ขนมไทยประจำจังหวัดภาคกลาง
ภาคกลาง 21 จังหวัด
1.จังหวัดกำแพงเพชร กระยาสารท เป็นขนมที่ทำกันในช่วงสารทไทย โดยทำจาก ข้าวตอก ข้าวเม่า
ถั่วลิสง งา มาคั่วให้สุก แล้วนำมากวนกับน้ำตาลจนเหนียวติดกันเป็นปึกนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ซึ่งปลูกมากในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงถือว่าเป็นขนมประจำเมืองกำแพงเพชร
2.จังหวัดชัยนาท ขนมกง
ขนมกง คือขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงานเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปไม่ไห้สิ้นสุดส่วนผสม ของขนมกง ประกอบด้วย ถั่วเหลือง น้ำตาล มะพร้าว น้ำตาล แป้ง และขนมกง ยังมีคุณค่าทางอาหารด้านโปรตีน
3.จังหวัดนครปฐม วุ้นมะพร้าว
วุ้นมะพร้าว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีอยู่จำนวนมาก และมีวิธีการทำคือ นำน้ำมะพร้าวน้ำหอมมาเป็นส่วนผสมในการทำวุ้นมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งมีรสชาติ หอม หวาน มัน มีคุณค่าทางอาหาร จึงเป็นที่นิยมรับประทานและเป็นของฝาก ประจำจังหวัดนครปฐม
4.จังหวัดนครนายก เผือกเส้นทอดกรอบ
เผือกเส้นทอดกรอบ เป็นการแปรรูปของผลิตผลทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า
5.จังหวัดนครสวรรค์ ขนมโมจิ
ขนมโมจิ เป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครสวรรค์ โดยได้มีการพัฒนารูปแบบและรสชาติที่น่าอร่อยน่ารับประทาน ทั้งไส้ถั่วเขียว ไส้ถั่วดำ ไข่เค็มแดง อีกทั้งเนื้อแป้งยังนุ่ม หอม หวาน พร้อมด้วยคุณค่าทางอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
6.จังหวัดนนทบุรี ขนมจ่ามงกุฎ
ขนมจ่ามงกุฎ ในโบราณเป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อประกอบเครื่องคาวหวานในงานมงคลไม่ว่าจะเป็นงานบุญหรืองานประเพณีต่างๆ ของไทย การเลือกชนิดขนมมาใช้ในงานมงคลโดยมากจะเลือกจากชื่อขนมที่มีคำความหมายดีๆ ขนมจ่ามงกุฎ มีส่วนผสมประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนตัวขนม ส่วนแป้งรองขนม และส่วนการแต่งขนม (ลูกกวาดแตงกวา)
7.จังหวัดปทุมธานี กาละแม
กาละแม เป็นขนมไทยโบราณที่นิยมทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยเพื่อใช้ในงานบุญและใช้แจกในงานเทศกาลแก่ญาติผู้ใหญ่และพี่น้องกาละแม มีส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียว น้ำตาลทราย กะทิ และน้ำสะอาดต้มสุก
8.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรตีสายไหม
โรตีสายไหม ตอนแรกมีส่วนผสมเพียงแป้งและน้ำตาล ต่อมาได้พัฒนาส่วนผสมผลไม้และสมุนไพร เช่น น้ำมะพร้าว งาดำ ส้ม องุ่น เป็นต้น จำเป็นที่ขึ้นชื่อและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นของฝากประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบันนี้
9.จังหวัดพิจิตร ขนมชั้น
ขนมชั้น ถือว่าเป็นขนมหวานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิจิตร ในเรื่องของรสชาติและรูปแบบขนมชั้นมักนิยมในช่วงวันแต่งงาน วันพระ ส่วนผสมทำจากแป้ง น้ำตาลทราย และกะทิสีสันของขนมอาจทำมาจากใบเตย ปัจจุบันทำมาดัดแปลงพับเป็นรูปดอกกุหลาบที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย
10.จังหวัดพิษณุโลก ขนมกล้วยตากบางกระทุ่ม
ขนมกล้วยตาก เนื่องจากมีกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงคิดวิธีทดลองถนอมอาหาร โดยการนำกล้วยสุกไปตากแดดเก็บไว้รับประทานและแจกชุมชนใกล้เคียงจนเป็นที่ติดปากและถูกใจ ในรสชาติต่อมาชาวบ้านได้ปรับปรุงและพัฒนาจนปัจจุบันเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิษณุโลก
11.จังหวัดเพชรบูรณ์ มะขามแปรรูป
มะขามแปรรูป ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปมะขามเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นาน ซึ่งตอนแรกได้แปรรูปเป็นมะขามกวนปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เรื่อยมาและเป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์
12.จังหวัดลพบุรี วุ้นมะพร้าวในน้ำเชื่อม
วุ้นมะพร้าวในน้ำเชื่อม ริเริ่มทำโดยข้าราชการบำนาญของจังหวัดลพบุรี วิธีการทำคือทำน้ำมะพร้าวให้เป็นชั้นวุ้นและนำมาแปรรูปในขวดแก้วออกจำหน่ายตามท้องตลาด ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
13.จังหวัดสมุทรปราการ ขนมมะพร้าวแก้ว
ขนมมะพร้าวแก้ว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทำจากมะพร้าวและน้ำตาล ต่อมาได้เพิ่มสีสันลงไป วัตถุดิบหาได้ง่าย วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเหมาะกับผู้ที่เริ่มหัดทำขนม อีกทั้งยังสามารถพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะต่างๆ ได้อีกด้วย
14.จังหวัดสมุทรสงคราม ขนมจาก
ขนมจาก เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามวัสดุที่ใช้ห่อขนม คือ ใบจาก เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่มีประวัติยาวนานหลายชั่วอายุคน ต่อมาการทำน้ำตาลมะพร้าวลดน้อยลงขนมชนิดนี้ก็หารับประทานได้ยากขึ้น แต่จะมีทำขายกันตามแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
15.จังหวัดสมุทรสาคร
ถั่วลิสง งา มาคั่วให้สุก แล้วนำมากวนกับน้ำตาลจนเหนียวติดกันเป็นปึกนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ซึ่งปลูกมากในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงถือว่าเป็นขนมประจำเมืองกำแพงเพชร
2.จังหวัดชัยนาท ขนมกง
ขนมกง คือขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงานเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปไม่ไห้สิ้นสุดส่วนผสม ของขนมกง ประกอบด้วย ถั่วเหลือง น้ำตาล มะพร้าว น้ำตาล แป้ง และขนมกง ยังมีคุณค่าทางอาหารด้านโปรตีน
3.จังหวัดนครปฐม วุ้นมะพร้าว
วุ้นมะพร้าว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีอยู่จำนวนมาก และมีวิธีการทำคือ นำน้ำมะพร้าวน้ำหอมมาเป็นส่วนผสมในการทำวุ้นมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งมีรสชาติ หอม หวาน มัน มีคุณค่าทางอาหาร จึงเป็นที่นิยมรับประทานและเป็นของฝาก ประจำจังหวัดนครปฐม
4.จังหวัดนครนายก เผือกเส้นทอดกรอบ
เผือกเส้นทอดกรอบ เป็นการแปรรูปของผลิตผลทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า
5.จังหวัดนครสวรรค์ ขนมโมจิ
ขนมโมจิ เป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครสวรรค์ โดยได้มีการพัฒนารูปแบบและรสชาติที่น่าอร่อยน่ารับประทาน ทั้งไส้ถั่วเขียว ไส้ถั่วดำ ไข่เค็มแดง อีกทั้งเนื้อแป้งยังนุ่ม หอม หวาน พร้อมด้วยคุณค่าทางอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
6.จังหวัดนนทบุรี ขนมจ่ามงกุฎ
ขนมจ่ามงกุฎ ในโบราณเป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อประกอบเครื่องคาวหวานในงานมงคลไม่ว่าจะเป็นงานบุญหรืองานประเพณีต่างๆ ของไทย การเลือกชนิดขนมมาใช้ในงานมงคลโดยมากจะเลือกจากชื่อขนมที่มีคำความหมายดีๆ ขนมจ่ามงกุฎ มีส่วนผสมประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนตัวขนม ส่วนแป้งรองขนม และส่วนการแต่งขนม (ลูกกวาดแตงกวา)
7.จังหวัดปทุมธานี กาละแม
กาละแม เป็นขนมไทยโบราณที่นิยมทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยเพื่อใช้ในงานบุญและใช้แจกในงานเทศกาลแก่ญาติผู้ใหญ่และพี่น้องกาละแม มีส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียว น้ำตาลทราย กะทิ และน้ำสะอาดต้มสุก
8.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรตีสายไหม
โรตีสายไหม ตอนแรกมีส่วนผสมเพียงแป้งและน้ำตาล ต่อมาได้พัฒนาส่วนผสมผลไม้และสมุนไพร เช่น น้ำมะพร้าว งาดำ ส้ม องุ่น เป็นต้น จำเป็นที่ขึ้นชื่อและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นของฝากประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบันนี้
9.จังหวัดพิจิตร ขนมชั้น
ขนมชั้น ถือว่าเป็นขนมหวานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิจิตร ในเรื่องของรสชาติและรูปแบบขนมชั้นมักนิยมในช่วงวันแต่งงาน วันพระ ส่วนผสมทำจากแป้ง น้ำตาลทราย และกะทิสีสันของขนมอาจทำมาจากใบเตย ปัจจุบันทำมาดัดแปลงพับเป็นรูปดอกกุหลาบที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย
10.จังหวัดพิษณุโลก ขนมกล้วยตากบางกระทุ่ม
ขนมกล้วยตาก เนื่องจากมีกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงคิดวิธีทดลองถนอมอาหาร โดยการนำกล้วยสุกไปตากแดดเก็บไว้รับประทานและแจกชุมชนใกล้เคียงจนเป็นที่ติดปากและถูกใจ ในรสชาติต่อมาชาวบ้านได้ปรับปรุงและพัฒนาจนปัจจุบันเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิษณุโลก
11.จังหวัดเพชรบูรณ์ มะขามแปรรูป
มะขามแปรรูป ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปมะขามเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นาน ซึ่งตอนแรกได้แปรรูปเป็นมะขามกวนปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เรื่อยมาและเป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์
12.จังหวัดลพบุรี วุ้นมะพร้าวในน้ำเชื่อม
วุ้นมะพร้าวในน้ำเชื่อม ริเริ่มทำโดยข้าราชการบำนาญของจังหวัดลพบุรี วิธีการทำคือทำน้ำมะพร้าวให้เป็นชั้นวุ้นและนำมาแปรรูปในขวดแก้วออกจำหน่ายตามท้องตลาด ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
13.จังหวัดสมุทรปราการ ขนมมะพร้าวแก้ว
ขนมมะพร้าวแก้ว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทำจากมะพร้าวและน้ำตาล ต่อมาได้เพิ่มสีสันลงไป วัตถุดิบหาได้ง่าย วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเหมาะกับผู้ที่เริ่มหัดทำขนม อีกทั้งยังสามารถพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะต่างๆ ได้อีกด้วย
14.จังหวัดสมุทรสงคราม ขนมจาก
ขนมจาก เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามวัสดุที่ใช้ห่อขนม คือ ใบจาก เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่มีประวัติยาวนานหลายชั่วอายุคน ต่อมาการทำน้ำตาลมะพร้าวลดน้อยลงขนมชนิดนี้ก็หารับประทานได้ยากขึ้น แต่จะมีทำขายกันตามแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
15.จังหวัดสมุทรสาคร
ขนมหมี่กรอบไทยสูตรโบราณขนมหมี่กรอบ เป็นขนมไทยโบราณที่สืบทอดกันมาช้านานโดยนิยมรับประทานกันเป็นอาหารว่าง สามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ในท้องถิ่นคือส่วนผสมที่เป็นกุ้งก็มีแหล่งเลี้ยงกุ้ง ไข่เป็ดก็มีการเลี้ยงเป็ด และน้ำตาลมะพร้าวชาวบ้านก็ปลูกมะพร้าวกันอย่างมาก จึงเป็นปัจจัยหลักในการผลิตขนมชนิดนี้
16.จังหวัดสิงห์บุรี เค้กปลาช่อน
เค้กปลาช่อน มีส่วนผสม คือ แป้งสาลีเอนกประสงค์ น้ำตาลทราย ไข่ไก่ เนยสดนมสด เนื้อปลาช่อนที่ดับคาวแล้ว เค้กปลาช่อน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและ เป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี
17.จังหวัดสระบุรี กระหรี่พัฟ
กระหรี่พัฟ เป็นขนมของว่างส่วนผสมของแป้งมีส่วนคือ แป้งนอกใช้แป้งสาลี น้ำ น้ำมันพืช น้ำตาลทรายนำมาผสมกัน ส่วนแป้งในมีแป้งสาลีกับน้ำมันพืช ส่วนไส้ที่นิยมทำมี 2 ชนิดคือไส้ไก่กับไส้ถั่ว กระหรี่พัฟเป็นขนมที่มีคุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่
18.จังหวัดสุโขทัย กล้วยอบเนย
กล้วยอบเนย มีกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากมากนัก โดยใช้กล้วยน้ำหว้าสดพันธุ์มะลิอ่อน ปอกเปลือกสไลด์เป็นแผ่นบางๆ สุดท้ายจะนำไปทอดในกระทะซึ่งมีเนยและน้ำตาลผสมอยู่และความสะอาดที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้กล้วยอบเนยได้รับการต้อนรับที่ดีจากตลาด
19.จังหวัดสุพรรณบุรี สาลี่
สาลี่ เป็นขนมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ซึ่งมีรสชาติ หอมหวาน อร่อยและอ่อนนุ่ม และมีคุณค่าต่อร่างกายมากมายอีกด้วย เพราะมีส่วนประกอบการผลิตขนมสาลี่นมสดกระชายดำ หรือสาลี่รสอื่นไม่มีการใส่สี และสารกันบูดแต่อย่างใด จนปัจจุบันขนมสาลี่เป็นที่นิยมมาก จนเป็นของฝากของจังหวัดสุพรรณบุรี
20.จังหวัดอุทัยธานี ขนมข้าวกุ้งกรอบ
ขนมข้าวกุ้งกรอบ เกิดจากการหุงข้าวสวยจำนวนมากๆแล้วกินไม่หมดจึงนำเอาเครื่องปรุงมาผสมเพื่อให้เกิดรสชาติอาหารที่กลมกล่อมและแปลกขึ้น เช่น กระเทียม พริกไทย กุ้งแห้งป่น เกลือ น้ำตาล นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปผึ่งแดดส่วนคุณค่าทางอาหารก็มากมาย เป็นขนมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จนทำเป็นของฝากและเป็นขนมมงคลในงานประเพณีต่างๆ รสชาติติดปากและถูกใจต่อนักท่องเที่ยว
ที่มาแวะเวียน จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและขึ้นชื่อของจังหวัด
21.จังหวัดอ่างทอง ข้าวตังหน้าตั้ง
ข้าวตังหน้าตั้ง เป็นขนมไทยพื้นเมืองทำจากข้าวเหนียว ตอนแรกทำแต่ข้าวตังหน้าตั้ง และต่อมาได้คิดดัดแปลงข้าวตังหน้าตั้ง จนกลายเป็นข้าวตังหมูหยองในปัจจุบันจนกลายเป็นขนมไทยที่มีชื่อเสียงให้แก่ชาวอ่างทอง
16.จังหวัดสิงห์บุรี เค้กปลาช่อน
เค้กปลาช่อน มีส่วนผสม คือ แป้งสาลีเอนกประสงค์ น้ำตาลทราย ไข่ไก่ เนยสดนมสด เนื้อปลาช่อนที่ดับคาวแล้ว เค้กปลาช่อน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและ เป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี
17.จังหวัดสระบุรี กระหรี่พัฟ
กระหรี่พัฟ เป็นขนมของว่างส่วนผสมของแป้งมีส่วนคือ แป้งนอกใช้แป้งสาลี น้ำ น้ำมันพืช น้ำตาลทรายนำมาผสมกัน ส่วนแป้งในมีแป้งสาลีกับน้ำมันพืช ส่วนไส้ที่นิยมทำมี 2 ชนิดคือไส้ไก่กับไส้ถั่ว กระหรี่พัฟเป็นขนมที่มีคุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่
18.จังหวัดสุโขทัย กล้วยอบเนย
กล้วยอบเนย มีกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากมากนัก โดยใช้กล้วยน้ำหว้าสดพันธุ์มะลิอ่อน ปอกเปลือกสไลด์เป็นแผ่นบางๆ สุดท้ายจะนำไปทอดในกระทะซึ่งมีเนยและน้ำตาลผสมอยู่และความสะอาดที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้กล้วยอบเนยได้รับการต้อนรับที่ดีจากตลาด
19.จังหวัดสุพรรณบุรี สาลี่
สาลี่ เป็นขนมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ซึ่งมีรสชาติ หอมหวาน อร่อยและอ่อนนุ่ม และมีคุณค่าต่อร่างกายมากมายอีกด้วย เพราะมีส่วนประกอบการผลิตขนมสาลี่นมสดกระชายดำ หรือสาลี่รสอื่นไม่มีการใส่สี และสารกันบูดแต่อย่างใด จนปัจจุบันขนมสาลี่เป็นที่นิยมมาก จนเป็นของฝากของจังหวัดสุพรรณบุรี
20.จังหวัดอุทัยธานี ขนมข้าวกุ้งกรอบ
ขนมข้าวกุ้งกรอบ เกิดจากการหุงข้าวสวยจำนวนมากๆแล้วกินไม่หมดจึงนำเอาเครื่องปรุงมาผสมเพื่อให้เกิดรสชาติอาหารที่กลมกล่อมและแปลกขึ้น เช่น กระเทียม พริกไทย กุ้งแห้งป่น เกลือ น้ำตาล นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปผึ่งแดดส่วนคุณค่าทางอาหารก็มากมาย เป็นขนมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จนทำเป็นของฝากและเป็นขนมมงคลในงานประเพณีต่างๆ รสชาติติดปากและถูกใจต่อนักท่องเที่ยว
ที่มาแวะเวียน จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและขึ้นชื่อของจังหวัด
21.จังหวัดอ่างทอง ข้าวตังหน้าตั้ง
ข้าวตังหน้าตั้ง เป็นขนมไทยพื้นเมืองทำจากข้าวเหนียว ตอนแรกทำแต่ข้าวตังหน้าตั้ง และต่อมาได้คิดดัดแปลงข้าวตังหน้าตั้ง จนกลายเป็นข้าวตังหมูหยองในปัจจุบันจนกลายเป็นขนมไทยที่มีชื่อเสียงให้แก่ชาวอ่างทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น