.

ยินดีต้อนรับสู่ นานาจัง ขีดๆเขียนๆ แวะมาอ่านนานาสารพัน รวมถึงฟังเพลงเพราะๆได้คะ

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติขนมฝรั่งกุฎีจีน

 

ประวัติขนมฝรั่งกุฎีจีน

ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมโบราณที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาที่ทำสืบต่อกันมาเรื่อยๆ ปัจจุบันขนมกุฎีจีนได้ทำอยู่ประจำที่ชุมชนกุฎีจีน เอกลักษณ์ของขนมกุฎีจีนชนิดนี้อยู่ที่เป็นขนมลูกผสมระหว่างจีนกับฝรั่ง ตัวขนมเป็นตำรับของโปตุเกส ขณะที่หน้าของขนมเป็นจีน ซึ่งประกอบด้วยฝักเชื่อม ชาวจีนเชื่อว่ารับประทานแล้วจะร่มเย็น น้ำตาลทรายทานแล้วจะมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกพลับอบแห้ง และลูกเกด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหาร แม้ขนมฝรั่งหน้าตากระเดียดมาทางขนมเค้ก แต่ด้วยสูตรพิเศษที่สืบทอดมาแต่โบราณจะใช้เพียงไข่ แป้งสาลี และน้ำตาลทรายแดงเท่านั้น ไม่มีส่วนผสมของเนยนม ยีสต์ ผงฟู และสารกันบูด แต่เมื่อผ่านการอบด้วยอุณหภูมิความร้อนที่พอเหมาะ จะได้ขนมที่ออกมารสชาติกรอบนอกนุ่มในพอดิบพอดี ยากที่จะเลียนแบบ
ชุมชนกุฎีจีน มีประวัติความเป็นมากว่า 200 ปี ย้อนกลับไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้น โดยที่พระองค์ได้รวบรวมเหล่าไพร่พลที่กระจัดกระจายหลังจากศึกสงคราม ทั้งชาวไทย ชาวจีน และชาวโปรตุเกส และพราชทานที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยโดยผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ล้วนแตกต่างกันด้วย ความคิด เชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนา การที่คนเชื้อชาติต่างๆ ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็ได้รับซึมซับวัฒนธรรมของไทยเข้าไปด้วย แต่วัฒนธรรมเชื้อชาติเดิมของเขาก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ แต่จะหลงเหลืออยู่ในด้านอาหารการกินซะส่วนใหญ่ เช่นสูตรทำขนมที่คนรุ่นเก่าแก่ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังๆ อย่างขนมฝรั่งกุฎีจีน โดยได้ต้นตำหรับมาจากชาวโปรตุเกส ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้
ขนมฝรั่งกุฎีจีน หน้าขนมฝรั่งมีความหมายมากกว่าความอร่อย ชิ้นฟักเชื่อม มีความหมายให้อยู่เย็นเป็นสุข   ลูกเกต และลูกพลับ เป็นผลไม้มีประโยชน์ และราคาแพง ถ้าใครซื้อ ต้องเป็นคนที่สำคัญจริงๆ
ส่วนน้ำตาลนั้น หมายความว่าขอให้มีความสุข ร่ำรวยกันจนนับไม่ถ้วน

กุฎีจีนเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี บรรพบุรุษของชาวกุฎีจีนประกอบไปด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติและต่างศาสนา ซึ่งในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนมาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือคลองกุฎีจีนใกล้วัดกัลยาณมิตร ส่วนชาวคริสต์และโปรตุเกส ตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ตอนใต้ลงมา

ที่มาของชื่อ “กุฎีจีน” นี้น่าจะมาจากที่บริเวณนี้มีชาวจีนอยู่มาก่อน และมีศาลเจ้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมคลองกุฎีจีน ปัจจุบันศาลเจ้าจีนแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ โดยยังคงสถาปัตยกรรมจีนโบราณ ภายในประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม ส่วนชาวคริสต์สร้างโบสถ์ขึ้นชื่อว่า “โบสถ์ซางตาครู้ส”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น