทำกันเฉพาะในเทศกาลเดือนสิบ ต่อมาลูกค้ามาสั่งซื้อเป็นของฝากตลอดทั้งปี จึงได้ทำขายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีจำหน่ายทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์

8.จังหวัดอุดรธานี มะพร้าวแก้ว
มะพร้าวแก้ว เป็นขนมที่นิยมทำกินกันในครอบครัวและทำกันในช่วงเทศกาลสำคัญทางพุทธศาสนา ส่วนประกอบและวิธีการทำไม่ยุ่งยากมีเพียงมะพร้าวและน้ำตาล คนทั่วไปนิยมซื้อเป็นของฝาก ต่อมามีการเพิ่มรูปแบบให้มากขึ้นเช่น ทำเป็นแผ่น เป็นเส้น ผสมสีต่างๆ เพื่อให้ดูน่ารับประทาน


8.จังหวัดอุดรธานี มะพร้าวแก้ว
มะพร้าวแก้ว เป็นขนมที่นิยมทำกินกันในครอบครัวและทำกันในช่วงเทศกาลสำคัญทางพุทธศาสนา ส่วนประกอบและวิธีการทำไม่ยุ่งยากมีเพียงมะพร้าวและน้ำตาล คนทั่วไปนิยมซื้อเป็นของฝาก ต่อมามีการเพิ่มรูปแบบให้มากขึ้นเช่น ทำเป็นแผ่น เป็นเส้น ผสมสีต่างๆ เพื่อให้ดูน่ารับประทาน

9.จังหวัดมหาสารคาม ขนมกระหรี่ปั๊ปไส้มันแถว
ขนมกระหรี่ปั๊ป เป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคามและเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป เนื่องจากไส้ทำด้วยมันแกวขูดเป็นฝอย รสชาติ หวาน หอมน่ารับประทาน

10.จังหวัดสกลนคร กล้วยตากแผ่น
กล้วยตากแผ่น เป็นการแปรรูปกล้วยน้ำหว้าให้เก็บไว้ได้นาน ระยะแรกทำเป็นกล้วยตากธรรมดาแต่ไม่เป็นที่นิยม จึงทดลองทำกล้วยตากแผ่นจนเป็นที่นิยมของลูกค้าและได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เรื่อยมา โดยแปรรูปเป็นกล้วยตากแผ่นแบบบางและหนา กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยทอด มีคุณค่า
ทางอาหารคือ ให้วิตามิน A, B และ C

11.จังหวัดเลย มะพร้าวแก้ว
มะพร้าวแก้ว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น แรกเริ่มทำมาเพื่อกินกันในครอบครัวและละแวกใกล้เคียง ต่อมาผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วรสชาติอร่อยเป็นที่รู้จักมากขึ้นจึงได้ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นของฝากตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆส่วนประกอบง่ายๆ หาได้จากธรรมชาติ

12.จังหวัดหนองบัวลำภู กล้วยสุกทอด
กล้วย เป็นพืชที่อยู่คู่บ้านคู่ครอบครัวไทยมานาน ใช้ประโยชน์ได้นานาชนิดระยะแรกไม่มีการแปรรูปผลผลิตกล้วยทำให้เน่าเสียและไม่ได้ราคา จึงได้คิดการแปรรูปกล้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าและเก็บรักษาได้นานจึงทำเป็นกล้วยสุกทอดกล้วยทอด กล้วยฉาบ ต่อมาพัฒนาเป็นกล้วยอบเนยชนิดหวาน กล้วยอบ ชนิดเค็ม มีคุณค่าทางโภชนาการสูงคือแป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใยอาหารเกลือแร่ต่างๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินซี เป็นต้น

13.จังหวัดศรีสะเกษ กะหรี่พัฟ
กะหรี่พัฟ มีส่วนผสมจากแป้งสาลี ทั้งแป้งนอก แป้งใน ไก่บด ผงกะหรี่มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดศรีสะเกษ

14.จังหวัดกาฬสินธุ์ ขนมมัฟฟินข้าวโพด

ขนมมัฟฟินข้าวโพด เป็นขนมอบส่วนผสมเป็นแป้งเค้กและข้าวโพดเป็นหลักรสชาติของขนมมีความหอมและหวานในรสชาติของข้าวโพด เป็นขนมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับเป็นของฝากแก่ผู้ที่มาแวะเยี่ยมจังหวัดกาฬสินธุ์

15.จังหวัดยโสธร ขนมเปียะ
ขนมเปียะ จังหวัดยโสธร เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่นิยมซื้อกลับมาเป็นของฝาก เนื่องจากรสชาติของขนมทั้งไส้และแป้ง หอมหวาน อร่อย คุณค่าทางอาหารก็มีครบทั้ง 5 หมู่ เป็นที่ยอมรับของผู้ที่แวะเวียนมาจังหวัดยโสธร

16.จังหวัดอุบลราชธานี ขนมข้าวเกรียบมันเทศ, 
ฟักทอง, กล้วยแต่งกลิ่นสมุนไพรขนมข้าวเกรียบมันเทศ, ฟักทอง,กล้วย เป็นอาหารแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร แล้วนำมาแต่งกลิ่นสมุนไพร เช่นใบกระเพรา มีคุณค่าทางอาหารให้โปรตีนคาร์โบไฮเดรตสูง ไม่มีสารปรุงรสอื่นที่เป็นอันตราย บรรจุถุงจำหน่ายแบบ ข้าวเกรียบดิบ หรือนำไปทอดจนสุกแล้วบรรจุจำหน่ายแบบข้าวเกรียบทอดมีการผลิตเพื่อการส่งออกอย่างกว้างขวาง


17.จังหวัดมุกดาหาร ขนมกะละแม
ขนมกะละแม จังหวัดมุกดาหาร เป็นขนมโบราณของชาวมอญมีส่วนผสมของมะพร้าวเป็นหลัก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณค่าในตัวเองคุณค่าทางอาหารให้พลังงานสูงพอเหมาะสำหรับเป็นของฝากได้ทุกโอกาสและทุกเทศกาล

ขนมไทยประจำจังหวัดภาคกลาง



ขนมไทยประจำจังหวัดภาคกลาง


ภาคกลาง 21 จังหวัด

1.จังหวัดกำแพงเพชร กระยาสารท เป็นขนมที่ทำกันในช่วงสารทไทย โดยทำจาก ข้าวตอก ข้าวเม่า
ถั่วลิสง งา มาคั่วให้สุก แล้วนำมากวนกับน้ำตาลจนเหนียวติดกันเป็นปึกนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ซึ่งปลูกมากในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงถือว่าเป็นขนมประจำเมืองกำแพงเพชร

2.จังหวัดชัยนาท ขนมกง
ขนมกง คือขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงานเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปไม่ไห้สิ้นสุดส่วนผสม ของขนมกง ประกอบด้วย ถั่วเหลือง น้ำตาล มะพร้าว น้ำตาล แป้ง และขนมกง ยังมีคุณค่าทางอาหารด้านโปรตีน

3.จังหวัดนครปฐม วุ้นมะพร้าว
วุ้นมะพร้าว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีอยู่จำนวนมาก และมีวิธีการทำคือ นำน้ำมะพร้าวน้ำหอมมาเป็นส่วนผสมในการทำวุ้นมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งมีรสชาติ หอม หวาน มัน มีคุณค่าทางอาหาร จึงเป็นที่นิยมรับประทานและเป็นของฝาก ประจำจังหวัดนครปฐม

4.จังหวัดนครนายก เผือกเส้นทอดกรอบ
เผือกเส้นทอดกรอบ เป็นการแปรรูปของผลิตผลทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า

5.จังหวัดนครสวรรค์ ขนมโมจิ
ขนมโมจิ เป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครสวรรค์ โดยได้มีการพัฒนารูปแบบและรสชาติที่น่าอร่อยน่ารับประทาน ทั้งไส้ถั่วเขียว ไส้ถั่วดำ ไข่เค็มแดง อีกทั้งเนื้อแป้งยังนุ่ม หอม หวาน พร้อมด้วยคุณค่าทางอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

6.จังหวัดนนทบุรี ขนมจ่ามงกุฎ
ขนมจ่ามงกุฎ ในโบราณเป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อประกอบเครื่องคาวหวานในงานมงคลไม่ว่าจะเป็นงานบุญหรืองานประเพณีต่างๆ ของไทย การเลือกชนิดขนมมาใช้ในงานมงคลโดยมากจะเลือกจากชื่อขนมที่มีคำความหมายดีๆ ขนมจ่ามงกุฎ มีส่วนผสมประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนตัวขนม ส่วนแป้งรองขนม และส่วนการแต่งขนม (ลูกกวาดแตงกวา)

7.จังหวัดปทุมธานี กาละแม
กาละแม เป็นขนมไทยโบราณที่นิยมทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยเพื่อใช้ในงานบุญและใช้แจกในงานเทศกาลแก่ญาติผู้ใหญ่และพี่น้องกาละแม มีส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียว น้ำตาลทราย กะทิ และน้ำสะอาดต้มสุก

8.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรตีสายไหม
โรตีสายไหม ตอนแรกมีส่วนผสมเพียงแป้งและน้ำตาล ต่อมาได้พัฒนาส่วนผสมผลไม้และสมุนไพร เช่น น้ำมะพร้าว งาดำ ส้ม องุ่น เป็นต้น จำเป็นที่ขึ้นชื่อและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นของฝากประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบันนี้

9.จังหวัดพิจิตร ขนมชั้น
ขนมชั้น ถือว่าเป็นขนมหวานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิจิตร ในเรื่องของรสชาติและรูปแบบขนมชั้นมักนิยมในช่วงวันแต่งงาน วันพระ ส่วนผสมทำจากแป้ง น้ำตาลทราย และกะทิสีสันของขนมอาจทำมาจากใบเตย ปัจจุบันทำมาดัดแปลงพับเป็นรูปดอกกุหลาบที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย

10.จังหวัดพิษณุโลก ขนมกล้วยตากบางกระทุ่ม
ขนมกล้วยตาก เนื่องจากมีกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงคิดวิธีทดลองถนอมอาหาร โดยการนำกล้วยสุกไปตากแดดเก็บไว้รับประทานและแจกชุมชนใกล้เคียงจนเป็นที่ติดปากและถูกใจ ในรสชาติต่อมาชาวบ้านได้ปรับปรุงและพัฒนาจนปัจจุบันเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิษณุโลก

11.จังหวัดเพชรบูรณ์ มะขามแปรรูป
มะขามแปรรูป ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปมะขามเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นาน ซึ่งตอนแรกได้แปรรูปเป็นมะขามกวนปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เรื่อยมาและเป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์


12.จังหวัดลพบุรี วุ้นมะพร้าวในน้ำเชื่อม
วุ้นมะพร้าวในน้ำเชื่อม ริเริ่มทำโดยข้าราชการบำนาญของจังหวัดลพบุรี วิธีการทำคือทำน้ำมะพร้าวให้เป็นชั้นวุ้นและนำมาแปรรูปในขวดแก้วออกจำหน่ายตามท้องตลาด ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

13.จังหวัดสมุทรปราการ ขนมมะพร้าวแก้ว
ขนมมะพร้าวแก้ว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทำจากมะพร้าวและน้ำตาล ต่อมาได้เพิ่มสีสันลงไป วัตถุดิบหาได้ง่าย วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเหมาะกับผู้ที่เริ่มหัดทำขนม อีกทั้งยังสามารถพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะต่างๆ ได้อีกด้วย

14.จังหวัดสมุทรสงคราม ขนมจาก
ขนมจาก เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามวัสดุที่ใช้ห่อขนม คือ ใบจาก เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่มีประวัติยาวนานหลายชั่วอายุคน ต่อมาการทำน้ำตาลมะพร้าวลดน้อยลงขนมชนิดนี้ก็หารับประทานได้ยากขึ้น แต่จะมีทำขายกันตามแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด

15.จังหวัดสมุทรสาคร

 ขนมหมี่กรอบไทยสูตรโบราณขนมหมี่กรอบ เป็นขนมไทยโบราณที่สืบทอดกันมาช้านานโดยนิยมรับประทานกันเป็นอาหารว่าง สามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ในท้องถิ่นคือส่วนผสมที่เป็นกุ้งก็มีแหล่งเลี้ยงกุ้ง ไข่เป็ดก็มีการเลี้ยงเป็ด และน้ำตาลมะพร้าวชาวบ้านก็ปลูกมะพร้าวกันอย่างมาก จึงเป็นปัจจัยหลักในการผลิตขนมชนิดนี้


16.จังหวัดสิงห์บุรี เค้กปลาช่อน
เค้กปลาช่อน มีส่วนผสม คือ แป้งสาลีเอนกประสงค์ น้ำตาลทราย ไข่ไก่ เนยสดนมสด เนื้อปลาช่อนที่ดับคาวแล้ว เค้กปลาช่อน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและ เป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี

17.จังหวัดสระบุรี กระหรี่พัฟ
กระหรี่พัฟ เป็นขนมของว่างส่วนผสมของแป้งมีส่วนคือ แป้งนอกใช้แป้งสาลี น้ำ น้ำมันพืช น้ำตาลทรายนำมาผสมกัน ส่วนแป้งในมีแป้งสาลีกับน้ำมันพืช ส่วนไส้ที่นิยมทำมี 2 ชนิดคือไส้ไก่กับไส้ถั่ว กระหรี่พัฟเป็นขนมที่มีคุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่

18.จังหวัดสุโขทัย กล้วยอบเนย
กล้วยอบเนย มีกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากมากนัก โดยใช้กล้วยน้ำหว้าสดพันธุ์มะลิอ่อน ปอกเปลือกสไลด์เป็นแผ่นบางๆ สุดท้ายจะนำไปทอดในกระทะซึ่งมีเนยและน้ำตาลผสมอยู่และความสะอาดที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้กล้วยอบเนยได้รับการต้อนรับที่ดีจากตลาด

19.จังหวัดสุพรรณบุรี สาลี่
สาลี่ เป็นขนมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ซึ่งมีรสชาติ หอมหวาน อร่อยและอ่อนนุ่ม และมีคุณค่าต่อร่างกายมากมายอีกด้วย เพราะมีส่วนประกอบการผลิตขนมสาลี่นมสดกระชายดำ หรือสาลี่รสอื่นไม่มีการใส่สี และสารกันบูดแต่อย่างใด จนปัจจุบันขนมสาลี่เป็นที่นิยมมาก จนเป็นของฝากของจังหวัดสุพรรณบุรี

20.จังหวัดอุทัยธานี ขนมข้าวกุ้งกรอบ
ขนมข้าวกุ้งกรอบ เกิดจากการหุงข้าวสวยจำนวนมากๆแล้วกินไม่หมดจึงนำเอาเครื่องปรุงมาผสมเพื่อให้เกิดรสชาติอาหารที่กลมกล่อมและแปลกขึ้น เช่น กระเทียม พริกไทย กุ้งแห้งป่น เกลือ น้ำตาล นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปผึ่งแดดส่วนคุณค่าทางอาหารก็มากมาย เป็นขนมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จนทำเป็นของฝากและเป็นขนมมงคลในงานประเพณีต่างๆ รสชาติติดปากและถูกใจต่อนักท่องเที่ยว
ที่มาแวะเวียน จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและขึ้นชื่อของจังหวัด

21.จังหวัดอ่างทอง ข้าวตังหน้าตั้ง
ข้าวตังหน้าตั้ง เป็นขนมไทยพื้นเมืองทำจากข้าวเหนียว ตอนแรกทำแต่ข้าวตังหน้าตั้ง และต่อมาได้คิดดัดแปลงข้าวตังหน้าตั้ง จนกลายเป็นข้าวตังหมูหยองในปัจจุบันจนกลายเป็นขนมไทยที่มีชื่อเสียงให้แก่ชาวอ่างทอง

ประเภทของขนมไทย



ประเภทของขนมไทย
ขนมหวานไทย หมายถึง อาหารชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นอาหารที่รับประทานตามหลังของคาว เช่น ในอาหารมื้อกลางวันมีก๋วยเตี๋ยวไก่เป็นของคาว ผู้รับประทานอาจจะรับประทานทับทิมกรอบเป็นของหวาน เป็นต้นเมื่อบริโภคอาหารมื้อสำคัญๆ เช่น มื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็นควรบริโภคทั้งของคาวและของหวาน สิ่งที่ใช้เป็นของหวานอาจเป็นขนมหรือผลไม้ก็ได้นอกจากจะรับประทานขนมหวานหลังของคาว เราอาจรับประทานขนมหรือขนมหวานในเวลาที่มิได้รับประทานอาหารคาว แต่จะรับประทานขนมหรือขนมหวานเป็นของว่าง หรือรับประทานขนมหวานกับเครื่องดื่ม
ขนมหวานไทยจะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและฝึกฝนต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์และ ความอดทน และความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ๆต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน มีความประณีต ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธีการทำ ขนมไทยสามารถจัดแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้ตามลักษณะของเครื่องปรุง ลักษณะกรรมวิธีในการทำ และลักษณะการหุงต้ม คือ

1. ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ
2. ประเภทนึ่ง เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ
3. ขนมประเภทต้ม เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ
4. ขนมประเภทกวน เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ
5. ขนมประเภทอบและผิง เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมบ้าบิ้น ขนมหน้านวล ฯลฯ
6. ขนมประเภททอด เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ
7. ขนมประเภทปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ
8. ขนมประเภทเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ
9. ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ
10. ขนมประเภทน้ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ
11. ขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ
12. ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ
13. ขนมประเภทแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม สะท้อนแช่อิ่ม ฯ

ขนมไทยเสริมราศี



ขนมไทยเสริมราศี
ราศีมังกร เกิดระหว่าง 15 ม.ค.-14 ก.พ.
ขนมสวยหลากสี สร้างสรรค์ให้ชีวิตแปลกใหม่ เป็นคนธาตุดิน ต้องเสริมความตื่นเต้นแปลกใหม่กับชีวิต ด้วยขนมชั้นสีสวยๆ เยลลี่ลายหวานๆ หรือลูกชุป ช่วยเสริมสง่าราศีให้โดนเด่นดีที่สุด เครื่องดื่มที่เหมาะคือ น้ำหวานสีต่างๆ
ราศีกุมภ์ เกิดระหว่าง 15 ก.พ.-14 มี.ค.
โดดเด่นเป็นที่สนใจด้วยขนมหายาก เป็นคนธาตุลม ชอบขนมเบเกอรี่ ขนมเค้ก แต่มีขนมไทยหลายประเภทที่ช่วยเสริมดวงชะตา อาทิ สัมปันนี ฝอยทอง เครื่องดื่มที่เหมาะคือ น้ำส้ม น้ำเสาวรส น้ำแอปเปิ้ล
ราศีมีน เกิดระหว่าง 15 มี.ค.-14 เม.ย.
โชคดีทุกการเดินทางด้วยขนมพื้นบ้านหลากแบบ เป็นคนธาตุไฟ ที่ไม่ค่อยใจร้อนเท่าไหร่ ขนมพื้นบ้านจะช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีเรื่องการเดินทาง อาทิ ข้าวเม่า ข้าวตอก ข้าวตัง เล็บมือนาง เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นประเภทน้ำผักผลไม้
ราศีเมษ เกิดระหว่าง 15 เม.ย.-14 พ.ค.
ลดอารมณ์ร้อนๆ ด้วยขนมเย็น เป็นคนธาตุไฟ มีนิสัยใจร้อน หงุดหงิดง่าย ควรแก้เคล็ดด้วยขนมประเภทเย็นๆ อาทิ ขนมลอดช่อง กระท้อนลอยแก้ว จะช่วยให้อารมณ์เย็นมีชีวิตชีวา สิ่งที่ติดขัดหรือมีปัญหาจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำผลไม้อาทิ น้ำสับปะรด น้ำกระเจี้ยบ
ราศีพฤษภ เกิดระหว่าง 15 พ.ค.-14 มิ.ย.
เสริมความก้าวหน้าด้วยขนมเนื้อแน่น เป็นคนธาตุดิน หนักแน่น มั่นคง มีความรักชอบในศิลปะแบบโบราณ ขนมที่ช่วยเสริมราศี อาทิ ตะโก้ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมหม้อแกง ขนมถ้วย เครื่องดื่มที่เหมาะควรเป็น น้ำมะตูม น้ำตะไคร้ เก็กฮวย
ราศีเมถุน เกิดระหว่าง 15 มิ.ย.-14 ก.ค.
ขนมหายากสร้างเสน่ห์ให้เป็นที่รัก เป็นคนธาตุลม จิตใจแปรปรวน ขนมที่เสริมดวงชะตาให้เป็นที่รักของผู้อื่น อาทิ ขนมหน้านวล เครื่องดื่มเป็นน้ำผลไม้เช่นไวน์ พันซ์
ราศีกรกฎ เกิดระหว่าง 15 ก.ค.-14 ส.ค.
ชีวิตมีสีสันด้วยขนมรสชาติหวานมัน เป็นคนธาตุน้ำ ใจเย็นเพราะใจดี มีความนุ่มนวล ขนมที่เสริมดวงชะตาสง่าราศี อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา สังขยาฟักทอง ขนมประเภทแกงบวช เครื่องดื่มที่เหมาะคือประเภทน้ำหวาน ชา หรือกาแฟทั้งร้อนและเย็น
ราศีสิงห์ เกิดระหว่าง 15 ส.ค.-14 ก.ย.
เสริมความหรูหราด้วยขนมชื่อสิริมงคล เป็นคนธาตุไฟ ที่ค่อนข้างเอาแต่ใจ ขนมที่มีสีแดง ส้ม ทอง อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง จ่ามงกุฏ ข้าวเหนียวแดง จะช่วยเสริมความสง่างามและเสน่ห์ให้ตนเอง เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำสมุนไพร พวกน้ำจับเลี้ยง ชาดอกคำฝอย
ราศีกันย์ เกิดระหว่าง 15 ก.ย.-14 ต.ค.
คนรอบข้างรักใคร่เมตตาด้วยขนมสีขาว เป็นคนธาตุดิน ที่ค่อนข้างใจเย็น ขนมที่คู่บารมีกับชาวกันย์ ต้องมีสีขาวหรือสีนวล ขนมผิง ขนมหน้านวล หรือวุ้นกระทิ จะช่วยให้คนรอบข้างรักใคร่เมตตา เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นพวกน้ำสมุนไพร รังนก หรือโสม
ราศีตุลย์ เกิดระหว่าง 15 ต.ค.-14 พ.ย.
ขนมหลากสีสัน ผลักดันให้งานก้าวหน้า เป็นคนธาตุลม ที่ไม่ค่อยยินดียินร้ายกับอะไรทั้งสิ้น ขนมที่เสริมบารมีกับหน้าที่การงาน ต้องมีสีสันสดใส เช่น ขนมสัมปันนี ช่อม่วง วุ้นกรอบ ข้าวเม่า เครื่องดื่มที่เหมาะควรเป็นน้ำผลไม้และนม
ราศีพิจิก เกิดระหว่าง 15 พ.ย.-14 ธ.ค.
ขนมผสมกระทิเนรมิตความร่ำรวย เป็นคนธาตุน้ำ มีความเป็นตัวของตัวเอง สู้งานหนัก สุขุม เหมาะกับขนมหวานประเภทแกงบวช ครองแครง ปลากริมไข่เต่า บัวลอย จะช่วยเสริมความร่ำรวย เครื่องดื่มที่เหมาะต้องมีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว
ราศีธนู เกิดระหว่าง 15 ธ.ค.-14 ม.ค.
ขนมมงคลพิธี ช่วยให้มีแต่คนเมตตา เป็นคนธาตุไฟ เหมาะที่สุดกับขนมที่มีชื่อเป็นมงคล จะเสริมให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่รักใคร่ของคนรอบข้าง เช่นขนมทองเอก โพรงแสม รังนก เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำมะพร้าว น้ำตาลสด ชา กาแฟ

ตำนานขนมครก



ตำนานขนมครก
ขนมแห่งความรัก
ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย แอบมีความรักกับ หนูแป้ง สาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวของผู้ใหญ่บ้าน ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง และสัญญากันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ที่มีต่อกันชั่วฟ้าดินสลาย ไอ้กะทิ ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้าน แต่กลับถูกปฏิเสธแถมยังโดนผู้ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย แต่ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไปบ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน แต่ใจยังตั้งมั่นว่า วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนูแป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก ไอ้กะทิ รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสนหมายจะมายับยั้งการแต่งงานครั้งนี้ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้ว โดยขุดหลุมพรางดักรอไว้แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสียก่อน จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตกหลุมพราง คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมาเพื่อดักหน้าไอ้กะทิ ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจทั้งคู่รีบวิ่งเข้าหากัน

ฉับพลัน!!…ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลงไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ฯผู้เป็นพ่อ ต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ อารามตกใจนายกะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือหนูแป้ง อารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่งแอบซุ่มอยู่ ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลงไป เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว … รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน แทบไม่เชื่อสายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับร่างหนูแป้งลูกสาวของตน ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมีความสุข เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา ผู้ใหญ่บ้านรำพึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า..“พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย”ตั้งแต่นั้นมาอนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธาในความรักของไอ้กะทิ กับ แม่แป้ง ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้ง และกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า “จะได้อยู่ร่วมกันตลอดไป” ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม ”ขนมแห่งความรัก” หรือ ขนม คน-รัก-กัน ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า ‘ขนม ค-ร-ก’ นั่นเอง

โรตีสายไหม



โรตีสายไหม 
เป็นอาหารประเภทขนมหวานชนิดหนึ่งมีส่วนประกอบหลักอยู่สองส่วน คือ แผ่นแป้ง และ ส่วนไส้ที่เป็น น้ำตาลเคี่ยวทำเป็นเส้นฝอยที่เรียกว่า สายไหม เวลารับประทานจะนำแผ่นแป้งมาห่อไส้และม้วน เพื่อรับประทานโรตีสายไหม ผลิตมากและขึ้นชื่อที่จังหวัดอยุธยา และเป็นผลิตโอทอปของ ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติและความเป็นมาของโรตีสายไหมอยุธยา

โรตีสายไหมเป็นขนมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเป็นขนมของชาวไทยมุสลิมที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษคือนายบังเปีย แสงอรุณ เป็นผู้นำเข้ามาในจังหวัดอยุธยา นายบังเปียเกิดในครอบครัวที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือทำนา มีพี่น้อง ๑๐ คน ชื่อจริงคือ นายซาเล็ม แสงอรุณ เกิดวันพุธ เดือน ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ณ บ้านวงแหวน บางปะอิน คลอง ๑ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยฐานะที่ยากจน เด็กชายซาเล็มจึงตัดสินใจออกจากบ้าน เมื่ออายุได้ ๑๑ ขวบ ไปรับจ้างทั่วไปตามต่างจังหวัด จนกระทั่งไปอาศัยอยู่กับอาที่อำเภอ สัตหีบ จังหวัดชลบุรี ช่วยทำขนมหวาน เช่น โรตีกรอบ โรตีใส่นม แล้วนำไปขายที่บริเวณวัดหลวงพ่ออี๋ ในแต่ละวันเมื่อขายขนมเสร็จแล้วจะต้องกลับไปเคี่ยวน้ำตาลเพื่อนำไปหยอดที่แป้งกรอบ มีบางครั้งเคี่ยวน้ำตาลนานไปน้ำตาลจะแข็ง บังเปียจึงทดลองดึงน้ำตาลให้ยืดขึ้นเพื่อให้น้ำตาลอ่อนตัว หยอดที่โรตีกรอบได้ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำโรตีสายไหมและฝึกหัดดึงน้ำตาลเคี่ยวให้เป็นเส้นไหมอยู่หลายปี จนมีความชำนาญ

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ อายุได้ ๑๗ ปี ได้เดินทางกลับไปที่บ้านวงแหวน ฯ แล้วย้ายไปเช่าบ้านอยู่ที่ข้างสุเหร่าวัฒนาอำเภอพระนครศรีอยุธยา ทำโรตีสายไหมใส่กล่องไม้สะพาย ถีบจักรยานคู่ใจเร่ขายไปทั่ว ในสมัยนั้นคนซื้อจะนำเหรียญสลึงมาหย่อนลงในช่องที่เจาะไว้ เข็มที่หน้าปัดซึ่งมีตัวเลขเขียนไว้จะหมุนไป เมื่อเข็มหยุดที่เลขใดก็จะได้จำนวนชิ้นเท่านั้นเป็นที่สนุกสนานของคนซื้อ บังเปียขายอยู่หลายปี กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้แต่งงานกับนางมั่น เป็นชาวโคราชมีบุตรชาย ๓ คน และผู้หญิง ๒ คน จึงคิดที่จะสร้างครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นกว่าที่เป็นอยู่ ต่อมาได้ย้ายไปเช่าบ้านไปอยู่ในตัวเมืองอยุธยา ริมถนนอู่ทอง เส้นทางไปโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ช่วยกันทำโรตีสายไหมขายเป็นอาชีพของครอบครัว ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับ ไม่ยากแค้นเช่นในวัยเด็ก บังเปียไม่หยุดนิ่งในฝีมือ หมั่นปรับปรุงรสชาติแป้งโรตีอยู่เสมอให้ถูกใจผู้บริโภค เช่น จากสูตรดั้งเดิม ตัวแป้งมีส่วนประกอบ แป้งสาลี น้ำเกลือ ก็เพิ่มรสชาติด้วยการใส่นมกะทิ งา และธัญพืช กิจการขยายตัวขึ้นเป็นที่รู้จักของชาวอยุธยา และจัหวัดใกล้เคียง ขายได้ ๒๐๐ – ๓๐๐ กิโลกรัม ต่อวันจึงชักชวนพี่น้อง จำนวน ๖ คน ให้มายึดอาชีพทำโรตีสายไหมขาย ทำให้ตระกูลแสงอรุณขยายกิจการกระจายไปทั่วถนนอู่ทองและขยายวงกว้างไปตามเส้นทางสายเอเชีย ถนนมิตรภาพ ผ่านไปมาจะเห็นร่มกางสีสวยข้างทางพร้อมป้ายปักโรตีสายไหม อยุธยา สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ญาติ ไม่หวงวิชาถ่ายทอดด้วยความเต็มใจ จึงมีลูกศิษย์แยกตัวไปประกอบอาชีพนี้มากมาย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และให้มีการนำสินค้าขึ้นทะเบียน OTOP จึงทำให้มีการตั้งขายอยู่กับที่เปิดเป็นร้านถาวรมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น สายไหมจากเดิมมีสีเดียว รสชาติเดียว เปลี่ยนเป็นหลายสี หลายรสชาติมีทั้งรสส้ม รสใบเตย รสโกโก้ ส่วนแผ่นแป้งก็มีหลากหลายรสชาติเหมือนกัน เช่น รสใบเตยใส่งาใส่เม็ดมะม่วงหิมพานต์ป่น รสเผือก เป็นต้น

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติขนมฝรั่งกุฎีจีน

 

ประวัติขนมฝรั่งกุฎีจีน

ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมโบราณที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาที่ทำสืบต่อกันมาเรื่อยๆ ปัจจุบันขนมกุฎีจีนได้ทำอยู่ประจำที่ชุมชนกุฎีจีน เอกลักษณ์ของขนมกุฎีจีนชนิดนี้อยู่ที่เป็นขนมลูกผสมระหว่างจีนกับฝรั่ง ตัวขนมเป็นตำรับของโปตุเกส ขณะที่หน้าของขนมเป็นจีน ซึ่งประกอบด้วยฝักเชื่อม ชาวจีนเชื่อว่ารับประทานแล้วจะร่มเย็น น้ำตาลทรายทานแล้วจะมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกพลับอบแห้ง และลูกเกด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหาร แม้ขนมฝรั่งหน้าตากระเดียดมาทางขนมเค้ก แต่ด้วยสูตรพิเศษที่สืบทอดมาแต่โบราณจะใช้เพียงไข่ แป้งสาลี และน้ำตาลทรายแดงเท่านั้น ไม่มีส่วนผสมของเนยนม ยีสต์ ผงฟู และสารกันบูด แต่เมื่อผ่านการอบด้วยอุณหภูมิความร้อนที่พอเหมาะ จะได้ขนมที่ออกมารสชาติกรอบนอกนุ่มในพอดิบพอดี ยากที่จะเลียนแบบ
ชุมชนกุฎีจีน มีประวัติความเป็นมากว่า 200 ปี ย้อนกลับไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้น โดยที่พระองค์ได้รวบรวมเหล่าไพร่พลที่กระจัดกระจายหลังจากศึกสงคราม ทั้งชาวไทย ชาวจีน และชาวโปรตุเกส และพราชทานที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยโดยผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ล้วนแตกต่างกันด้วย ความคิด เชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนา การที่คนเชื้อชาติต่างๆ ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็ได้รับซึมซับวัฒนธรรมของไทยเข้าไปด้วย แต่วัฒนธรรมเชื้อชาติเดิมของเขาก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ แต่จะหลงเหลืออยู่ในด้านอาหารการกินซะส่วนใหญ่ เช่นสูตรทำขนมที่คนรุ่นเก่าแก่ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังๆ อย่างขนมฝรั่งกุฎีจีน โดยได้ต้นตำหรับมาจากชาวโปรตุเกส ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้
ขนมฝรั่งกุฎีจีน หน้าขนมฝรั่งมีความหมายมากกว่าความอร่อย ชิ้นฟักเชื่อม มีความหมายให้อยู่เย็นเป็นสุข   ลูกเกต และลูกพลับ เป็นผลไม้มีประโยชน์ และราคาแพง ถ้าใครซื้อ ต้องเป็นคนที่สำคัญจริงๆ
ส่วนน้ำตาลนั้น หมายความว่าขอให้มีความสุข ร่ำรวยกันจนนับไม่ถ้วน

กุฎีจีนเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี บรรพบุรุษของชาวกุฎีจีนประกอบไปด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติและต่างศาสนา ซึ่งในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนมาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือคลองกุฎีจีนใกล้วัดกัลยาณมิตร ส่วนชาวคริสต์และโปรตุเกส ตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ตอนใต้ลงมา

ที่มาของชื่อ “กุฎีจีน” นี้น่าจะมาจากที่บริเวณนี้มีชาวจีนอยู่มาก่อน และมีศาลเจ้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมคลองกุฎีจีน ปัจจุบันศาลเจ้าจีนแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ โดยยังคงสถาปัตยกรรมจีนโบราณ ภายในประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม ส่วนชาวคริสต์สร้างโบสถ์ขึ้นชื่อว่า “โบสถ์ซางตาครู้ส”

ขนมไหว้พระจันทร์

 วันไหว้พระจันทร์ ซึ่งตามหลักปฏิทินแล้ว วันไหว้พระจันทร์ จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี โดยบางปี วันไหว้พระจันทร์จะตรงกับเดือนกันยายน หรือเดือนตุลาคม ซึ่งจะตรงกับช่วงฤดูเทศกาลฤดูใบไม้ร่วง ของชาวจีน ซึ่งชาวจีนจะจัดเทศกาลไหว้พระจันทร์กันมาเป็นระยะเวลายาวนาน สืบต่อกันมาแล้วนับพันปี
เทศกาลไหว้พระจันทร์
เทศกาลไหว้พระจันทร์
ประวัติวันไหว้พระจันทร์
เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือวันไหว้พระจันทร์ของชาวจีนนั้น ประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่าเริ่มเกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวมองโกลยึดครองประเทศจีน โดยชาวมองโกลได้ส่งทหารของตนไปอยู่ในบ้านของชาวจีนครอบครัวละ 1 คน ซึ่งนั้นแสดงว่าครอบครัวชาวจีนนั้นจะต้องดูแลเลี้ยงดูทหารมองโกลนั้นเอง จนวันเวลาผ่านมา หลิวปั่วเวิน ได้คิดวิธีกำจดทหารมองโกลเหล่านี้ ด้วยวิธี นำกระดาษเขียนข้อความ แล้วสอดไส้ไว้ในขนม แล้วเรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนลงมือสังหารทหารมองโกลที่ประจำอยู่ในบ้านของตนอยางพร้อมเพรียงกัน ในวันเพ็ญเดือน 8 ซึ่งเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้จีนสามารถโค่นล้มอำนาจการปกครองของชาวมองโกลได้ในที่สุด
หลังจากนั้นได้มีการจัดงานฉลอง เพื่อรำลึกถึงการกอบกู้แผ่นดิน โดยร่วมรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ร่วมกัน จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์จะต้องจัดในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ของชาวจีน นั้นก็คือ เดือน 8 ตามประวัติศาสตร์ นั้นเอง
การไหว้พระจันทร์
การไหว้พระจันทร์ จะเริ่มต้นในตอนหัวค่ำซึ่งดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้า และถึงแม้ปีไหนหรือสถานที่แห่งนั้นไม่สามารถมองเห็นพระจันทร์ได้ แต่ชาวไทยเชื่อสายจีน หรือชาวจันก็จะยังคงมีการไหว้พระจันทร์ในค่ำคืนนั้นเช่นเดิม และหลังพิธีไหว้พระจันทร์สิ้นสุดลง สมาชิกในครอบครัวจะร่วมกันกินขนมไหว้พระจันทร์ โดยนำมาแบ่งเท่าๆ กันตามจำนวนคนในครอบครัว ซึ่งชาวจีนมีความเชื่อถึงขนมไหว้พระจันทร์ที่มีลักษณะทรงกลม เพราะจะให้รูปลักษณ์คล้ายพระจันทร์ และสื่อถึงความกลมเกลี่ยวในครอบครัว บรรพบุรุษ และคนในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันนั้นเอง
ขนมไหว้พระจันทร์
ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นของที่ใช้สำหรับเซ่นไหว้พระจันทร์ นับเป็นของสำคัญในเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ จะมีลักษณะเป็นขนมเค้กทรงกลม ทำจากแป้งนวด แล้วกดลงใส่แป้นพิมพ์ลวดลายสวยงาม จากนั้นนำไปอบ และเคลือบผิวขนมไหว้พระจันทร์ด้วยน้ำเชื่อม ภายในขนมไหว้พระจันทร์จะสอดไส้ต่างๆ เช่น เมล็ดบัว พุทราจีน ทุเรียน ไข่เค็ม เป็นต้น

ความเชื่อเทศกาลไหว้พระจันทร์ในปัจจุบัน
ประเพณีการไหว้พระจันทร์นี้ ถือเป็นประเพณีหนึ่งที่สำคัญอยู่ตามที่บอกไปข้างต้นแล้ว ซึ่งเป็นจุดยึดเหนี่ยวของคนสมัยก่อน แต่ภายหลังจากที่เทคโนโลยีก้าวไกลไปมากขึ้น เทศกาลไหว้พระจันทร์ก็ถือมีความสำคัญลดลงอยู่มาก โดยเฉพาะเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญที่มีการส่งมนุษย์ไปเหยียบถึงดวงจันทร์ ด้วยเทคโนโยีและการศึกษาทางอวกาล ทำให้ความเชื่อมั่นถึงความศักดิสิทธิ์ของการไหว้ดวงจันทร์นั้นลดลงไปอย่างมาก เนื่องจากในอดีตเชื่อว่าดวงจันทร์นั้น เป็นพื้นที่ศักดิสิทธิ์ และไม่มีวันที่มนุษย์จะไปถึงได้นั้นเอง

ปาท่องโก๋ อาหารเช้าแสนอรอ่ย



ปาท่องโก๋ เป็นชื่อของกินชนิดหนึ่งของจีน ทำด้วยแป้งสาลีตัดเป็นท่อน ๆ แล้วจับเป็นคู่ติดกัน ทอดนํ้ามันให้พอง นิยมกินเป็นอาหารเช้าพร้อมกับโจ๊กหรือเครื่องดื่มร้อน เช่น น้ำเต้าหู้ กาแฟ โกโก้ หรือช็อกโกแลต

′ปาท่องโก๋′ ที่เราเรียกกันจนติดปาก แท้ที่จริงแล้ว เพี้ยนมาจากคำว่า ′ปั้กถ่งโก๋′ ในภาษาจีน ซึ่งคำว่า ปั้ก แปลว่า สีขาว ส่วนคำว่า ถ่ง แปลว่า น้ำตาล และคำว่า โก๋ แปลว่า ขนม

ปั๊กถ่งโก๋ จึงแปลรวมกันได้ว่า ขนมน้ำตาลทรายขาว ดังนั้น ′ซาลาเปาทอด′น่าจะเป็นเจ้าของชื่อ ปั๊กถ่งโก๋ มากกว่า ส่วนชื่อของ ปาท่องโก๋จริงๆ นั้น คนจีนเรียกว่า ′อิ่วจาก้วย′ เนื่องจากในสมัยก่อน เมื่อแม่ค้าชาวจีนที่ขายปั๊กถ่งโก๋ มักจะขายอิ่วจาก้วยคู่กันด้วย พอคนขายตะโกนร้องขายขนมสองชนิดนี้ อาจทำให้คนไทยเข้าใจผิดเรียกชื่อสลับกัน คิดว่า เจ้าแป้งสองชิ้นทอดติดกันนี้มีชื่อว่า ′ปาท่องโก๋′ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นอกจากนี้ ′ปาท่องโก๋′ ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการสาปแช่งคู่สามีภรรยาที่ทรยศขายชาติอีกด้วย

มีตำนานเล่าต่อกันว่า ในสมัยราชวงศ์ซ้อง มีแม่ทัพนายหนึ่งชื่อ ′งักฮุย′ เป็นคนที่รักชาติยิ่งชีพ และมีความเก่งกาจสามารถรบชนะข้าศึกเป็นจำนวนมาก จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว จนขุนนาง ′ฉินข้วย′ และ ′ภรรยาแซ่หวัง′ ซึ่งเป็นคนโลภ ได้ถูกฝ่ายตรงข้ามใช้เงินหว่านล้อมให้ทรยศต่อชาติเป็นพวกได้สำเร็จ เข้ากราบทูลเท็จต่อองค์ฮ่องเต้ว่า งักฮุยคิดการใหญ่ และแอบหลบหนีกองทัพในยามสงคราม ทำให้งักฮุยถูกประหารชีวิต

เมื่อข่าวแพร่ออกไป ชาวบ้านต่างรู้สึกโกรธแค้น จึงใช้วิธีการสาปแช่งด้วยการปั้นแป้งมาประกบติดกัน เพื่อเป็นตัวแทนของ ′ฉินข้วยและภรรยา′ ขุนนางขายชาติ ก่อนหย่อนใส่น้ำมันเดือดพล่าน เมื่อแป้งสุกแล้วก็นำมากัดกินด้วยความโกรธเกลียด เพื่อให้สาสมกับการกระทำดังกล่าว และเรียกขนมแป้งแห่งความเกลียดชังนั้นว่า ′อิ่วจาก้วย′ หมายถึง น้ำมันทอด ′ฉินข้วย′ นั่นเอง

ไก่ย่้างในตำนาน ตอน 2

ไก่ย่างในตำนานตอน 2

ขอเสนอไก่ย่างเจ้าอร่อยในตำนานตอน 2

ไก่ย่างจีระพันธ์ จากเขตพระโขนง กรุงเทพฯ เป็นไก่ย่างสูตรมุสลิมของชาวอิสลามแท้ๆ จุดเด่นอยู่ที่เครื่องเทศที่ที่เรียกว่า มาซาลาหอมกลิ่นขมิ้น พรมน้ำกะทิไปเรื่อยๆ ระหว่างการย่างจนหนังเป็นสีเหลืองทอง เทคนิคอีกอย่างคือ เมื่อมีลูกค้ามาสั่งจะสับไก่เป็นชิ้นโต ย่างและพรมน้ำกะทิซ้ำอีกรอบ



ไก่ย่างนิตยา จาก จ.นนทบุรี เป็นร้านอาหารติดแอร์ที่ขึ้นชื่อเรื่องไก่ย่างมาช้านาน ใช้ไก่บ้านเป็นหลัก ปรุงเครื่องหมักรสแบบไทยๆ ตามสูตรเฉพาะ ย่างจนได้หอมนุ่มชุ่มเนื้อ

                                           ศิริชัยไก่ย่าง

ร้านศิริชัยไก่ย่าง ซึ่งไก่โดยทั่วๆไป จะเป็นแบบปิ้ง คือแบะไก่ออก แล้วปิ้งแห้งๆ ซึ่งด้วยความที่มีเชื้อสายจีน ประกอบกับไก่ย่างเป็นอาหารสำหรับไทย และออกแนวอีสาน จึงได้ผสมผสานสูตร ไทย จีน อีสานเข้าด้วยกัน   ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวก็คือไก่ย่างจะต้อง มีความแปลกกว่าที่อื่นๆ ก็คือเป็นไก่ย่างที่ใช้แกนหมุนขณะที่ไก่ย่างเจ้าอื่นจะย่าง


                                                        ลิขิตไก่ย่าง


ลิขิตไก่ย่าง พูดถึงร้านไก่่ย่างเสียบไม้ในกรุงเทพฯ คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อ ลิขิตไก่ย่าง เพราะเปิดขายมากว่า 54 ปีแล้ว และถ้าจะบอกว่าที่นี่คือร้านไก่ย่างในตำนาน ก็คงจะไม่เป็นการกล่าวเกินจริงนัก ด้วยกิตติศัพท์เรื่องรสชาติที่นักชิมรุ่นใหญ่ต่างยกนิ้ว   



ไก่ย่าง 5ดาว
ไก่ย่างห้าดาว เป็นเฟรนไชส์ไก่ย่างของกลุ่มบริษัทซีพี เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528

โดยมีจุดขายจุดแรกที่ ถ.ลาดพร้าว บริเวณปากซอยลาดพร้าว 80 โดยในการเริ่มดำเนินการครั้งนั้น เนื่องจาก เป็นการเริ่มธุรกิจใหม่ จึงเป็นการดำเนินกิจการของบริษัทเอง ซึ่งก็ได้มีการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง 

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ไก่ย่างแบรนด์ไทย อร่อยโดนใจทั้งเมือง




ไก่ย่างแบรนด์ไทย อร่อยโดนใจทั้งเมือง


 “ไก่ย่าง” เป็นเมนูที่หากินได้ง่ายในบ้านเรา เรียกว่าเดินไปตามถนนหรือตรอกซอกซอยไหนก็มักจะเห็นไก่ย่างควันโขมงเปิดขายกันโดยทั่วไป
       
       ความน่ากินของไก่ย่างก็คือ กลิ่นหอมๆ จากการย่างและเครื่องหมักต่างๆ เนื้อนุ่ม ได้รสชาติ ซึ่งแต่ละร้านก็จะมีเคล็ดลับการหมักไก่และย่างไก่ที่แตกต่างกันไป
       
       ส่วนไก่ย่างชื่อดังของไทยนั้น ก็มีอยู่หลากหลายเจ้า แต่ที่เด่นๆ ส่วนใหญ่ก็จะขายอยู่ตามริมถนนเส้นหลักในจังหวัดต่างๆ เสียมากกว่า เนื่องจากไก่ย่างนั้นเป็นอาหารแห้งที่สามารถพกพาไปกินได้ง่าย ไม่ว่าจะแวะกินหรือซื้อติดไม้ติดมือไปกินระหว่างเดินทางก็สะดวกดี
       
       และนี่คือไก่ย่างแบรนด์ไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วประเทศ
       
      


 ไก่ย่างเขาสวนกวาง
       บริเวณถนนมิตรภาพ อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น
  
       ไก่ย่างเขาสวนกวาง เริ่มต้นจากการขายไก่ย่างริมถนน แบบที่เป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้าน และขายให้กับผู้ที่สัญจรผ่านไปผ่านมาในแถบนั้นได้ชิม และกินคู่กับข้าวเหนียวนึ่ง ต่อมา เมื่อถนนมิตรภาพมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงทำให้การค้าขายไก่ย่างเขาสวนกวางคึกคักขึ้นด้วยเช่นกัน เริ่มมีการพัฒนามาเป็นร้านนั่ง หลังจากที่ขายไก่ย่างเป็นเพิงในสมัยก่อน จนในปี พ.ศ.2517 ก็ได้มีการจัดการประกวดไก่ย่างเขาสวนกวาง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าเริ่มหันมาพัฒนารสชาติให้ดีขึ้น
  
       จุดเด่นของไก่ย่างเขาสวนกวางคือ การคัดเลือกไก่ เกรดซี พันธุ์เนื้อ อายุประมาณ 45-50 วัน มีน้ำหนักและขนาดประมาณ 700-800 กรัมต่อตัว นำมาหมักกับสูตรเฉพาะของทางอำเภอประกอบด้วย เกลือแกง ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ ซอสปรุงรส ขิงแก่ กระเทียม พริกไทยป่น น้ำปลา โดยนำมาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากัน บีบนวดให้เข้าถึงเนื้อไก่และทิ้งไว้อย่างน้อย 20 นาที ก่อนนำไก่ทั้งตัวที่หมักแล้วไปย่างบนไฟที่พอเหมาะบนเตา สำหรับน้ำจิ้มก็เป็นสูตรเฉพาะเช่นกัน คือ การใช้น้ำมะขามเปียกต้ม ผสมน้ำปลา พริกแห้งป่น น้ำตาล
                                                             
 
  ไก่ย่างวิเชียรบุรี
       บริเวณทางหลวงหมายเลข 21 อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
  
       ริมถนนสายหลัก บริเวณ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ แต่เดิมนั้นเป็นจุดแวะพักสำหรับคนเดินทาง เนื่องจากมีต้นไม้ร่มรื่น พื้นที่เหมาะสำหรับการพัก จึงทำให้มีชาวบ้านมาย่างไก่ ตำส้มตำ และนึ่งข้าวเหนียวเพื่อขายให้กับผู้ที่สัญจรผ่านไปมา ซึ่งเมนูหลักๆ ที่ผู้คนชื่นชอบก็คือ ไก่ย่าง
  
       ความพิเศษของไก่ย่างวิเชียรบุรี คือ หนังไก่จะแห้งกรอบ ส่วนเนื้อจะนุ่ม กลิ่นหอม รสชาติเค็มมันพอดี รับประทานได้โดยไม่ต้องจิ้มน้ำจิ้มก็ได้ แต่ก็ยังมีน้ำจิ้มที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ ก็คือ น้ำจิ้มมะขาม และน้ำจิ้มสูตรกระเทียมดอง ซึ่งเป็นสูตรของ จ.เพชรบูรณ์
  
       ด้วยชื่อเสียงและความนิยมในไก่ย่างวิเชียรบุรี ทำให้เกิดอาชีพที่เอื้อกันต่อมา เช่น การเลี้ยงไก่ การรับจ้างถอนขนไก่ รวมทั้งการจำหน่ายอาหารอื่นๆ ข้าวหลาม เครื่องดื่ม และของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ นับเป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชนโดยเฉลี่ยในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก
                                                    
  
 ไก่ย่างห้วยทับทัน
       บริเวณถนนศรีสะเกษ-สุรินทร์ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
  
       ไก่ย่างห้วยทับทัน จะวางขายอยู่ริมฝั่งสองข้างทางของถนนศรีสะเกษ-สุรินทร์ ซึ่งนอกจากจะขายอยู่ตามร้านแล้ว ก็ยังมีบางส่วนที่เดินเร่ขายมายังรถที่จอดรับส่งผู้โดยสารอยู่ด้วย ซึ่งในอดีต ก็ยังมีการนำไก่ย่างเหล่านี้ไปขายบนขบวนรถไฟ เนื่องจากในอำเภอมีสถานีรถไฟ สายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี วิ่งผ่าน จนกระทั่งมีการสร้างถนน จึงได้ขยับขยายมาขายอยู่ริมทางเหมือนในปัจจุบัน
  
       ความพิเศษของไก่ย่างที่นี่มีหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ คือ การนำไก่พื้นเมืองหรือที่ชาวห้วยทับทันเรียกว่าเป็น “ไก่สามสายเลือด” เพราะเป็นลูกผสมของไก่ข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ ไก่โรดไอส์แลนด์ ร่วมกับไก่ซุปเปอร์ฮาโก้ และผสมกับไก่พื้นเมืองไก่ชน ทำให้ได้ไก่ที่เนื้อค่อนข้างเหนียว เหมาะกับการนำมาทำเป็นไก่ย่าง
  
       ส่วนอีกหนึ่งจุดเด่นที่จะขาดไม่ได้ คือ การนำไม้มะดัน ซึ่งเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปริมลำห้วยทับทัน มาใช้เป็นไม้สำหรับย่างไก่ จึงทำให้ไก่ย่างห้วยทับทัน มีชื่อเรียกอีกอย่างที่ติดปากคนทั่วไปว่า “ไก่ย่างไม้มะดัน”
                                                                    
  
 ไก่ย่างจักราช
       สถานีรถไฟท่าช้าง อ.จักราช จ.นครราชสีมา
  
       ไก่ย่างจักราช เมื่อสมัยก่อนมีชื่อว่า “ไก่ย่างท่าช้าง” เนื่องจากเดิมนั้น กิ่งอำเภอท่าช้าง ที่ขึ้นอยู่กับ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็น อ.จักราช จึงทำให้เปลี่ยนชื่อเรียกจากไก่ย่างท่าช้างมาเป็นไก่ย่างจักราชไปด้วย เดิมนั้นจะวางขายไก่ย่างอยู่ริมทางรถไฟ หน้าสถานีรถไฟท่าช้าง ต่อมาเมื่อมีถนนตัดผ่าน มีความสะดวกสบายมากขึ้น ก็เริ่มมีพ่อค้าแม่ค้ารับไก่ย่างจากหน้าสถานีรถไฟมาขายอยู่ในเมือง จึงทำให้สามารถหาไก่ย่างจักราชกินได้ง่ายมากขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานีรถไฟเหมือนเมื่อก่อน
  
       ไก่ย่างจักราช แตกต่างจากไก่ย่างเจ้าอื่นๆ ตรงที่เวลาหมักไก่ จะใส่เครื่องเทศจีน จำพวกเครื่องพะโล้และผงผสมเครื่องยาจีนลงไปด้วย และยังหมักเครื่องปรุงต่างๆ เพื่อเพิ่มรสชาติของเนื้อไก่ เมื่อย่างสุกออกมาแล้วจึงมีกลิ่นที่หอมหวนชวนกิน แตกต่างไปจากไก่ย่างที่อื่นๆ

                                         
        ไก่ย่างบางตาล
       สถานีรถไฟคลองบางตาล อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 
  
       บริเวณสถานีรถไฟคลองบางตาล อ.บ้านโป่ง ขึ้นชื่อเรื่องของข้าวแกงและไก่ย่าง ซึ่งข้าวแกงนั้นก็จะมีแม่ค้าหาบมาขาย ให้ผู้โดยสารบนรถไฟตะโกนสั่งลงมา แล้วจึงตักใส่กระทงยื่นขึ้นไปให้ ส่วนไก่ย่างนั้น แม่ค้าพ่อค้าจะย่างจนสุกจากด้านล่าง แล้วจัดใส่ถาดแบกขึ้นไปขายบนโบกี้รถไฟ ขายไปเรื่อยๆ เมื่อหมดลูกค้าจึงลงรถไฟที่สถานีถัดไป แล้วรอขบวนรถที่สวนกลับมาทางเดิม
  
       จุดเด่นของไก่ย่างบางตาลคือการหมักด้วยกระเทียมพริกไทยเพิ่มกลิ่นหอม ความอร่อยอยู่ที่เนื้อไก่นุ่มไม่แข็งกระด้าง เนื้อสุกไปจนถึงกระดูกไม่แฉะเละ บวกกับเครื่องปรุงที่หมักมาจนซึมซาบเข้าเนื้อใน ส่วนไม้ที่ใช้ประกบเป็นไม้ไผ่ ผ่าเป็น 3 แฉก แยกการย่างเป็นเนื้อส่วนอก ตะโพกติดน่อง แผ่เหมือนรูปพัด สีไก่เมื่อย่างแล้วออกเหลืองสวย หอมกลิ่นพริกไทย เวลากินไม่ต้องจิ้มน้ำจิ้มก็ได้ แต่หากได้กินคู่กับข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ ก็จะยิ่งอร่อย
  
       นอกจาก 5 ไก่ย่างแบรนด์ดังซึ่งเป็นที่รู้จักคุ้นลิ้นกันดีแล้ว ก็ยังมีไก่ย่างท้องถิ่นเด่นๆ อย่างไก่ย่างภูเวียง จ.ขอนแก่น หรือ ไก่ย่างบ้านแคน ที่อยู่ที่บ้านแคน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร(ในเส้นทางมุ่งหน้าสู่อุบลฯ ก่อนถึงอ.เขืองใน จ.อุบลราชธานี) เป็นไก่ย่างที่ขายอยู่ริมทาง มีจุดเด่นที่ความลงตัวในการหมักไก่ และน้ำจิ้มที่เป็นเอกลักษณ์