ขนมประจำจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด
1.จังหวัดกระบี่ คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์
คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เกิดจากการแปรรูปมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย รสชาติ หอม หวาน มัน โดยชาวบ้าน ได้จัดทำเพื่อจำหน่ายเป็นของฝากของจังหวัดกระบี่
2.จังหวัดชุมพร กล้วยหิมพานต์
กล้วยหิมพานต์ เป็นขนมแปรรูปมาจากกล้วยเล็บมือนางและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในจังหวัดชุมพร มีคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ดีกว่าแป้งและน้ำตาลรสชาติ หอม มัน กรอบ นิยมซื้อเป็นของฝาก
3.จังหวัดตรัง ขนมเค้ก
เค้กเมืองตรัง ต้นกำเนิดอยู่ที่หมู่บ้านลำพูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยลักษณะเด่นของเค้กเมืองตรัง คือ ตรงกลางต้องมีรูและนิยมซื้อหาเป็นของฝาก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายทำให้ผู้บริโภคหาซื้อได้ตามต้องการ
4.จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนมลา
ขนมลา ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำผึ้งแล้วละเลงลงกระทะน้ำมันร้อนๆกลายเป็นแผ่นสมัยก่อนเป็นขนม 1 ใน 5 ที่ใช้บรรจุในสำรับเพื่อถวายพระสงฆ์ในงานทำบุญสารทเดือนสิบ ปัจจุบันนี้ขนมลามีจำหน่ายตลอดปี และมีผลิตภัณฑ์ใหม่แปรรูปมาจากขนมลาด้วยการพับแผ่นขนมลาทีละแผ่นเข้าเป็นม้วนเรียกว่า
ขนมลากรอบ
5.จังหวัดนราธิวาส ข้าวเกรียบปลาสด (กะโป๊ะ)
ข้าวเกรียบปลาสด ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำเป็นลูกชิ้นปลานำมาทำข้าวเกรียบปลาได้ซึ่งมีวิธีการผลิตใช้เทคนิคและวิธีการด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นการถนอมอาหารสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ข้าวเกรียบปลาสดนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม แต่ผู้รับประทานมักเข้าใจผิดว่าข้าวเกรียบปลาคงจะมีกลิ่นคาวหรืออร่อยไม่เท่าข้าวเกรียบกุ้ง ชาวบ้านจึงได้พัฒนารสชาติให้ดียิ่งขึ้น
6.จังหวัดปัตตานี ขนมลูกหยี
ขนมลูกหยี ประกอบด้วย ลูกหยี เกลือ น้ำตาลทราย พริก มีรสชาติเปรี้ยว คนในท้องถิ่นได้คิดค้นสูตรในการทำลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ได้รสชาติเป็นที่ติดใจของลูกค้าเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัวอีกด้วย
7.จังหวัดพังงา ขนมเต้าส้อ
ขนมเต้าส้อ เป็นขนมพื้นเมืองที่ชาวพังงาทำมานาน มีไส้ให้เลือกรับประทานหลายชนิดเช่น ไส้เค็ม ไส้หวาน ไส้ถั่วแดง เอกลักษณ์ในรสชาติความอร่อยไม่เปลี่ยนแปลงอีกทั้งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต
8.จังหวัดพัทลุง กะละแม
กะละแม จัดเป็นขนมไทยประเภทกวนมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่นมีรสชาติอร่อย หอม หวาน และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน กะละแมเป็นที่นิยมมาก มีหลายรส เช่น กาแฟ ขนุน ใบเตย และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถเป็นของฝากของที่ระลึกของจังหวัดพัทลุง
9.จังหวัดภูเก็ต ขนมเกือกม้า
ขนมเกือกม้า ทำด้วย แป้งสาลี ถั่วลิสง งาขาว ฟักเชื่อม หอมเจียว น้ำมันพืชเป็นหลัก นิยมนำมารับประทานกับกาแฟ หรือชาร้อนๆ เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่แพ้ขนมอื่น
10.จังหวัดยะลา กล้วยหินฉาบ
กล้วยหินฉาบ จะมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความแข็งกว่ากล้วยชนิดอื่น ทำให้เก็บรักษาไว้ได้นาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จึงได้รวมตัวกันทำการแปรรูปกล้วยหินเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยหินฉาบเค็ม กล้วยหินฉาบหวาน และอื่นๆ ออกวางจำหน่ายจนได้รับ ความนิยมและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนปัจจุบันถือว่ากล้วยฉาบหินเป็นของฝากจังหวัดยะลา
11.จังหวัดระนอง ซาลาเปา
ซาลาเปา จังหวัดระนองมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นซาลาเปาที่มีคุณค่าทางอาหารมาก และอร่อย เนื้อนุ่ม ปัจจุบันมีขายมากกว่า 50 ร้าน โดยนักท่องเที่ยวนิยมซื้อรับประทานและเป็นของฝาก
12.จังหวัดสงขลา ขนมดู
ขนมดู เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในรูปแบบการถนอมอาหาร สามารถเก็บไว้รับประทานได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นรสชาติขนมดูจะหอมหวาน มัน มีสีน้ำตาลปนดำ ขนมดูเป็นที่นิยมกันมากเป็นของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสงขลา
13.จังหวัดสตูล บุหงาบุดะ
ขนมบุหงาบุดะ เป็นภาษาอิสลาม บุหงา แปลว่า ดอกไม้ บุดะ แปลว่าดอกเตย รวมเรียกว่าขนมดอกเตย ซึ่งมีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายหมอนสีขาว ทำด้วยมะพร้าวทึนทึกและแป้งข้าวเหนียวผสมด้วย น้ำตาลทราย เกลือ น้ำ กลิ่นกะทิ โดยจะทำขึ้นในเทศกาล ฮิดิลรัฎฮา และพิธีแต่งงาน ซึ่งมีความหมายให้คู่บ่าวสาวร่วมเรียงเคียงหมอนรักกันหวานชื่นปัจจุบันทำเป็นขนมพื้นเมืองของอำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น
14.จังหวัดสุราษฎร์ธานี กะละแมหรือยาหนม
กาละแม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า การกวนยาหนม โดยมีส่วนผสม มะพร้าว แป้ง น้ำตาลตั้งบนเตาไฟ เทใส่ภาชนะที่แห้งสนิท ห่อเป็นคำๆ บรรจุไว้จำหน่ายโดยปัจจุบันชาวสมุยกวนขนมเพื่อค้าขายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน รสชาติอร่อยหาซื้อรับประทานหรือเป็นของฝาก
5.จังหวัดนราธิวาส ข้าวเกรียบปลาสด (กะโป๊ะ)
ข้าวเกรียบปลาสด ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำเป็นลูกชิ้นปลานำมาทำข้าวเกรียบปลาได้ซึ่งมีวิธีการผลิตใช้เทคนิคและวิธีการด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นการถนอมอาหารสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ข้าวเกรียบปลาสดนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม แต่ผู้รับประทานมักเข้าใจผิดว่าข้าวเกรียบปลาคงจะมีกลิ่นคาวหรืออร่อยไม่เท่าข้าวเกรียบกุ้ง ชาวบ้านจึงได้พัฒนารสชาติให้ดียิ่งขึ้น
6.จังหวัดปัตตานี ขนมลูกหยี
ขนมลูกหยี ประกอบด้วย ลูกหยี เกลือ น้ำตาลทราย พริก มีรสชาติเปรี้ยว คนในท้องถิ่นได้คิดค้นสูตรในการทำลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ได้รสชาติเป็นที่ติดใจของลูกค้าเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัวอีกด้วย
7.จังหวัดพังงา ขนมเต้าส้อ
ขนมเต้าส้อ เป็นขนมพื้นเมืองที่ชาวพังงาทำมานาน มีไส้ให้เลือกรับประทานหลายชนิดเช่น ไส้เค็ม ไส้หวาน ไส้ถั่วแดง เอกลักษณ์ในรสชาติความอร่อยไม่เปลี่ยนแปลงอีกทั้งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต
8.จังหวัดพัทลุง กะละแม
กะละแม จัดเป็นขนมไทยประเภทกวนมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่นมีรสชาติอร่อย หอม หวาน และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน กะละแมเป็นที่นิยมมาก มีหลายรส เช่น กาแฟ ขนุน ใบเตย และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถเป็นของฝากของที่ระลึกของจังหวัดพัทลุง
9.จังหวัดภูเก็ต ขนมเกือกม้า
ขนมเกือกม้า ทำด้วย แป้งสาลี ถั่วลิสง งาขาว ฟักเชื่อม หอมเจียว น้ำมันพืชเป็นหลัก นิยมนำมารับประทานกับกาแฟ หรือชาร้อนๆ เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่แพ้ขนมอื่น
10.จังหวัดยะลา กล้วยหินฉาบ
กล้วยหินฉาบ จะมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความแข็งกว่ากล้วยชนิดอื่น ทำให้เก็บรักษาไว้ได้นาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จึงได้รวมตัวกันทำการแปรรูปกล้วยหินเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยหินฉาบเค็ม กล้วยหินฉาบหวาน และอื่นๆ ออกวางจำหน่ายจนได้รับ ความนิยมและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนปัจจุบันถือว่ากล้วยฉาบหินเป็นของฝากจังหวัดยะลา
11.จังหวัดระนอง ซาลาเปา
ซาลาเปา จังหวัดระนองมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นซาลาเปาที่มีคุณค่าทางอาหารมาก และอร่อย เนื้อนุ่ม ปัจจุบันมีขายมากกว่า 50 ร้าน โดยนักท่องเที่ยวนิยมซื้อรับประทานและเป็นของฝาก
12.จังหวัดสงขลา ขนมดู
ขนมดู เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในรูปแบบการถนอมอาหาร สามารถเก็บไว้รับประทานได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นรสชาติขนมดูจะหอมหวาน มัน มีสีน้ำตาลปนดำ ขนมดูเป็นที่นิยมกันมากเป็นของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสงขลา
13.จังหวัดสตูล บุหงาบุดะ
ขนมบุหงาบุดะ เป็นภาษาอิสลาม บุหงา แปลว่า ดอกไม้ บุดะ แปลว่าดอกเตย รวมเรียกว่าขนมดอกเตย ซึ่งมีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายหมอนสีขาว ทำด้วยมะพร้าวทึนทึกและแป้งข้าวเหนียวผสมด้วย น้ำตาลทราย เกลือ น้ำ กลิ่นกะทิ โดยจะทำขึ้นในเทศกาล ฮิดิลรัฎฮา และพิธีแต่งงาน ซึ่งมีความหมายให้คู่บ่าวสาวร่วมเรียงเคียงหมอนรักกันหวานชื่นปัจจุบันทำเป็นขนมพื้นเมืองของอำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น
14.จังหวัดสุราษฎร์ธานี กะละแมหรือยาหนม
กาละแม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า การกวนยาหนม โดยมีส่วนผสม มะพร้าว แป้ง น้ำตาลตั้งบนเตาไฟ เทใส่ภาชนะที่แห้งสนิท ห่อเป็นคำๆ บรรจุไว้จำหน่ายโดยปัจจุบันชาวสมุยกวนขนมเพื่อค้าขายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน รสชาติอร่อยหาซื้อรับประทานหรือเป็นของฝาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น